ข่าวร้าย... ป่าอเมซอนดำดิ่งสู่จุดที่มิอาจหวนคืน

ข่าวร้าย... ป่าอเมซอนดำดิ่งสู่จุดที่มิอาจหวนคืน

ข่าวร้าย... ป่าอเมซอนดำดิ่งสู่จุดที่มิอาจหวนคืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

aw1hz2uvmjaxoc0wmi9lmdnhnwmzn

ป่าอเมซอนหนึ่งในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของพืชพันธุ์นานาชนิด ทว่าปัจจุบันผืนป่าฝนอันอุดมสมบูรณ์กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ และจากผลการศึกษาใหม่ระบุว่า มนุษย์จำต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติครั้งยิ่งใหญ่ หากยังคงตัดไม้ทำลายป่าเกินกว่า 20% ส่งผลร้ายให้ป่าแห่งนี้เข้าสู่จุดเลวร้ายเกินจะหวนกลับ

การศึกษาของโธมัส เลิฟจอย (Thomas Lovejoy) และคาร์ลอส โนเบรอ (Carlos Nobre) ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไซแอนซ์ แอดวานส์ (Science Advances) ฉบับล่าสุด พยายามหาคำตอบว่า การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลกระทบต่อวัฏจักรทางอุทกวิทยา (Hydrologic Cycle) ในทิศทางใด และอีกนานเท่าไหร่ ที่ป่าฝนจะหยุดการสนับสนุนระบบนิเวศน์ภายใน ซึ่งผลการศึกษาสรุปออกมาว่า

"สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จากการตัดไม้ทำลายป่า และสภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดเป็นความเสี่ยงมากกว่า 50% ที่ผืนป่าอเมซอนจะกลายเป็นสะวันนาอันเสื่อมโทรม" โนเบรอบอกกับสำนักข่าวยูโรนิวส์ (Euronews)

พร้อมเน้นย้ำอีกด้วย ว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เกิดการตัดไม้ทำลายป่าไปประมาณ 17% ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ทว่ากลับปลูกเพิ่มกันเพียงแค่ 3% เท่านั้น ซึ่งนั่นอาจหมายความว่า การตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยร่วมอื่นๆ กำลังผลักดันให้ป่าอเมซอนเดินทางผ่านจุดที่ไม่มีทางหวนคืน

ความรุนแรงจากปัญหาภัยแล้งในช่วงปี 2558-2559 เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้ความพลิกผันทางนิเวศวิทยา สมทบด้วยเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2552 และปี 2555 ที่เป็นสัญญาณเตือนว่า ระบบนิเวศของผืนป่าฝนขนาดมหึมากำลังสั่นคลอน อีกทั้งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ฤดูแล้งในภาคใต้ และภาคตะวันออกของอเมซอนยาวนานขึ้น โดยปัจจัยหลักมาจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของพื้นดิน

นักวิจัยทั้ง 2 เชื่อมั่นว่า สิ่งที่ดูสมเหตุสมผลมากสุดไม่ใช่แค่ควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า แต่หากต้องการให้ป่าอเมซอนกลับคืนสู่โซนปลอดภัยควรลงมือปลูกต้นไม้เพิ่ม พร้อมกับลดปริมาณการตัดไม้ให้เหลือน้อยกว่า 20%

 aw1hz2uvmjaxoc0wmi8xzmyxzjrky

"เป็นความจริงว่า ปัจจุบันการตัดไม้ทำลายป่ายังคงดำเนินต่อไป ซึ่งนั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นความยากลำบาก หรือความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยในประเทศแถบอเมริกาใต้ ซึ่งไม่เวิร์คในบราซิลอีกต่อไป เพราะคนบราซิลส่วนใหญ่ต้องการจะรักษาป่าอเมซอนไว้" โนเบรอกล่าว

(ชนพื้นเมืองในบราซิลและใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าอเมซอน)

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2558 การประชุมสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 ประเทศบราซิลประกาศคำมั่นสัญญาจะเดินหน้าปลูกป่า 12 ล้านเฮคแตร์ ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) ซึ่งส่วนใหญ่ควรอยู่ทางภาคใต้ และภาคตะวันออกของอเมซอน 

ที่สำคัญ วัฏจักรน้ำในอเมซอนนับเป็นรากฐานของความเป็นอยู่ดี กินดี ของคนบราซิล และทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ติดกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook