เข้าใจคนญี่ปุ่นผ่านสำนึกสังคมแบบ “กลุ่ม” กิริ และ นินโจ
Thailand Web Stat

เข้าใจคนญี่ปุ่นผ่านสำนึกสังคมแบบ “กลุ่ม” กิริ และ นินโจ

เข้าใจคนญี่ปุ่นผ่านสำนึกสังคมแบบ “กลุ่ม” กิริ และ นินโจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

girininjo-key2

สังคมญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะสังคมเมืองที่มีความเร่งรีบ นำไปสู่การสะสมความเครียดของผู้คนในสังคมอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ความเครียดเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากจะมี และมันก็คงไม่ได้ผุดขึ้นมาในหัวอย่างไม่มีที่มาที่ไปแน่ ๆ ใช่ไหมครับ? แล้วเป็นเพราะอะไร หรือมีอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นถึงเครียดได้ขนาดนั้น? ผมมีคำสำคัญ 2 คำในสังคมญี่ปุ่น มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังครับ

สังคมแบบกลุ่มของญี่ปุ่น

1

สังคมญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นสังคมแบบ “กลุ่ม” มาตั้งแต่โบราณ เป็นสังคมที่มีความแน่นแฟ้น ตั้งแต่ชนชั้นปกครองจนกระทั่งระดับครอบครัว ยึดโยงกันด้วยหน้าที่ และกำหนดความรับผิดชอบมากมายที่บุคคลพึงมีต่อกลุ่ม การเข้าร่วมกลุ่ม และการปฏิบัติต่อกลุ่มจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในสังคมนี้อย่างที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

เมื่อการสังกัด “กลุ่ม” เกิดขึ้นไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม จึงกำหนดความหมายให้คนคนนั้นมีพันธกิจและภารกิจต่อกลุ่มไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง

กิริ 「義理」

2

แปลตรงตัวได้ว่า หน้าที่ ในที่นี้หมายถึง พันธกิจและภารกิจที่คนญี่ปุ่นต้องกระทำให้ประสบผลสำเร็จหรือทำให้สุดความสามารถตามที่ได้รับมอบหมายจาก “กลุ่ม” เป็นกรอบที่ต้องปฏิบัติ เป็นที่คาดหวังจากสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน ในขณะที่ตนเองก็ต้องคาดหวังในทำนองเดียวกันจากสมาชิกคนอื่นด้วย

“กิริ” ในชีวิตประจำวันจึงมีความลื่นไหลไปตามบทบาทที่ตนเองกำลังสวมอยู่ เป็นไปตามจินตนาการของสมาชิกในกลุ่มที่กำลังสังกัดอยู่ เช่น กิริที่มีต่อบริษัท กิริที่มีต่อเพื่อนบ้าน กิริที่มีต่อสาธารณะ เป็นต้น

3

ในปัจจุบัน มีคำสแลงที่พูดว่า “กิริชอคโก” 「義理チョコ」ที่นิยมใช้ในเทศกาลวันวาเลนไทน์ กับวัฒนธรรมการให้ช็อกโกแลตที่ให้ไปตามมารยาท หรือ ตามหน้าที่ หรือ อาจจะถูกคาดหวังว่าต้องให้ เช่น การมอบให้เจ้านาย หรือ รุ่นพี่ เป็นต้น

Advertisement

4

นินโจ 「人情」

หมายถึง พันธกิจของความเป็นมนุษย์ ในส่วนนี้มักผูกโยงกับเรื่องของความรัก และพันธกิจที่บุคคลพึงมีต่อครอบครัว หรือแม้กระทั่งต่อตนเอง หรือถูกเรียกว่าพันธกิจในพื้นที่ส่วนตัว

การมีอยู่ของ 2 สิ่งนี้เองที่ทำให้ความเครียดสะสมในสังคมญี่ปุ่น เพราะความสำนึกในคุณค่าของความเป็นกลุ่ม นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง “กิริ” และ “นินโจ” ที่สังคมบีบให้ผู้คนต้องยอมรับการสูญเสีย “นินโจ” เพื่อรักษาไว้ซึ่ง “กิริ” หรือพูดง่าย ๆ ว่า สาธารณะสำคัญกว่าเรื่องส่วนตัว จึงไม่น่าแปลกใจที่แม้กระทั่งปัจจุบัน เราจะยังเห็นข่าวการทำงานอย่างหนักเพื่อบริษัท จนละเลยการดูแลครอบครัวในแบบที่ควรจะเป็น

 5

กิริ และ นินโจ ไม่ได้ถูกพูดถึงหรือบอกกล่าวกันชัดเจนเป็นข้อกำหนด แต่มันได้ฝังรากลึกอยู่ในจิตสำนึก ความรู้สึกนึกคิดของคนญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน พวกเขายึดถือและปฏิบัติไปเองโดยธรรมชาติ ไม่รู้ตัว เป็นลักษณะนิสัยและทัศนคติที่ผู้คนในสังคมให้คุณค่า และยึดถือร่วมกันโดยไม่ต้องบอกกล่าว

6

ถ้าเพื่อน ๆ มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นหรือใช้ชีวิตใกล้ชิดกับพวกเขาแล้ว การเข้าใจคำสำคัญ 2 คำนี้ คงจะช่วยให้เราในฐานะชาวต่างชาติเข้าใจคนญี่ปุ่นได้มากขึ้น หรือไม่แน่นะครับ เราอาจจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ของความขัดแย้งระหว่าง “กิริ” กับ “นินโจ” ก็เป็นได้…เตรียมตัวกันไว้ก่อนดีกว่านะครับ!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้