โตโยต้า "ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่" ตามติดเยาวชน รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ณ แดนปลาดิบ

โตโยต้า "ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่" ตามติดเยาวชน รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ณ แดนปลาดิบ

โตโยต้า "ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นใหม่" ตามติดเยาวชน รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ณ แดนปลาดิบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

campuschallenge

หนึ่งในโครงการถนนสีขาว "Toyota Campus Challenge 2017" ได้มอบโอกาสดีๆให้แก่นักเรียน นักศึกษา ที่ชนะการประกวด 3 อันดับแรก ในการไปสัมผัสดูงาน ด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำแผนความรู้ ความคิด ในด้านการขับขี่ไปปรับใช้และต่อยอดของโครงงานที่ตัวเองได้จัดทำขึ้น

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ตระหนักถึงปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นที่ถือเป็นวัยเริ่มต้นของการใช้รถใช้ถนน ดังนั้นเพื่อให้เยาวชนเกิดการตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงริเริ่มกิจกรรม "Campus Challenge" ภายใต้โครงการ โตโยต้าถนนสีขาว โดยให้นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการรณรงค์ความปลอดภัยบนท้องถนนในรั้วมหาวิทยาลัยจนถึงการลงมือปฏิบัติเพื่อลดอุบัติเหตุจริง โดยมีความคาดหวังว่า น้องๆนักศึกษาจะนำไปต่อยอดในการสร้างวินัยในการขับขี่และลดอุบัติเหตุได้จริง

ซึ่งการไปศึกษาดูงานนั้นจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งวัฒนธรรมการขับขี่ สถิติต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้น้องๆนำมาปรับใช้ 

แหล่งการศึกษาที่น้องได้ไปศึกษาเรียนรู้ได้แก่

dscf8554
dscf8569
dscf8571
dscf8598

พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโตโยต้า (Toyota Techno Museum) แหล่งเรียนรู้สถานที่แรก ที่ให้น้องๆได้รู้จักประวัติความเป็นมาของ Toyota การวิวัฒนาการของรถรุ่นต่างๆตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งการประกอบรถ โครงสร้างของรถต่างๆ และได้สัมผัสรถยนต์รุ่นแรกของ Toyota นั่นคือ Toyoda AA Model

dscf8625
dscf8626
dscf8627

พิพิธภัณฑ์โตโยต้า (Toyota Kaikan Museum) สัมผัสความล้ำหน้าของเทคโนโลยี นวัตกรรมรถยนต์รุ่นใหม่ๆ จากทาง Toyota อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์เล่นดนตรี ถือว่าเป็นความล้ำหน้าแห่งรถยนต์สมัยใหม่

dscf8664
dscf8666

สถาบันเพื่อการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุบนท้องถนน (Itarda) น้องๆจะได้ศึกษาสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศญี่ปุ่น ที่มา กฎหมายการขับขี่ และการลดอุบัติเหตุให้เหลือน้อยลงเพื่อที่น้องๆจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในงานของตัวเอง ซึ่งเรียกได้ว่า การขับขี่และอุบัติเหตุของท้องถนนประเทศญี่ปุ่น ลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี

dscf8697
dscf8699
dscf8702

TOYOTA MEGA WEB น้องๆจะได้สัมผัสเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่สร้างขึ้นมาใหม่ของทาง Toyota รวมไปถึงการให้น้องๆร่วมกิจกรรมจำลองการขับขี่เสมือนจริง เรียนรู้ระบบใหม่ๆเพื่อความปลอดภัยที่หลากหลาย รวมทั้งสัมผัสรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

dscf8767
dscf8768
dscf8771
dscf8786

ศูนย์ศึกษาความปลอดภัยโตโยต้า สนามโมบิลิต้าส์ (Mobilitas) การเรียนรู้ อบรมการขับขี่ ของประเทศญี่ปุ่น ในการขับขี่บนท้องถนนอย่างไรให้ปลอดภัย ได้สัมผัสทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ การนั่ง การจับพวงมาลัย การเบรกระบบ ABS และ VSC ระบบที่ช่วยในด้านความปลอดภัยของการขับรถในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการศึกษา จุดบอดของรถ เพื่อให้เกิดความระมัดระวังให้มากขึ้นต่อการจับรถ รวมทั้งได้จำลองแว่นสายตาเสมือนผู้ที่ดื่มสุราจริง เพื่อให้น้องๆได้เข้าใจ ถึงการขับขี่แบบผู้เมาสุรา สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ

dscf8705

บทสัมภาษณ์ น้องกมลณัฐ ศรีอุดร จากทีม "The Brave +" คณะการสื่อสารมวลชน  ทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จุดเริ่มต้นของการมาประกวด บริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะมีการก่อสร้างใหม่ เป็นอ่างเก็บน้ำ ตาด ชมพู สถานที่ที่ถูกผลักดันในการท่องเที่ยว ที่มาทดแทนอ่างเก็บน้ำเก่าในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดถนนตัดใหม่มีจุดเสี่ยงให้เกิดอันตราย ความเร็ว และอุบัติเหตุ เลยเกิดการหารือกับทางมหาวิทยาลัย เลยเกิดการสร้างเป็นวงเวียนชั่วคราวขึ้นมาเพื่อลดปัญหาอันตรายตรงนั้นให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งประสานงานกับทางตำรวจให้มาตั้งเครื่องตรวจจับความเร็วบริเวณนั้นเนื่องมาจากเป็นบริเวณที่มีรถขับเร็วในบริเวณนี้ และเริ่มติดตามผลในระยะเวลา 1 เดือนพบว่ามีความเร็วที่ลดลงและเห็นผลที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น

จากการที่มาศึกษาดูงานที่ญี่ปุ่น และสิ่งที่อยากนำมาต่อยอดต่อไปคือ การทำการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างคือ พื้นที่ที่กล่าวมาข้างตนอาจมีปัญหาการขับรถที่เร็ว ก็มีความคาดหมายว่าจะรณรงค์เปลี่ยนเป็นการใช้ขนส่งมวลชนแทน รวมทั้งยังสร้างศูนย์รวมการกระจายข่าวสารให้ระวัง เพื่อเป็นสื่อกลางในการกระจายข่าวสารให้เด็กในมหาวิทยาลัยได้รับรู้ข่าวสารเพิ่มขึ้น 

dscf8711

บทสัมภาษณ์  น้องมิ้นท์ จุฑามาศ ศรีสันต์ "FUN & FiN" คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชานิเทศศาสตร์รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

โครงการในการรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค โดยการหาอาสาที่เขาอยากทำกิจกรรมเป็นการดักจับนักศึกษาที่ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค มีการทดลองทำก่อน และหลังอบรมเรียบร้อยแล้ว เพื่อศึกษาหาผลตอบรับของโครงการ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก่อนกิจกรรมที่เริ่มทำ คนที่ไม่สวมหมวกกันน็อคเข้ามาเป็น หลักร้อยคนเลยก็ว่าได้ หลังจากทำกิจกรรม มีการอบรมแล้วปรากฏว่า มีแค่หลักสิบ คนถือว่าน้อยลงมาก เหมือนเป็นการสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาให้ฝึกความเคยชินในการสวมหมวกกันน็อค ซึ่งบทลงโทษเลยคือการให้คนที่ไม่สวมหมวกในมหาวิทยาลัยเซ็นชื่อ เหมือนเป็นการตักเตือนก่อนหนึ่งครึ่ง ถ้ามีครั้งที่2 ก็เป็นการยึดบัตรนักศึกษาแล้วให้เขาเข้ามาร่วมอบรม ซึ่งมีทางตำรวจมาให้ความรู้

กิจกรรมที่จะทำต่อยอดภายใน 6 เดือนต่อไป ก็คือการรณรงค์ที่เข้มข้นขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน จากการเก็บข้อมูลปรากฏว่าอุบัติเหตุมักจะเกิดตอนกลางคืน เป็นวัยรุ่นและวัยกลางคน สาเหตุมาจากความมึนเมา ซึ่งจะขยายกว้างออกไปอีกนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำกิจกรรมเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น

ซึ่งกิจกรรมที่ต่อยอด คือการนำแนวคิดของคนญี่ปุ่นในการนำความคิดของส่วนรวมของคนญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ รวมถึงการหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเหมือนของ Itarda ที่ได้ไปรับฟังมาเพื่อหาสาเหตุจริงๆและแก้ไขให้ได้ตรงจุด โดยทีมก็อยากทำให้เป็นขั้นตอนแบบนั้นให้ประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน ความรู้สึกได้ดูงานและได้มาที่นี่คือความตื่นเต้น ไม่ใช่เพียงแค่มารับรู้ข้อมูลแต่เราได้สัมผัสได้เข้าใจถึงเนื้อหาจริงๆ 

dscf8784

บทสัมภาษณ์ อาจารย์โรสนา รัฐการัณย์ อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ อาจารย์ที่ปรึกษาทีม Sattre Pro รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ปัตตานี

ที่มาคือเริ่มรู้จักโครงการเมื่อ 1 ปีที่แล้ว มาจากสื่อต่างๆ โดยปกติอาจารย์ก็ชอบส่งเด็กๆนักศึกษาเข้าประกวดอยู่แล้ว เป็นการบูรณาการกับรายวิชาแล้วแต่ความชอบของนักศึกษา ซึ่งน้องๆกลุ่มนี้สนใจเกี่ยวกับการรณรงค์เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยจะอยู่ในชุมชน ห่างจากถนนใหญ่ 6 กิโลเมตร ซึ่งถนนมันค่อนข้างไม่ค่อยดี เลยมองว่าโครงการนี้น่าสนใจสำหรับเด็กๆ แถมเด็กๆยังได้รับรางวัลอันดับที่ 3 เลยกลายเป็นแรงผลักดันให้กับเด็กๆ ทำให้เขาอยากจะลองอยากจะทำให้มาก เป็นการสร้างเวทีสร้างโอกาส

จุดที่เขาเลือกพัฒนาเป็นจุดที่เสี่ยงอันตรายมาโดยประจำ ดังนั้นจึงเลือกการสื่อสารเป็นการประชาสัมพันธ์ และพฤติกรรมของการสัญจร เลยเลือกพัฒนาในจุดนี้อาจารย์ก็เป็นโค้ชให้น้องๆ ในเรื่องต่างๆหลากหลายองค์ประกอบด้วยอุปสรรคที่ งบมาสร้างมันไม่พอ อุปกรณ์ก็ต้องใช้คำว่า "ขอ" ให้เขามาช่วยทำ แถมระยะเวลาโครงการที่สั้น ทำให้เราต้องเป็นโค้ชและกำลังใจให้นักเรียนเป็นอย่างมาก

ตอนส่งผลงานไม่คิดว่าจะติดอันดับ 1 ใน 3 และเริ่มมีกำลังใจตอนที่ติด 1 ใน 10 คาดว่าน่าจะมีโอกาสที่ได้ทำและก็ส่งผลสำเร็จได้อันดับที่ 3 รวมทั้งได้มาศึกษาประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นโอกาสดีๆในการต่อยอดของน้องๆ เห็นความสำเร็จของเด็กๆ น้ำตาของเด็กๆที่เขาสัมผัสมันแตกต่างกันทำให้การมาที่ญี่ปุ่นเป็นโอกาสที่ไม่ได้หาง่ายๆและเป็นเรื่องราวดีๆและแรงบันดาลใจให้เด็กๆต่อยอดและพัฒนาพื้นที่ต่อไป

เรียกได้ว่า เป็นโครงการดีๆที่น่าสนับสนุนการขับขี่ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากพฤติกรรมการขับขี่ของคนไทย และ คนญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งการที่น้องๆได้มาศึกษาดูงานทั้งเรื่องการขับขี่ เทคโนโลยี และการเก็บข้อมูล จะสามารถทำให้น้องๆสามารถนำเอาแนวคิดของที่ญี่ปุ่นนี้มาพัฒนาต่อยอด ทั้งในการเก็บข้อมูล อุปกรณ์รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกในการขับขี่ ซึ่งที่เป็นโครงการสำหรับเด็กๆเพียงเพราะว่า เด็กวัยรุ่นและเยาวชนยุคใหม่ สามารถเป็นแกนนำและแรงผลักดันในการส่งเสริมวิสัยทัศน์ในการขับขี่ได้เป็นอย่างดี ถือได้ว่าน้องๆเหล่านี้จะกลายเป็นแรงส่งผลให้การขับขี่ของไทยในอนาคตดีขึ้นมาด้วยเช่นกัน

กิจกรรม"Toyota Campus Challenge" อาจเป็นแรงผลักดันในปีถัดๆไป ทำให้น้องๆส่งผลงานเข้ามามากขึ้นเป็นโครงการประกวดที่สร้างแรงขับเคลื่อนสังคมในด้านของการจราจรในประเทศไทยให้ได้เทียบเท่าสากลได้ดีเลยทีเดียว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook