บุพเพสันนิวาส กับ บูชิโด "ความสัมพันธ์ของนายกับบ่าว" ที่คล้ายกัน

บุพเพสันนิวาส กับ บูชิโด "ความสัมพันธ์ของนายกับบ่าว" ที่คล้ายกัน

บุพเพสันนิวาส กับ บูชิโด "ความสัมพันธ์ของนายกับบ่าว" ที่คล้ายกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

827929

“บุพเพสันนิวาส” ละครที่ใครไม่ดู ใครไม่ติดตามในเพลานี้ ก็นับเอาได้ว่าเป็นคนไม่อินเทรนด์ก็เห็นจะได้ จริงรือไม่ออเจ้า!!??

แต่เพื่อน ๆ สังเกตไหมครับว่าความสัมพันธ์ของผู้คน และชนชั้นที่ปรากฏในละครเรื่องนี้ ได้สะท้อนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ แถมยังคล้ายคลึงกันกับระบบความคิดในสังคมนักรบของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติเลยทีเดียวครับ

ความสัมพันธ์ของนายกับบ่าว

แม่ปริก : …มันก็ไม่ยากหรอก ที่ข้าจะรับแม่หญิง เป็นเจ้านาย…พวกเราหน่ะเป็นบ่าวในเรือน ก็อยากได้เจ้านายที่มีเมตตาปรานี ใช่หรือไม่?
นังจวง : จริงจ่ะ เราเป็นบ่าว เราก็จะรับใช้จนตายคาเรือนนั่นแหละแม่ปริก
นังจิก : ตอนแม่หญิงร้ายกาจ พี่ผิน พี่แย้ม เขาก็รับใช้ตายคาเรือนเหมือนกัน
แม่ปริก : จริงอยู่ เพราะพวกบ่าวอย่างเรา ถูกสั่งสอนมาอย่างนั้น ใครเป็นบ่าว มันก็ต้องซื่อสัตย์ต่อนาย ไม่หล่ะก็ ไอที่เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ไม่มีหล่ะ ลองมีสิ คนเขาได้ก่นด่ากันทั่ว
นังจวง : ถ้าใครซื่อสัตย์ เจ้านายก็จะเลี้ยงจนตายคาเรือนเลยหล่ะแม่ปริก!!
(ละครบุพเพสันนิวาส ตอนที่ 7 พุธที่ 14 มีนาคม 2561)

 1

บทสนทนาของพวกบ่าวในละคร สะท้อนให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างนายกับบ่าว และความรู้สึกที่บ่าวมีต่อนายในสมัยอยุธยาได้อย่างชัดเจน…”เจ้านาย” ผู้มีพันธสัญญาต่อ “บ่าว” เพื่อการมีบริวารห้อมล้อมคอยดูแลปรนนิบัติ ประดับบารมี เป็นภาพสะท้อนความมั่งมี และความสูงชั้นของตระกูลตนเองนั้น ย่อมต้องตอบแทนกันด้วยการดูแลชีวิตบ่าวผู้นั้นในลักษณะที่พอเหมาะพอควรแก่กัน บ่าวผู้นั้นก็ตอบแทนด้วยความจงรักภักดี รับใช้นายของตนจนถึงวันที่ตายตกตามกันไปนั่นเอง

หากไม่แล้ว บ่าวที่ทำตัวเป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ถือเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาในสมัยอยุธยาฉันใด ในสมัยเอโดะก็เหมือนจะไม่ต่างกันฉันนั้น…

“บูชิโด” วิถีแห่งนักรบ

แปลตามตัวได้อีกคำว่า ยุทธจริยา เป็นธรรมจรรยาของนักรบผู้กล้าหาญ…ถ้าย้อนกลับไปแล้ว หลักปฏิบัติที่ยึดถือกันมานี้ นับได้ว่ามีมาก่อนหน้าจนอาจสืบหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ แต่หลักคิดของบูชิโด ถูกทำให้เป็นรูปเป็นร่าง ใช้สั่งใช้สอนกันได้ชัดเจนขึ้นต่อมาในภายหลัง

 2

หนึ่งในหลักการของบูชิโดถูกถอดรูปมาจากความเชื่อของลัทธิขงจื้อ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง “นายกับบ่าว” กล่าวไว้ว่า นายจะมีความเมตตากรุณา และบ่าวจะมีความเคารพเชื่อฟัง ให้ความสำคัญกับความภักดีต่อนาย และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย (Honor Unto Death) ถือเป็นพื้นฐานของหัวจิตหัวใจในอุดมคติแบบญี่ปุ่นโดยแท้

นั่นจึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ระหว่าง ไดเมียวผู้เป็นนาย และซามูไรผู้ติดตาม ที่ยอมมอบไว้ซึ่งชีวิต ตามติดรับใช้นายไปจนตายตกตามกันไปไม่แพ้บ่าวในสมัยอยุธยา แถมยังไม่สามารถเปลี่ยนเจ้านายได้พร่ำเพรื่อเช่นกัน หาไม่แล้ว ก็ต้องถูกก่นด่าไปทั่วเอโดะ ว่าเป็น “ซามูไรไร้นาย” เสื่อมเสียเกียรติ ไม่พึงปรารถนา คว้านท้องตายไปเสียยังดีกว่า เป็นเช่นที่อีปริกมันว่าไว้นั้นแลออเจ้า!!!

 3

เป็นที่น่าสนใจว่าการปฏิบัติต่อผู้น้อยในลักษณะความสัมพันธ์แบบ “ผู้ปกครองดูแล” เกิดขึ้นกับทั้งสองสังคม แต่มีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน…ทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นจากสภาวะของความไม่ปลอดภัยจากสังคมรบพุ่งในสมัยระบบศักดินา (Feudalism) ทำให้เกิดความต้องการถูกคุ้มครอง และความต้องการที่จะปกครองขึ้น เป็นความสัมพันธ์แบบ Win Win นั่นเอง

ในขณะที่ประวัติศาสตร์ไทย ผูกโยงอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ และรูปแบบการปกครองมาแต่โบร่ำโบราณพ่อปกครองลูก นายปกครองบ่าว เป็นสังคมในลักษณะอุปถัมภ์นั่นเองครับ

ว่าไปถึงนั่น…ดูแม่หญิงกันเพลิน ๆ สัปดาห์นี้ เห็นว่าเรื่องความสัมพันธ์ของนายกับบ่าวดูจะเข้มข้นมากในรสหวาย ทั้งเจ็บช้ำแทนแม่หญิง ทั้งซาบซึ้งในความรักของบ่าว เสียทั้งเลือด เสียทั้งน้ำตาแบบนี้ ขอฝากเกร็ดสนุก ๆ จากอยุธยาสู่เอโดะไว้ให้เพื่อน ๆ อินข้ามภพข้ามกาลไปอีกชาติกันเป็นของแถมด้วยนะครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook