นักวิทยาศาสตร์อเมริกันสร้างหุ่นยนต์เลียนแบบ "เถาวัลย์" ใช้ประโยชน์หลายด้าน
นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ของสหรัฐฯ ศึกษาการเจริญเติบโตของเถาวัลย์ และพบประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นหากสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่ต่อความยาวเหมือนกับการเลื้อยของเถาวัลย์
Allison Okamura นักประดิษฐ์หุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และทีมงาน ร่วมกันสร้างเครื่องมือที่ต่อยอดความยาวจากปลายท่อเลียนแบบการเติบโตของต้นเถาวัลย์
หุ่นยนต์ดังกล่าวถูกสร้างด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มที่สามารถแทรกตัวในที่แคบ ขณะที่ขยายความยาวทั้งแนวราบและแนวตั้งเหมือนพืชบางชนิด
โครงการหุ่นยนต์ของเธอได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ National Science Foundation
เธอกล่าวว่าเทคโนโลยีนี้อาจใช้สำหรับการนำเครื่องมือแพทย์แทรกตัวเข้าทำการไปผ่าตัดในร่างกายของมนุษย์ โดยแทบไม่มีแผลเปิดกว้าง
หุ่นยนต์เถาวัลย์ของคณะทำงานนี้มีกล้องติดอยู่ที่ปลายสุด เพื่อนำภาพไปประมวลผลด้วยระบบภายในของหุ่นยนต์เอง และสามารถวิเคราะห์ทิศทางการต่อยอดความยาวได้เองตามสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า
Allison Okamura คิดต่อไปด้วยว่า "หุ่นยนต์เถาวัลย์" น่าจะมีประโยชน์ในการช่วยผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ที่ติดอยู่ในตึก ด้วยการขยายความสูงของมันเหมือนพืชที่หาทางซิกแซ็กให้เข้าถึงผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้ และอาจสร้างที่ยึดเกาะให้กับเหยื่อเพลิงไหม้ สำหรับการไต่ลงด้วยระบบอัตโนมัติด้วย