โรงเรียนมัธยมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยนักเรียนจีน ผู้ได้รับประโยชน์จากภาษีของคนญี่ปุ่น

โรงเรียนมัธยมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยนักเรียนจีน ผู้ได้รับประโยชน์จากภาษีของคนญี่ปุ่น

โรงเรียนมัธยมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยนักเรียนจีน ผู้ได้รับประโยชน์จากภาษีของคนญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

japanchinatn

ทำเอาเป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจ และสร้างความประหลาดใจให้กับคนญี่ปุ่นไม่น้อย ภายหลังจากที่รายการ “Ohayo Nihon” (Good Morning Japan) ทางช่อง NHK ได้ตีแผ่เรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นว่า ตามเขตท้องถิ่นของญี่ปุ่นขณะนี้ได้เต็มไปด้วยชาวจีนที่มาใช้ชีวิตอยู่ ทำให้ภาษีที่คนญี่ปุ่นจ่ายไปนั้น มีคนจีนจำนวนมากได้รับประโยชน์ไปอย่างชนิดที่แทบจะไม่รู้เนื้อรู้ตัว

มาดูตัวอย่างง่าย ๆ จากประเด็นนี้กันดีกว่า!

ขอเริ่มจากภาพบรรยากาศที่ชวนให้แปลกใจจากงานปฐมนิเทศของโรงเรียนแห่งหนึ่งกันครับ จะเห็นได้ว่าจากจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีนักเรียนจีนมากถึง 167 คน (ยืน) ในขณะที่นั่งเรียนญี่ปุ่นมีเพียง 16 คนเท่านั้น (นั่ง)

 1

โรงเรียนมัธยมเอกชนนานาชาติคิวชู 「日章学園九州国際高等学校」ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดมิยะซะกิ แม้ว่าอดีตจะมีนโยบายเปิดรับเฉพาะนักเรียนญี่ปุ่นเท่านั้น กลับต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว เพราะต้องเผชิญกับสถานการณ์การลดลงของอัตราการเกิดที่กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แต่โรงเรียนยังต้องดำเนินต่อไป จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาด้วยการเปิดรับนักเรียนชาวต่างชาติอย่างเปิดกว้างในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

 2

นอกจากนักเรียนจีนจะมีมากกว่าแล้ว หนำซ้ำยังเปิดเพลงชาติจีน พร้อมเปล่งเสียงร้องดังฟังชัด จนอดคิดไม่ได้ว่านี่ญี่ปุ่นถูก Take Over ไปแล้วหรือไงนะ!?

 3

ธงชาติญี่ปุ่นและธงชาติจีนก็ยังถูกแขวนประดับไว้คู่กันอีกต่างหาก

 4

โรงเรียนมัธยมเอกชนนานาชาติคิวชูแห่งนี้ มีจำนวนนักเรียนจีนคิดเป็น 90% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด สมแล้วกับที่เป็นโรงเรียนอินเตอร์!

 5

Makazono Katsunori ผู้อำนวยการโรงเรียนได้กล่าวถึงหลักการในการบริหารของเขาในขณะนี้ว่า

“ปรัชญาการบริหารอะไรก็ตามกลายเป็นสิ่งไม่จำเป็น

ขอแค่เอาตัวรอดให้ได้ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่นี้ก็พอแล้วมิใช่หรือ?”

ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ที่ความรุนแรงของปัญหาอัตราการเกิดลดต่ำลงอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนจะตั้งคำถามถึงปรากฏการณ์นี้ที่กำลังเกิดขึ้นในท้องถิ่นของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามปัญหาการได้รับประโยชน์จากภาษีที่ถูกจ่ายโดยชาวญี่ปุ่น แต่ถูกใช้โดยชาวจีนก็ได้เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว และคาดว่าก็ดูจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยทีเดียว…มาดูตัวอย่างง่าย ๆ เพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยนะครับ!

การพยายามแก้ปัญหาการลดลงของประชากรด้วยนโยบายการเปิดรับนักศึกษาต่างชาติของเมืองฮิงะชิคะวะในฮอกไกโด

6

– เมืองจะสนับสนุนค่าเล่าเรียนให้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
– อนุเคราะห์ความช่วยเหลือทางการเงินในส่วนของที่พักอาศัย
– มอบเงินค่าตอบแทนให้เดือนละ 8,000 เยน (ประมาณ 2,400 บาท)

ในความเป็นจริงนั้น เมื่อมีนักเรียนต่างชาติแสดงความจำนงเพื่อเข้าเรียนในเขตเมือง 1 คน รัฐบาลจะจัดสรรเงินสนับสนุนซึ่งมาจากภาษีให้ทันทีในอัตรา 200,000 เยน (ประมาณ 59,000 บาท)

แต่รายงานของ NHK ก็ชี้ให้เห็นว่า นโยบายการเปิดรับนักศึกษาต่างชาติมาได้ 200 คนของเมืองฮิงะชิคะวะ ทำให้มีงบประมาณจากส่วนกลางเข้ามาที่พื้นที่แห่งนี้ถึง 40 ล้านเยน หรือประมาณ 11 ล้านบาท จึงได้นำเงินดังกล่าวมาจัดสรรบริการต่าง ๆ เช่น จักรยานไฟฟ้า บัตรโดยสารแท็กซี่ บริการดูแลสุขภาพต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุภายในเมืองนั่นเอง

 7

แม้ว่าการใช้นโยบายการเปิดรับนักศึกษาต่างชาติจะนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ในท้ายที่สุด แต่วันหนึ่งพวกเขาก็จะเดินทางกลับไปยังประเทศตนเอง ในกรณีของเมืองฮิงะชิคะวะพบว่ามีชาวต่างชาติเพียง 2 คนเท่านั้นที่ลงหลักปักฐานและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเข้ามาของนักเรียนจีนในเมืองฮิงะชิคะวะ ก็นำมาซึ่งสภาพคล่องของการจับจ่ายใช้สอยที่มากขึ้น ในขณะที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ แต่แล้วพวกเขาก็ต้องกลับประเทศในที่สุด ทำให้การโต้แย้งเรื่องการใช้ประโยชน์จากภาษีที่ตกไปสู่ชาวจีนยังดูไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควร แต่ก็พบว่าปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่นี้ สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนจีนดูจะได้รับการสนับสนุนมากกว่านักเรียนญี่ปุ่นซึ่งเป็นบุคลากรในชาติตนเองเสียอีก

เพื่อน ๆ จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับการแก้ปัญหาที่ส่งต่อกันมาเป็นลูกโซ่อันเกิดจากการลดลงของอัตราการเกิด และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในชาติ ในขณะที่วัฒนธรรมญี่ปุ่นก็มีความละเอียดซับซ้อน และอ่อนไหวอย่างมากต่อการเข้ามาของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ของพวกเขา ยังไงก็ติดตามกันต่อไปครับ ว่าญี่ปุ่นจะเอาตัวรอดจากสถานการณ์อันยุ่งยากของพวกเขา และลุกขึ้นยืนอย่างเข้มแข็งได้เหมือนกับหลาย ๆ ครั้งในอดีตหรือไม่ และอย่างไร?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook