สอบไม่ติดอย่าคิดสั้น จิตแพทย์แนะวิธีเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า - อยากฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

สอบไม่ติดอย่าคิดสั้น จิตแพทย์แนะวิธีเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า - อยากฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

สอบไม่ติดอย่าคิดสั้น จิตแพทย์แนะวิธีเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า - อยากฆ่าตัวตายในวัยรุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

aw1hz2uvmjaxny0xmi9kmdmyy2m2m

จิตแพทย์แนะจับสัญญาณปัญหาทางใจวัยรุ่นที่คิดฆ่าตัวตาย  กำลังใจจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ ที่กำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย ด้าน ‘วีเจจ๋า’ ฝากบอกพ่อแม่เข้าใจและรับฟังปัญหา อย่าบังคับลูก

พ.ต.ต.หญิง ปองขวัญ ยิ้มสอาด นายแพทย์ (สบ2) กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตำรวจระบุ  คนใกล้ตัวช่วยได้มาก หากเปิดใจ รับฟัง เพราะคนที่เครียดจนถึงระดับอยากฆ่าตัวตาย ต้องการใครสักคนรับฟัง

“คนเราทุกคน ถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ แล้ว ไม่มีใครอยากตาย ถ้าเขาคิดอยากตายแสดงว่ามีความปวดร้าวทรมานใจอย่างยิ่ง ซึ่งก็เป็นมาจากปัญหาแตกต่างกันไป การช่วยเหลือที่สำคัญที่สุดคือ การ “เปิดใจ” “รับฟัง” “รับรู้” ปัญหาหรือความทุกข์ใจของคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย ที่สุดแล้ว คนเหล่านี้ต้องการใครสักคนที่จะสามารถระบายความปวดร้าวทรมานใจของคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย”

ที่พ.ต.ต.หญิง ปองขวัญ ระบุสัญญาณเตือนว่า บุคคลนั้นตั้งใจจะฆ่าตัวตายได้ มีดังนี้

- การพูดหรือขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย

- การพูดเป็นลางหรือพูดเป็นนัยๆว่า ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ตายๆไปซะได้ก็ดี

- การหาวิธีการฆ่าตัวตาย เช่น ซื้ออาวุธปืน ยา หรือสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตเพื่อหาทางฆ่าตัวตาย

- การเตรียมการ เช่น การสั่งลาเพื่อน ญาติพี่น้อง ยกทรัพย์สินมีค่าให้คนอื่น เขียนพินัยกรรม

สิ่งที่ควรทำ

- หาเวลาที่เหมาะสม สถานที่สงบ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และแสดงถึงความเป็นห่วง พร้อม ที่จะรับฟังปัญหา

- หาทางขอความช่วยเหลือ จากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา

- หากคิดว่า บุคคลนั้นอยู่ในภาวะอันตราย อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ให้ขอความช่วยเหลือจาก บริการฉุกเฉินต่างๆ, บุคลากรทางการแพทย์หรือครอบครัวของเขา

-ให้มีคนดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายไม่ให้มีในบ้าน เช่น เชือก ของมีคม อาวุธปืน ยาฆ่าแมลงหรือยาอันตรายอื่นๆ

ทั้งนี้ พ.ต.ต.หญิง ปองขวัญ กล่าวด้วยว่า หากใครคิดว่ากำลังประสบกับภาวะโรคซึมเศร้า ไม่สามารถหาทางออกได้ ทางโรงพยาบาลตำรวจมีเพจ www.facebook.com/Depresswecare ซึมเศร้าเราใส่ใจ เพื่อดูแลให้คำปรึกษาปัญหาโรคซึมเศร้า และสายด่วนโทร 081-9320000

 

ด้าน น.ส. ณัฐฐาวีรนุช ทองมี หรือวีเจจ๋า ซึ่งเป็นวิทยากรในกิจกรรม “Entrance Not Transcend” ที่โรงพยาบาลตำรวจเมื่อวานนี้ (11 พ.ค.) ระบุสิ่งสำคัญที่สุดก็คือมุมมอง ต้องแก้ที่ความคิด แล้วลงมือทำมันจริงๆ สำหรับจ๋าแล้ว 

aw1hz2uvmjaxoc0wns85ytu2mtaxm

“จ๋ารู้สึกโชคดีที่มีครอบครัวที่ดี ไม่เคยบังคับ สามารถที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบได้ และทำให้เต็มที่ ถ้าทำไม่ได้ก็ไปทำสิ่งอื่น คิดในแง่บวก ไม่เอาสิ่งที่ล้มเหลวมาบั่นทอนชีวิต จ๋าจึงอยากฝากคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆ ว่าอย่าบังคับลูกๆ เข้าใจและรับฟัง ปัญหาของลูกๆ และให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขารัก”  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook