ทีมวิจัย ม.ฮาร์วาร์ด ชี้ “ยิ่งร้อน ผลสอบยิ่งร่วง”

ทีมวิจัย ม.ฮาร์วาร์ด ชี้ “ยิ่งร้อน ผลสอบยิ่งร่วง”

ทีมวิจัย ม.ฮาร์วาร์ด ชี้ “ยิ่งร้อน ผลสอบยิ่งร่วง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกไม่นานจะเข้าสู่ฤดูร้อนในสหรัฐฯกันแล้ว มีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการศึกษามาฝากกัน หลังจากมีการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอีกหลายสถาบันการศึกษาในอเมริกา ที่ชี้ว่า นักเรียนที่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น จะมีโอกาสทำคะแนนที่ได้น้อยลงในการสอบ

การวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส หรือ UCLA และมหาวิทยาลัย Georgia State University เปิดเผยการค้นพบที่น่าตกใจ ในความเชื่อมโยงระหว่างอุณหภูมิที่สูงขึ้นกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ

ทีมวิจัยวิเคราะห์จากผลการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมอเมริกัน 10 ล้านคน ในช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-2014 ในหลายรัฐทั่วอเมริกาที่สภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน

การศึกษาวิจัยเรื่อง Heat and Learning ที่ตีพิมพ์โดยสำนักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า นักเรียนมีแนวโน้มที่จะได้คะแนนน้อยลงในปีที่มีอุณหภูมิสูง และจะทำคะแนนได้ดีกว่าในปีที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งผลที่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันแม้อยู่ในสภาพอากาศที่แตกต่างกันในอเมริกา

โดย Joshua Goodman ผู้ช่วยอาจารย์จาก Harvard Kennedy School of Government ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยถึงผลกระทบของอากาศร้อนต่อผลการศึกษา บอกว่า อากาศร้อนจะกระทบกับบรรยากาศในการเรียนการสอนในห้องเรียน รวมทั้งการทำการบ้านของเด็กๆ ซึ่งส่งผลต่อคะแนนสอบที่ต่ำลง

ทีมวิจัยคำนวณไว้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของปีที่สูงขึ้นทุก 0.55 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลการเรียนลดลงร้อยละ 1

ทั้งนี้ อากาศร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อการเรียนนั้นจะเริ่มต้นขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส และจะส่งผลกระทบมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส และส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้นไปอีกหากอุณหภูมิสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ในขณะที่อากาศเย็นดูเหมือนจะไม่กระทบกับผลสำเร็จทางการศึกษา

คุณ Goodman บอกว่า นักเรียนที่ได้รับผลกระทบ จะขาดสมาธิ หงุดหงิด และยากต่อการโฟกัสกับการเรียน และการวิจัยครั้งนี้ ได้จุดประเด็นคำถามในภาพที่ใหญ่ขึ้น ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

แต่เมื่อถามถึงทางแก้ไขที่คุณ Goodman แนะนำ คือ เพิ่มเครื่องปรับอากาศในครัวเรือนและสถานศึกษาเพื่อแก้ปัญหานี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook