ทำความรู้จักกับ TCAS ระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่
มาทำความรู้จักกับ TCAS ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561 กันเถอะ โดยก่อนอื่น TCAS ย่อมาจาก Thai University Central Admission System ซึ่ง 1 คนจะมีเพียง 1 สิทธิเท่านั้น เนื่องจาก GAT/PAT จะเหลือสอบเพียงแค่ครั้งเดียว และการสอบทั้งหมด จะเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่น้องๆ จบม.6 แล้ว และมีการเพิ่มภาษาเกาหลีในการสอบ PAT 7 อีกด้วย
TCAS แบ่งการรับเข้ามหาวิทยาลัยออกเป็น 5 รอบ
รอบการรับด้วย Portfolio
- รอบการรับแบบโควตา
- รอบการรับตรงร่วมกัน
- รอบรับแบบแอดมินชั่น
- รอบการรับตรงอิสระ
รอบการรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- ครั้งที่ 1: 1 ต.ค. 60 – 30 พ.ย. 60
- ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2: 22 ธ.ค. 60 – 28 ก.พ. 61
- ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
รอบการรับแบบโควตาโดยมีการสอบข้อเขียน
- ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
- ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
รอบการรับตรงร่วมกัน
- 9 – 13 พฤษภาคม 2561
- ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
รอบรับแบบแอดมิชชั่น
- 6 – 10 มิถุนายน 2561
- ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
รอบการรับตรงอิสระ
- ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
ข้อดีของ TCAS มีอะไรบ้าง?
- เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย
- ลดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน
- แก้ปัญหาการวิ่งรอกสอบ
Q: ถ้าเป็นเด็กซิ่วต้องทำยังไง?
สำหรับน้องๆ ที่เป็นเด็กซิ่ว น้องๆ สามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้ ซึ่งหมายความว่าบางสาขาอาจไม่ได้เปิดรับนั่นเอง
Q: ถ้าจบจากต่างประเทศต้องทำยังไง?
สำหรับน้องๆ ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ หรือ เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศ กระทรวงการศึกษาธิการได้ประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบการศึกษา โดยสามารถสมัครสอบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ 3 รูปแบบ
- การสมัครในรอบที่ 1 : การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- อาจเป็นการยื่นคะแนน IELTS, TOEFL หรือ SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 : การรับตรงร่วมกัน, การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 4 : การรับแบบแอดมินชั่น
- โดยต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด