TCAS ทางเลือก ทางรอด…เด็ก ม.ปลาย จริงหรือ ?

TCAS ทางเลือก ทางรอด…เด็ก ม.ปลาย จริงหรือ ?

TCAS ทางเลือก ทางรอด…เด็ก ม.ปลาย จริงหรือ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาก็วนกลับมาที่จุดเดิมเพราะผู้ใหญ่เป็นคนออกระบบจริงหรือไม่? กับปัญหา TCAS ทางเลือก ของเด็ก ม.ปลาย

ระบบการสอบ TCASistockphotoระบบการสอบ TCAS

แม้ว่าหลาย ๆ คนจะผ่านพ้นช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยกันมาแล้ว แต่เชื่อว่ายังติดตามเรื่องของระบบการศึกษาไทยอยู่ รวมถึงข่าวล่าสุด ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ประกาศระบบการสอบในรูปแบบใหม่ออกมาอีกแล้ว

ทั้งยืนยันว่า ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ (Thai University Central Admission System) หรือ TCAS เป็นระบบที่ถูกสร้างมาเพื่อ …

  1. เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย

    2. แก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง เนื่องจากมีส่วนกลางจัดสอบแต่เพียงผู้เดียว แล้วสถาบันต่าง ๆ นำคะแนนสอบนี้ไปใช้

    3. เรียนจบ ม.6 แล้วค่อยสอบ การจัดสอบจะมีเพียงครั้งเดียวตอนที่เรียนจบแล้วทุกบททุกเรื่องทุกวิชา ทำให้หมดปัญหาเรื่องเรียนไม่ทันแล้วต้องไปสอบ

    4. ลดปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น หรือการกั๊กที่ เนื่องจากระบบใหม่นี้ ให้ทุกคนมี 1 สิทธิ์ในการเลือกที่นั่ง เมื่อถึงเวลาที่ต้องยืนยันสิทธิ์ ก็ต้องเลือกว่า “เอา” หรือ “ไม่เอา” ให้จบไปเป็นรอบ ๆ ถ้าเลือก “เอา” ก็สอบติดเลย ระบบจะนำชื่อออกจากผู้มีสิทธิ์สมัครในรอบถัดไปทันที

    5. ลดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน

    6. มหาวิทยาลัย/คณะ ได้ผู้เรียนที่มีศักยภาพตามที่ต้องการ

ระบบการสอบ TCASistockphotoระบบการสอบ TCAS

แต่ท้ายที่สุด ระบบ TCAS ก็อาจไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหาสำคัญของระบบรับนักศึกษา เหตุเพราะ …

1. การเลื่อนสอบและลดจำนวนจัดสอบ GAT-PAT เหลือเพียงครั้งเดียว (จากแต่เดิม 2 ครั้ง/ปี) ทำให้เด็กมุ่งกวดวิชา ไม่สนใจเรียนในห้องเรียน

2.ปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาระหว่างเด็กสองกลุ่มดังกล่าวยังคงมีอยู่ เนื่องด้วยค่าสมัครและค่าสอบที่ค่อนข้างสูง ทำให้เด็กรวยซึ่งมีทุนทรัพย์สามารถสมัครหลายรอบ และสอบหลายวิชามากกว่าเด็กที่มีฐานะไม่ดี

3. มหาวิทยาลัยรัฐดูดเด็กเก่งไปหมด ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยกลุ่มอื่น ๆ

4. ระบบ TCAS ทำให้เด็กหลายคนอยู่ในสภาวะความเครียด อาทิ เด็กบางคนอาจต้องสละสิทธิ์ในรอบที่ 1 เพื่อรอเลือกคณะที่ตนเองอยากเรียนจริง ๆ ในขณะที่บางคนต้องฝืนใจเลือกคณะที่ตนเองไม่ได้ชอบมากนัก เพราะไม่รู้ในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

พอเห็นระบบการจัดการการศึกษาไทยที่ยังยึดหลักเดิม ผู้ใหญ่เป็นคนคิด เป็นคนออกแบบระบบ โดยไม่ยอมให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม สุดท้ายปัญหาก็วนกลับมาที่จุดเดิม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook