“5 เรื่องประวัติศาสตร์” ที่คุณอาจไม่เคยทราบเกี่ยวกับ “จอหงวน”

“5 เรื่องประวัติศาสตร์” ที่คุณอาจไม่เคยทราบเกี่ยวกับ “จอหงวน”

“5 เรื่องประวัติศาสตร์” ที่คุณอาจไม่เคยทราบเกี่ยวกับ “จอหงวน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จอหงวน เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ต้องบอกว่า คนไทยเชื้อสายจีน หรือแม้กระทั่งคนที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ หรืออยากจะหาไว้ประดับความรู้ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนควรรู้

700
 
รู้หรือไม่ ในโลกนี้ยังมีเรื่องราวอีกนับพัน นับหมื่น หรือแม้จะกระทั่งนับล้าน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน วันนี้มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ต้องบอกว่า คนไทยเชื้อสายจีน หรือแม้กระทั่งคนที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ หรืออยากจะหาไว้ประดับความรู้ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนมาให้ทุกคนได้รู้กัน จัดทำและเรียบเรียงขึ้นโดย โครงการล้ง 1919 ท่าประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มาให้ทุกคนได้รู้กัน

จอหงวนคือใคร

a

มาที่เรื่องแรกที่เราอาจจะยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า จอหงวน ที่เขาเรียกๆ กันคืออะไร ใช่เหมือนกับขันที หรือเปล่า ขอบอกไว้ตรงนี้ว่าไม่เหมือนกัน เพราะ จอหงวน 状元 (จอหงวน เป็นการออกเสียงแบบที่นิยมในเมืองไทย เพี้ยนมาจากสำเนียงกวางตุ้งผสมกับแต้จิ๋ว ส่วนสำเนียงจีนกลางจะอ่านว่า จ้วงหยวน) คือชื่อตำแหน่งของผู้ที่สอบได้อันดับ 1 ในการสอบคัดเลือกข้าราชการของจีนแผ่นดินใหญ่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ไม่ใช่ชื่อเรียกของการสอบ) ในสมัยก่อนจะมีการจัดสอบประมาณ 3 ปีครั้ง และแต่ละครั้งจะมีเพียงคนเดียวที่ได้ตำแหน่งนี้ ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรแล้วก็ถือว่าต้องเก่งมาก ๆ ที่จะขยับฐานันดรมาเป็นจอหงวนได้ เพราะว่าตำแหน่งนี้ “ใครๆ ก็สอบได้”  ปัจจุบันคำนี้ใช้เรียกผู้ได้คะแนนอันดับที่หนึ่งในการสอบใดๆ หรือในความหมายทั่วไปกว่านั้น ใช้สำหรับเรียกผู้เป็นหัวกะทิในสาขาวิชาหนึ่ง

การสอบสุดหิน

aa

วิธีการสอบจอหงวน ในแต่ละครั้งเรียกว่าโหดหินสุดๆ เพราะตามประวัติศาสตร์ การสอบจะใช้เวลาแบบข้ามวันข้ามคืน ทุกคนจะต้องนั่งอยู่บนตั่งของตนเอง และมีฉากเฟี้ยมกั้นรอบทิศทาง เพื่อป้องกันการลอก โดยจะต้องเขียนคำตอบให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เท่าที่ได้ยินมาบางครั้งก็กินเวลาถึง 3 วัน 3 คืน เป็นต้น

ยืนหัวเต่ามังกร

aaa

เต่ามังกรหน้าท้องพระโรง สัญลักษณ์แทนจอหงวน สังเกตได้จากในท้องพระโรงของพระราชวังต้องห้ามจะมีประติมากรรมชิ้นหนึ่งเป็นรูปเต่ามังกร ซึ่งผู้ที่สอบได้ตำแหน่งจอหงวน จะยืนเฝ้าฮ่องเต้ที่หน้ารูปหล่อเต่ามังกรตัวนี้ จึงเกิดเป็นสำนวนว่า 独占鳌头 (ตู๋จ้านอ๋าวโถว) แปลตามคำศัพท์ว่า ยืนหัวเต่ามังกร หมายถึง จอหงวน ซึ่งก็คือคนเก่งเป็นอันดับ 1 หรือผู้ที่เชี่ยวชาญเป็นเลิศนั่นเอง

ด่านสุดท้ายคือฮ่องเต้

aaaa

เรื่องสุดท้าย คือขั้นตอนที่ ฮ่องเต้เป็นผู้ทดสอบเพื่อหาอันดับ 1 เมื่อสอบผ่านในระดับต่างๆ มาถึงรอบสุดท้าย เหล่าบัณฑิตจะเข้ามาสอบในวังหลวง โดยฮ่องเต้จะเป็นผู้ออกข้อสอบและควบคุมการสอบเอง โดยไม่ได้เป็นการคัดคนตก แต่เป็นการวัดอันดับว่าใครจะได้เป็นอันดับ 1 ของแผ่นดิน ได้ตำแหน่ง จอหงวน ส่วนอันดับ 2 และ 3 จะถูกเรียก ป๋างเหยี่ยน และ ทั่นฮัว ตามลำดับ

สวมเสื้อไหมปักกลับบ้านเกิด

aaaaa

หลังเสร็จสิ้นการสอบ ผู้สอบได้จอหงวนจะได้รับพระราชทานรางวัลมากมายจากฮ่องเต้รวมถึงเสื้อนอกผ้าไหมปักที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้สอบได้จอหงวน พร้อมทั้งมีขบวนเกียรติยศแห่จากเมืองหลวงกลับไปส่งถึงบ้านเกิด ก่อนเข้ามารับราชการในเมืองหลวงต่อไป จนเกิดเป็นสำนวน 衣锦还乡 (อีจิ่นหวนเซียง) แปลว่า สวมเสื้อไหมปักกลับบ้านเกิด ซึ่งทุกวันนี้หมายถึงคนที่จากบ้านเกิดไปทำงานจนประสบความสำเร็จและกลับมาช่วยเหลือครอบครัวญาติมิตร  
 
สำหรับใครที่สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ หรือศิลปะที่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ สามารถไปร่วมรับชมการแข่งขัน “LHONG Wisdom Competition” กิจกรรมตอบปัญหาภูมิปัญญาจีน ในรูปแบบการสอบเพื่อคัดเลือกหาจอหงวน ซึ่งภายในงานรับรองว่าสนุกและมีเกร็ดความรู้ดีๆ มาให้ฟังกันตลอดงาน พร้อมชมผู้เข้าแข่งขันที่จะแต่งกายจีนย้อนยุค และชมขบวนแห่จอหงวนจำลอง ในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ณ ล้ง 1919 ถ.เชียงใหม่ เขตคลองสาน

 

 

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook