นักศึกษาแพทย์มหิดลปี 1 ชนะรางวัล ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

นักศึกษาแพทย์มหิดลปี 1 ชนะรางวัล ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

นักศึกษาแพทย์มหิดลปี 1 ชนะรางวัล ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักศึกษาแพทย์มหิดลปี 1 คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศจาก Start Up Thailand League 2018 กับผลงาน ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยตนเอง

hdมหาวิทยาลัยมหิดล

เรียกว่าเป็นการคิดค้นที่อาจจะช่วยชีวิตผู้หญิงได้เป็นล้านคนเลยทีเดียว ต้องขอปรบมือและเป็นกำลังใจให้กับผู้คิดค้นจริงๆ คุณทำดีมาก Sanook! Campus ขอคารวะความคิดและไอเดียให้เลย

จากการแข่งขัน Start Up Thailand League 2018 เมื่อเร็วๆ นี้ ผลงาน LadyKit ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลงานวิจัยร่วมของทีม Bionanomer ที่มีสมาชิกจากหลากหลายสถาบัน นำทีมโดย นายชาวิน แดนมะตาม (คริส) นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ แพทย์หญิงฝนทิพย์ วัชราภรณ์ เจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจสุขภาพโลกมหิดล (Mahidol University Global Health) มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โดยเป็นการริเริ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใน Plattform ของชุดตรวจ (Test Strip) ครั้งแรกในประเทศไทย โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจภายใน ทราบผลได้ภายใน 5 นาที

ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเองมหาวิทยาลัยมหิดลชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

เนื่องจากในปัจจุบันประชากรสตรีเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) มากเป็นอันดับ ๒ ของโลก และยังเป็นมะเร็งที่ประชากรสตรีไทยเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ ๒ ในประเทศเช่นกัน จากการศึกษาทางด้านไวรัสวิทยา พบว่าเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเฉพาะเชื้อไวรัส HPV 16 และ 18 เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงถึงร้อยละ 70 และมีอีก ๑๓ ชนิดที่จัดเป็นเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น จากเชื้อไวรัส HPV กว่า 100 ชนิด ซึ่งอุบัติการณ์โดยรวมของโรคมะเร็งปากมดลูกมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากแบบสอบถามกลุ่มสตรีไทยอายุ 16 – 50 ปี จำนวน 300 คนพบว่า สาเหตุหลักที่สตรีไทยกลุ่มตัวอย่างนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้ารับการตรวจภายใน (Per-Vaginal examination: PV) และ Pap-smear ในโรงพยาบาล หรือคลินิก คือ รู้สึกเจ็บหรือเขินอายไม่กล้ารับการตรวจ (32.1%) ไม่มีเวลาไปตรวจเนื่องจากอาจจะต้องเสียเวลาในสถานพยาบาล หรือ คลินิกจนต้องหยุดงาน (29.5%) และไม่ทราบมาก่อนว่าควรได้รับการตรวจ (24.4%)

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ทีม Bionanomer มีความคิดริเริ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรม LadyKit ขึ้นมาใน Plattform ของชุดตรวจ (Test Strip) โดยการตรวจจับ (Detect) เชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ในชนิดที่มีความเสี่ยงสูง (High risk type) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) โดยหยดตัวอย่างปัสสาวะ (Urine) ลงไปในหลุมทดสอบของชุดตรวจ (Test Strip) ของ “Lady Kit” โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจภายใน (Per-Vaginal examination: PV) และ Pap-smear ในโรงพยาบาล หรือคลินิก

ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเองมหาวิทยาลัยมหิดลชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

LadyKit ง่ายต่อการใช้งาน สะดวก สบาย มั่นใจ ปลอดภัย โดยผู้ใช้สามารถทราบผลของการติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ได้ภายใน 5 นาที รวดเร็วกว่ากระบวนการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสถานพยาบาล หรือการใช้ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบดั้งเดิมที่ต้องส่งตัวอย่างเซลล์ไปที่ Lab แล้วรอผลการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก จากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) อีกอย่างน้อยถึง 1 สัปดาห์ ซึ่งผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงชุดตรวจ (Test strip) “LadyKit” ได้ง่าย โดยคาดว่าจะสามารถวางจำหน่าย ตามเว็บไซต์ และร้านขายยาทั่วไป ได้ภายใน 2 – 3 ปีนี้ ในราคาชุดละ 500 บาท สำหรับแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคตนั้น ทางทีม Bionanomer หวังที่จะทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ชุดตรวจสามารถใช้ตรวจหาเชื้อ HPV ได้มากสายพันธุ์ขึ้น เพื่อเพิ่มฐานความต้องการผลิตภัณฑ์ของตลาดออกไปสู่ภูมิภาคอื่นทั่วโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook