ค่านิยมปริญญาตรี 6 สาเหตุที่ป.ตรี ในไทยยังตกงาน

ค่านิยมปริญญาตรี 6 สาเหตุที่ป.ตรี ในไทยยังตกงาน

ค่านิยมปริญญาตรี 6 สาเหตุที่ป.ตรี ในไทยยังตกงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเทศไทย ยังคงประสบกับปัญหานักศึกษาจบใหม่ไม่มีงานทำ คนเรียนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรียังตกงานมากถึง 170,900 คน

istock-477252104-700istockphoto

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Trading Economics.com และ Index mundi.com เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทย ยังคงประสบกับปัญหานักศึกษาจบใหม่ไม่มีงานทำ คนเรียนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรียังตกงานมากถึง 170,900 คน เราจึงได้รวบรวมสาเหตุที่ ป.ตรี ในไทยยังตกงานมาฝากทุกคนกัน

6 สาเหตุที่ป.ตรี ในไทยยังตกงาน

ยังไม่ต้องการหางานทำ

นักศึกษาจบใหม่หลายคนก็มีจุดประสงค์ที่ยังไม่ต้องการหางานทำทันทีอยู่เหมือนกัน บางคนก็มีแพลนในชีวิตว่าขอไปเที่ยวก่อน หรือขออยู่เฉย ๆ ก่อนค่อยหางาน ค่อยทำงานแล้วกัน แม้แต่คนที่จบ ป.ตรี มานานแล้ว บางคนยอมลาออกเพื่อมาอยู่บ้าน ใช้ชีวิตแบบเรื่อย ๆ ก็มี

สายวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ทำให้ต้องทำงานไม่ตรงสายงาน มีส่วนทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 1% ของจำนวนแรงงานในประเทศไทย ส่วนตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดแรงงาน คือ การแพทย์ วิศวกรรม บัญชีและการตลาด ดังนั้นสถาบันการศึกษาไทย ควรต้องมีการแนะนำหรือแนะแนวทางให้นักศึกษามีความเข้าใจลักษณะการทำงานในแต่ละอาชีพ เพื่อการวางแผนด้านการศึกษาและลดการว่างงานในอนาคต

เลือกงาน เอาเงินเดือนเป็นตัวตั้ง

เด็กจบใหม่ส่วนใหญ่มักจะอยากทำในสิ่งที่ตนเองได้ร่ำเรียนมา และมีบรรทัดฐานที่ว่าเงินเดือน ป.ตรี คือ 15,000 บาท ซึ่งหายากพอ ๆ กับงมเข็มในมหาสมุทร และเงินเดือนเริ่มต้นจริง ๆ ก็คือ 9,000-12,000 บาท ส่วนข้อดีของการย้ายงานใหม่บ่อย ๆ สำหรับคนที่เรียนจบ ป.ตรี และมีประสบการณ์ ก็คือเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียคือตำแหน่งไม่ได้สูงขึ้นตาม เพราะพอไปที่ใหม่ก็ต้องไปเรียนรู้งานใหม่ และบริษัทคงไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเอาคนที่ไม่รู้จักองค์กรมาเป็นระดับหัวหน้าหรือถ้ามีก็คงน้อยมาก สุดท้ายก็ไม่พ้นลาออกและเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ อยู่ดี

ถูกปฏิเสธว่าไม่มีประสบการณ์

ปัญหาระดับชาติของเด็กจบใหม่ คือถูกเรียกสัมภาษณ์เยอะมาก แต่ไม่มีบริษัทไหนรับ เพราะไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวบุคคล บุญพาวาสนาส่ง และการพรีเซ็นต์ตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่วนหนึ่งก็คงต้องมาจากคนที่สัมภาษณ์ด้วยว่า เขาจะมองเห็นความสามารถในตัวเรามากน้อยแค่ไหน และจริง ๆ ก็อยากจะฝากบอกท่านผู้ใหญ่หลายคนไว้ด้วยว่า การให้โอกาสเป็นสิ่งที่จะสามารถพิสูจน์ศักยภาพได้ฉะนั้นอย่าพึ่งปฏิเสธ

ไม่มีความอดทน หนักไม่เอาเบาไม่สู้

ไม่มีภูมิคุ้มกันในการทำงานภายใต้แรงกดดัน ส่วนใหญ่ข้อนี้มักจะเกิดกับคนที่พึ่งเรียนจบใหม่ ๆ เพราะเหตุนี้ด้วยคำว่าไม่มีประสบการณ์ จึงมาผูกมัดกับข้อจำกัดในข้อนี้ บริษัทส่วนมากจึงคิดว่าหากไม่เคยผ่านการทำงานมาก่อนเลย แล้วจะมีความอดทนหรือไม่ อย่างไรสุดท้ายหากทนไม่ไหวก็ต้องลาออกไปหรือร่วมงานกันได้ไม่นานอยู่ดี แถมยังต้องเสียเวลาหาพนักงานใหม่ ดังนั้นอยากให้นักศึกษาจบใหม่มีความอดทนกันให้มาก ๆ

ประกอบธุรกิจส่วนตัวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

บางคนก็ดื้อดึงอยากจะเป็นเจ้าของกิจการซะเองเลย ในเมื่อสมัครงานหลายที่แล้วไม่มีคนรับ ตรงนี้ต้องขอบอกก่อนเลยว่าหากคุณยังไม่เคยผ่านการเป็นลูกน้องใคร คุณจะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มีแรงบันดาลใจจากคนอื่นได้ แต่ต้องมองความเป็นจริงด้วยว่าการจะทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง ก็ต้องมีประสบการณ์มามากเช่นกัน และยิ่งเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ไม่ค่อยดีแบบนี้ ก็ยิ่งต้องคิดหนักเลยว่าจะทำอย่างไรให้ทั้งตัวเอง ลูกน้อง และกิจการอยู่รอด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook