เด็กมหาวิทยาลัยควรรู้ "เคล็ดลับใช้เงินวันละ 100 บาท" ช่วงสิ้นเดือนช็อตกะทันหัน

เด็กมหาวิทยาลัยควรรู้ "เคล็ดลับใช้เงินวันละ 100 บาท" ช่วงสิ้นเดือนช็อตกะทันหัน

เด็กมหาวิทยาลัยควรรู้ "เคล็ดลับใช้เงินวันละ 100 บาท" ช่วงสิ้นเดือนช็อตกะทันหัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคล็ดลับใช้เงินวันละ 100 บาท ในช่วงที่การเงินเกิดช็อตกะทันหัน รัดเข็มขัดให้แน่น อะไรอดได้ต้องอด มาดูกันกับวิธีประหยัดงบฉบับเด็กมหาวิทยาลัย

istock-917235906

ทำอย่างไรดีล่ะ เมื่อยอดเงินกำลังหายไปจากบัญชีธนาคารและกระเป๋าเงิน แถมตั้งหลายวันกว่าจะสิ้นเดือน คิด ๆ ว่าจะเอาตัวรอดจากภาวะเงินขาดมือ หรือเงินช็อตกะทันหันแบบนี้ได้ยังไง ในเมื่อมีเงินเหลือใช้แค่วันละ 100 บาทเท่านั้น

ถ้างานเข้าขนาดนี้ ลองมาดูวิธีเอาตัวรอดแบบง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ เพื่อให้คุณมีเงินเหลือพอใช้ถึงสิ้นเดือนกัน เริ่มต้นด้วยการแบ่งค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน เป็น 3 ส่วน ดังนี้

ค่าเดินทาง

การเดินทางไปนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละคน หากอยู่ในย่านธุรกิจคุณอาจต้องนั่งรถไฟฟ้า BTS หรือรถไฟใต้ดิน MRT ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางตรงส่วนนี้ มักจะมีการเติมเงิน เติมเที่ยวกันไว้ตั้งแต่ช่วงเงินเดือนออกแล้ว ไม่เหมือนค่าเดินทางที่ต้องจ่ายเพิ่มเช่น

  • ค่ารถเมล์แบบรถลม ไป-กลับ อยู่ที่ไม่เกิน 20 บาท
  • ค่าวินมอเตอร์ไซค์ เฉพาะขาไป อยู่ที่ 20-30 บาท กรณีความไกล-ใกล้ของระยะทาง ส่วนขากลับ คุณอาจเดิน หรือติดรถเพื่อนมายังป้ายรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS หรือรถไฟใต้ดิน MRT ได้

ค่าอาหาร

ในแต่ละวัน เราควรกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่ช่วงที่ต้องใช้ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียร การกินให้อิ่ม และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์คงเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ต้องปรับแพลนอาหารในแต่ละมื้อให้เหมาะกับทุนทรัพย์ที่เรามีอยู่แทน

อาหารเช้า

  • ทานขนมปังกับนมมาจากบ้าน (ฟรี)
  • น้ำเต้าหู้แบบธรรมดา (ไม่ใส่เครื่อง) กับปาทองโก๋ 3 ตัว อยู่ที่ไม่เกิน 20 บาท
  • ข้าวเหนียว 1 ห่อ กับหมูปิ้งหรือตับไก่ปิ้ง 2 ไม้ อยู่ที่ 25 บาท

อาหารกลางวัน

  • ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง หรือก๋วยเตี๋ยว อยู่ที่ 30-40 บาท

อาหารเย็น

  • บะหมี่สำเร็จรูป (ซองเล็ก) ใส่ไข่ 1 ใบ อยู่ที่ไม่เกิน 15 บาท
  • บะหมี่สำเร็จรูป (ซองเล็ก) ใส่ไข่ 1 ใบ และปลากระป๋อง อยู่ที่ไม่เกิน 30 บาท
  • ผลไม้ อยู่ที่ 10-20 บาท

สำหรับอาหารในแต่ละมื้อนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบ แค่ให้อยู่ในงบที่มีเท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบค่าอาหารในมื้ออื่น ๆ หรือกระทบค่าเดินทาง

ค่าเครื่องดื่ม

เชื่อว่า หลายๆ คนน่าจะติดเครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชาเขียว หรือโกโก้เย็น แต่เมื่อถึงยามคับขันคุณอาจเปลี่ยนการเดินเข้าไปซื้อเครื่องดื่มตามร้าน มาเป็นอาศัยกาแฟซองสำเร็จรูป หรือดื่มน้ำเปล่าที่มีบริการให้ดื่มฟรีแทน

เมื่อแบ่งค่าใช้จ่ายประจำวันออกแบบนี้ ก็ง่าย ๆ ต่อการคำนวณเงินให้พอใช้ในแต่ละวันตามงบประมาณอันจำกัดแล้ว ที่สำคัญหากวันไหนมีเงินเหลือ คุณจะเอาไปทบกับวันถัดไป หรือเลือกเอาเงินไปหยอดกระปุกก็ได้ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ช่วงสิ้นเดือน ขอแนะนำว่า เมื่อเงินเดือนออก อย่าลืมกันเงินส่วนหนึ่งไปซื้อเสบียงตุนไว้ในยามฉุกเฉินก็ดีนะ (ก่อนวันเงินเดือนออก)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook