ทำความเข้าใจใหม่ "เลขอารบิก ไม่ได้นับตามมุม" อย่างที่แชร์กันนะ

ทำความเข้าใจใหม่ "เลขอารบิก ไม่ได้นับตามมุม" อย่างที่แชร์กันนะ

ทำความเข้าใจใหม่ "เลขอารบิก ไม่ได้นับตามมุม" อย่างที่แชร์กันนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขอารบิก ไม่ได้นับตามมุม ตามที่หลายคนแชร์นะ มาเข้าใจกันใหม่ อย่าเพิ่งเชื่ออะไรที่มาจากโซเชียลมากนัก เพราะมันอาจจะยังไม่กลั่นกรอง

600

เพราะในปัจจุบันคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันได้ง่ายๆ ดังนั้นข้อมูลอะไรที่ได้รับนั้น อาจจะไม่ได้ถูกกลั่นกรองออกมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือจนอาจจะทำให้ผู้คนได้ข้อมูลที่ผิดพลาดไปได้ อย่างเช่นการแชร์เนื้อหา ตัวเลขอารบิก คิดจากจำนวนมุม นั่นเอง เพราะความจริงแล้ว มันไม่ใช่เรื่องจริงแม้แต่น้อย

arabic-number

เลขอารบิก ในยุคปัจจุบันเกิดจากไหน?

จริงๆ แล้ว เลขอารบิก มาจากตัวอักขระอินเดียโบราณที่ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ระหว่างช่วง 200 ปี ก่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษที่ 3 ปรากฏอยู่ในบันทึก Bakhshali ซึ่งมีชื่อเสียงมาก จากการที่เป็นบันทึกเก่าแก่ที่สุดทางด้านคณิตศาสตร์และแสดงให้เห็นถึงการใช้เลข 0 ศูนย์ จะเห็นถึงความคล้ายคลึงระหว่างตัวเลขโบราณนี้ (หรือเรียกว่า ตัวเลขพรามมิ Brahmi numerals) กับเลขอารบิกปัจจุบัน

01

หลังจากนั้น ลักษณะของตัวเลขก็วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอีกหลายศตวรรษ และแพร่กระจายไปถึงเปอร์เซียในยุคกลาง และกลุ่มชาวอาหรับได้นำเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปในที่สุด โดยปรากฏในบันทึก Codex Vigilanus โดยผลงานของพระชาวคริสต์ในสเปนตอนเหนือ เมื่อปี ค.ศ. 881 จะเห็นว่ายิ่งเหมือนตัวเลขอารบิกในปัจจุบันมากขึ้นอีก (เขียนจาก ขวาไปซ้าย) ซึ่งจะมีแค่เลข 4 กับ 5 ที่ดูต่างออกไป

02

จากนั้น ตัวเลขฮินดู-อารบิกนี้ก็ได้ถูกปรับปรุงอีกครั้งในปี 1202 โดยผลงานของ Leonardo Fibonacci (คนที่คิดเรื่องลำดับเลขฟีโบนักชี) โดยเอาระบบนี้มาใช้ในหนังสือ Liber Abaci (แปลว่า Book of Calculation) จนเป็นที่นิยมไปทั่วยุโรป

03

ตัวเลขอารบิกเป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป และในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 ก็พบว่ามีการใช้กันทั่วไป รวมทั้งใช้เขียนบนหน้าปัดนาฬิกาด้วย (มาจากคู่มือที่ชื่อว่า Ms.Thott.290.2º เขียนโดย Hans Talhoffer ในปี 1459) ซึ่งเขียนวิธีการเรียงลำดับเลขทั้งหมดเอาไว้

04

เมื่อยุโรปผ่านยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม หรือยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) มีการศึกษาประวัติของเลขฮินดู-อารบิกเพิ่มเติม และพบว่านอกจากจะมีรากฐานมาจากเลขพรามมิโบราณ ยังได้รับอิทธิพลมาจากวิวัฒนาการของการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักขระต่างๆ ในยุโรปสมัยนั้นด้วย ซึ่งจัดทำโดยนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Jean-Étienne Montcula พิมพ์ในหนังสือ Histoire de la Mathematique ในปี ค.ศ. 1757

จนมาถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 18 นั่นเอง ที่ตัวเลขทั้งหมดที่นิยมใช้กันในยุโรปนั้น ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบตัวเลขอารบิกในปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook