ต้นกำเนิด "ชุดนักเรียนไทย" มาจากไหน เรามาดูคำตอบกันเลย

ต้นกำเนิด "ชุดนักเรียนไทย" มาจากไหน เรามาดูคำตอบกันเลย

ต้นกำเนิด "ชุดนักเรียนไทย" มาจากไหน เรามาดูคำตอบกันเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสงสัยกันไหมว่า ชุดนักเรียนที่เราใส่กันอยู่ทุกวันนี้ มีที่มาที่ไปยังไง เช็กกันหน่อยต้นกำเนิด ชุดนักเรียนไทย มาจากไหน เรามาดูคำตอบกันเลย

700

ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๒๘ แบ่งเป็นชุดนักเรียนชาย นักเรียนหญิง

111

ชุดนักเรียนชาย เครื่องแบบประกอบด้วย

  • หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
  • เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
  • กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่เรียกว่า กางเกงขาสั้นในสมัยก่อน คือกางเกงรูเซีย เป็นกางเกงทรงกระบอกยาวถึงใต้เข่ารวบชายรัดไว้ใต้เข่า) สีดำ
  • ถุงเท้าขาว หรือดำ
  • รองเท้าดำ
  • ถุงเท้า รองเท้า เป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ส่วนใหญ่ไม่มีใช้

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ กำหนดให้นักเรียนในหัวเมืองใช้เสือราชปะแตนสีเทา แทนเสื้อขาวได้ด้วย (เสื้อเทาเป็นเครื่องแบบสำหรับเดินป่า ข้าราชการในกรุงเมื่อออกไปหัวเมืองให้ใช้เสื้อเดินป่าสีเทา แทนเสื้อขาว เพราะรักษาความสะอาดง่ายกว่า ปัจจุบันยังคงมีข้าราชการสำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการที่ยังคงรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ เมื่อต้องไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัดจะเปลี่ยนเสื้อเป็นสีกากีทั้งหมด)

ต่อมาในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการจัดตั้งยุวชนทหาร และกำหนดให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๔ (เทียบกับปัจจุบันคือ ชั้น ม.๒ ขึ้นไป) ต้องเป็นยุวชนทหาร นักเรียนตั้งแต่ชั้นม.๔ ขึ้นไปจึงแต่งเครื่องแบบยุวชนทหารแทน

เครื่องแบบนักเรียน คือ

  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากีแกมเขียว หน้าหมวกเป็นโลหะมีอุณาโลมอยู่กลาง มีตัวอักษรว่า รักชาติยิ่งชีพ
  • เสื้อเชิ้ตสีกากีแกมเขียว
  • กางเกงขาสั้นสีกากีแกมเขียว
  • ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ
  • ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ้าขาดแคลน มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบนักเรียนเป็น
  • หมวกกะโล่สีขาว
  • เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ปักอักษรย่อนามจังหวัดพร้อมหมายเลขประจำโรงเรียนด้วยไหมสีน้ำเงิน โรงเรียนราษฎร์หรือสมัยนี้เรียกว่า โรงเรียนเอกชนปักสีแดง เช่น โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ใช้ ช.ม.๑ (ขึ้นต้นเลขที่ ๑ คือ โรงเรียนชายประจำจังหวัด แล้วต่อด้วยเลข ๒ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด แล้วจึงต่อด้วยเลข ๓ โรงเรียนประจำอำเภอ ต่อด้วยโรงเรียนประชาบาลไปจนครบทั้งจังหวัด)
  • กางเกงขาสั้นสีกากี เข็มขัดหนังสีน้ำตาล
  • ถุงเท้าน้ำตาล รองเท้าน้ำตาล มีก็ได้ไม่มีก็ได้

มีบางโรงเรียนที่มีเครื่องแบบพิเศษ เช่นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย) โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือ โรงเรียน -.ป.ร.ราชวิทยาลัย) โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ โรงเรียนพรานหลวง ใช้เครื่องแต่งกายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๒๙ ประกอบด้วย

  • หมวกหนีบสักหลาดสีน้ำเงินแก่ ติดตราพระมหามงกุฎเงินที่ขวาหมวก กับมีดุมพระมหามงกุฎเงินที่หน้าหมวก ๒ ดุม
  • เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมพระมหามงกุฎเงิน ติดแผ่นคอพื้นน้ำเงินแก่มีแถบไหมเงินพาดกลาง กับมีอักษรย่อนามโรงเรียนทำด้วยเงิน ม.(มหาดเล็กหลวง) ร. (ราชวิทยาลัย) ช. (มหาดเล็กหลวงเชียงใหม่) และ พ. (พรานหลวง) ทับกึ่งกลางแผ่นคอทั้งสองข้าง
  • กางเกงไทยสีน้ำเงินแก่
  • ถุงเท้าดำ รองเท้าดำ
  • เวลาเล่าเรียนปกติในโรงเรียนสวมเสื้อคอกลมผ้าป่านสีขาว ที่เรียกว่าเสื้อชั้นใน สวมกางเกงขาสั้น

เนื่องจากในช่วงแรกที่เริ่มวางรากฐานการศึกษาชาตินั้น มุ่งเน้นจัดการศึกษาสำหรับเด็กชาย การศึกษาสตรีจึงมาเริ่มเอาตอนปลายรัชกาลที่ ๕ แต่ก็ค่อยๆ เริ่มจัด จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงมีการจัดหลักสูตรสำหรับสตรีขึ้นเป็นการเฉพาะ และได้เริ่มมีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น จึงเริ่มมีเครื่องแบบนักเรียนหญิง แต่ต้องขอประทานที่จำรูปแบบเสื้อไม่ได้ นุ่งผ้าซิ่นสีพื้น และต่อมามีกำหนดให้ติดเข็มอักษรย่อนามโรงเรียน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงปรับเปลี่ยนมาใช้ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เครื่องแบบนักเรียนไทย

โรงเรียนรัฐบาล

นักเรียนชาย

23422039_484011791984452_4573

  • เสื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีสาบหลัง มีกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านซ้าย ปักอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่หน้าอกซ้ายและชื่อหรือตัวเลขประจำตัวนักเรียนที่หน้าอกขวา ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินหรือสีแดงในการปัก
  • กางเกงและเข็มขัด มี 3 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากี คู่กับเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กางเกงขาสั้น สีดำคู่กับเข็มขัดหนังสีดำหรือน้ำตาล สีน้ำเงินคู่กับเข็มขัดสีดำหรือสีน้ำตาล ในปัจจุบัน โรงเรียนที่ใช้กางเกงนักเรียนสีกากีส่วนใหญ่จะอยู่นอกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
  • รองเท้าและถุงเท้า มี 2 แบบ คือ กางเกงน้ำตาลจะใช้รองเท้าและถุงเท้าสีน้ำตาล อีกแบบคือใช้ถุงเท้าสีขาว คู่กับรองเท้าผ้าหรือหนังสีดำ

นักเรียนหญิง

12142367_524330677725062_1079

  • เสื้อ จะมีความแตกต่างกันในแต่ละระดับ ดังนี้
  • นักเรียนชั้นประถมศึกษา จะใช้เสื้อคอปกบัวสีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนไม่มีจีบ ปล่อยชายเสื้อ เช่นเดียวกันกับนักเรียนโรงเรียนสาธิต
  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อคอปกกะลาสี สีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนมีจีบและกระดุม ผูกโบสีกรมท่าใต้ปกเสื้อ ปล่อยชายเสื้อ
  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เสื้อคอเปิดสีกากีแกมเขียว หรือเสื้อสนามคอเปิดสีกากีแกมเขียว สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง คาดทับด้วยเข็มขัดหนังสีดำ
  • ปักอักษรย่อของโรงเรียนที่หน้าอกขวาและชื่อนักเรียนที่หน้าอกซ้าย ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินในการปัก แต่ในบางโรงเรียนอาจปักชื่อของนักเรียนไว้ที่หน้าอกด้านซ้ายที่ใต้อักษรย่อ บางโรงเรียนปักจุดด้วย บางโรงเรียนปักแค่อักษรย่อแต่ไม่ปักชื่อนักเรียน เลขประจำตัวนักเรียนและจุด
  • กระโปรง เป็นกระโปรงสีกรมท่า มีจีบด้านหน้า 6 จีบ และด้านหลัง 6 จีบ (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น)
  • กางเกง เป็นกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวแบบฝึก หรือกางเกงสนามขายาวสีกากีแกมเขียว (เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)
  • รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าสีขาว (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) และ รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ หรือรองเท้าเดินป่า (เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)

โรงเรียนเอกชน

นักเรียนชาย

26070293_353395465126340_3471

ขึ้นอยู่กับการกำหนดหรือระเบียบของโรงเรียนนั้น ๆ ส่วนมากมักใช้เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงินหรือสีดำ แต่จะมีบางโรงเรียนที่ใช้เสื้อเชิ้ตเป็นสีอื่น หรือใช้กางเกงขายาว เช่นโรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น

นักเรียนหญิง

davika-1

ขึ้นอยู่กับการกำหนดของโรงเรียน โดยโรงเรียนส่วนใหญ่มักเลือกใช้เสื้อกับกระโปรง แต่บางโรงเรียนใช้เสื้อแขนยาวแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook