ถึงยุควัยรุ่นสร้างตัว เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

ถึงยุควัยรุ่นสร้างตัว เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

ถึงยุควัยรุ่นสร้างตัว เมื่อมหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิกฤตทางการศึกษาที่อาจมีมหาวิทยาลัยเอกชนในไทยบางแห่งต้องปิดตัวลง นั้นกลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างร้อนแรงในเวลานี้ แต่ถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาวิกฤตทางการศึกษาถึงขนาดปิดมหาวิทยาลัยนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะมีรายงานว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในอเมริกาปิดตัวไปแล้วกว่า 500 แห่ง จากทั้งหมดกว่า 4,500 แห่ง และคาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า จะมีมหาวิทยาลัยในอเมริกาปิดตัวลงอีกไม่น้อยกว่า 2,000 แห่ง

istock-512816812-700

ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้วัยรุ่นอเมริกันตัดสินใจเรียนในระดับอุดมศึกษาน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากหนี้ทางการศึกษาที่นักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเกือบร้อยละ90 ต้องกู้เงินเรียนและเมื่อเรียนจบแล้วต้องเจอกับภาวะเศรษฐกิจที่หางานทำยากทำให้วัยรุ่นอเมริกันเริ่มหาทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบออนไลน์ หรือ การเข้าสู่ตลาดแรงงาน แล้วเรียนในลักษณะประกาศนียบัตรเอา หรือตัดสินใจเป็นวัยรุ่นสร้างตัวด้วยความเปิดกว้างของโลกอินเทอร์เน็ต

ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกากำลังเริ่มต้นในเมืองไทยด้วยเช่นกัน หลังจากมีรายงานว่ามหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งอาจต้องปิดตัวลงเพราะมีคนสมัครเข้าเรียนไม่ถึงห้าร้อยคน หรือ มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งกำลังจะขายกิจการให้ต่างชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อระบบการศึกษาไทย และ ตลาดแรงงานในอนาคตอันใกล้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเรามาดูกันดีกว่าว่า ถ้าคนเรียนในระดับมหาวิทยาลัยน้อยลงจะเกิดอะไรขึ้นตามมาบ้าง

สังคมวัยรุ่นสร้างตัว

ด้วยปัญหาของสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองยุคนี้ไม่สามารถตอบสนองได้ทำให้เด็กหลายคนต้องยอมกู้เงินเรียน แต่เมื่อเรียนจบมาแล้วเงินเดือนที่ได้กลับไม่พอใช้จ่าย และ ไม่เหลือถึงการใช้หนี้การศึกษา ซึ่งเรื่องดังกล่าวกลายเป็นแรงจูงใจให้วัยรุ่นวัย18-20 ปีหลายคนตัดสินใจไม่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยและ หันหน้าเข้าสู่สังคมวัยรุ่นสร้างตัว ด้วยการเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ หรือ ทำธุรกิจอันเกิดจากงานอดิเรกของตนเอง ซึ่งมีวัยรุ่นหลายคนที่ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ล้มแล้วลุกไม่รู้กี่รอบ เพราะการแข่งขันในปัจจุบันนั้นสูงมาก ถ้ามีความรับผิดชอบไม่เพียงพอ หรือไม่หาความรู้ต่อยอด ก็มีอันต้องพ่ายแพ้ต่อคนที่แข็งแรงกว่าอยู่ร่ำไป

มีเด็กที่เรียนจบในคณะที่เหมาะกับตลาดแรงงานปัจจุบันมากขึ้น

จากตัวเลขของ TCAS ปีล่าสุดนั้น มีรายงานว่านักเรียนในระดับชั้นมัธยม 6 ที่สอบและได้ที่นั่งเรียนในระดับมหาวิทยาลัยนั้นมีจำนวนแสนกว่าราย แต่ที่มารายงานตัวยืนยันสิทธิ์นั้นมีเพียงห้าหมื่นกว่าราย แสดงให้เห็นว่าส่วนที่เหลือยินดีสละสิทธิ์เพื่อเลือกเรียนในสิ่งที่พวกเขาอยากเรียนมากกว่า หรือ บางกลุ่มก็มองว่าระบบการศึกษาในไทยยังไม่ตอบโจทย์อาชีพที่พวกเขายอยากทำในอนาคต และการเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนยังไม่ตอบโจทย์ และด้วยค่าใช้จ่ายเดียวกันสามารถไปเรียนต่อต่างประเทศที่ทำให้พวกเขาได้ ทำอาชีพที่อยากทำมากกว่า และนั่นหมายความว่าในอนาคต จะมีคนที่เรียนจบมาเฉพาะด้านเพิ่มมากขึ้น หากแต่ค่าจ้างของแรงงานเหล่านี้ในอนาคตก็จะสูงตามไปด้วย

istock-815509594

คนทำงานวัย 35 ปีขึ้นไปจะเกษียณอายุช้าลง

เมื่อตัวเลขการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยลดน้อยลง ก็จะทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้ามีตัวเรื่องน้อยลงและเด็กจบใหม่ หรือ ทำงานมาหนึ่งถึงสองปี ก็จะหันไปเป็น ฟรีแลนซ์ มากขึ้น นั่นหมายความว่าตลาดแรงงานในเมืองไทยจะขาดแคลนคนทำงานอย่างหนัก ทำให้คนที่อยู่ในวัย 35 ปีขึ้นไปในเวลานี้จะได้เกษียณอายุช้าลง ประกอบกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทำให้คนรุ่นนี้สามารถทำงานไปจนถึงอายุ 65 ปีได้อย่างสบาย

หมดสมัยองค์กรขนาดใหญ่เคลื่อนตัวช้า

อันที่จริงองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบันก็ลดน้อยลงเหลือไม่กี่แห่งแล้ว เพราะองค์กรขนาดใหญ่ต้องแบกรับภาระด้านสวัสดิการ ฐานเงินเดือนที่ถูกปรับขึ้นทุกปี รวมไปถึงประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่เมื่ออยู่ในองค์กรใหญ่แล้ว จะทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ซึ่งเรื่องแบบนี้เห็นได้ในระบบข้าราชการ

istock-813999540

เมื่อคนเรียนในระดับมหาวิทยาลัยน้อยลง นั่นหมายความว่าคนที่จะเดินเข้าสู่ระบบองค์กรใหญ่ก็จะน้อยลง และในทางกลับกัน บรรดาวัยรุ่นสร้างตัวทั้งหลาย จะต่อสู้เพื่อธุรกิจตนจนกลายเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และจะทำให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ มากกว่าจะถูกผูกขาดไว้กับเจ้าใหญ่แต่เพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต

ทั้งหมดนี้เป็นการมองโลกในแง่ดีกรณีที่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยกลายเป็นทางเลือกอันดับรองๆของคนยุคใหม่ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งวิกฤติ การศึกษาที่อาจทำให้มหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลง คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือนักเรียนยุค 4.0 ที่ต้องเลือกมหาวิทยาลัยที่มีความน่าเชื่อถือทางการศึกษา ไม่ใช่เปิดมาเพื่อผลกำไร ประเภทจ่ายครบจบแน่

เพราะในปัจจุบันแม้จะยังไม่ถึงขนาดปิดตัว แต่มหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งต้องปิดหลักสูตรที่เปิดสอน ทั้ง ที่ยังมีนักศึกษาเรียนอยู่ เนื่องจากหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานและจากนี้คงต้องมาดูกันต่อว่า มหาวิทยาลัยเอกชน ที่แข่งกันเปิดใหม่ในช่วง 10 ปีหลังนั้นจะดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook