ไม่ว่าใครก็เป็นนายกได้!? "อยากเป็นนายกต้องเรียนอะไร" เรามาดูคำตอบกันเถอะ
สงสัยกันรึเปล่าว่าถ้าอยากเป็นนายก เราต้องตั้งใจเรียนด้านไหน ศึกษาอะไรบ้าง แต่บอกเลยว่าไม่ว่าใครก็เป็นนายกได้!? "อยากเป็นนายกต้องเรียนอะไร" เรามาดูคำตอบกันเถอะ
จำกันได้ไหมตอนเด็กๆ ตอนที่คุณครูถามว่า โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร เราเชื่อว่าคำตอบที่อยากเป็นนายกมากมายอย่างแน่นอน เพราะว่าในสมัยเด็กๆ นั้นนายกรัฐมนตรีคงเป็นอะไรที่ดูเท่มากๆ เพราะเป็นตัวแทนของประเทศที่คอยดูแลและจัดระบบบ้านเมือง และทำให้ประชาชนที่ไว้ใจเลือกเรามีความสุข มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งใครที่ยังอยากทำตามความฝันของตัวเองในตอนเด็ก ที่อยากเป็นนายกอยู่แล้วล่ะก็ Sanook! Campus เราก็ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นนายกรัฐมนตรีมาฝากเพื่อนๆ กัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๕๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
มาตรา ๑๖๐
- รัฐมนตรีต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
- ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘
- ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
- ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๖ หรือมาตรา ๑๘๗ มาแล้วยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันแต่งตั้ง
ประวัติการศึกษาของ นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย
ชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 20)
- พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17
- พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
- พ.ศ. 2542 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู
- พ.ศ. 2548 รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2552 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. 2557 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21)
- ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญากิตติมศักดิ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา)
ชวลิต ยงใจยุทธ (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 22)
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23)
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26
- ปริญญาโท มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สาขากระบวนการยุติธรรม
- ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต สาขากระบวนการยุติธรรม
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในสาขาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 25)
- ระดับอุดมศึกษา: นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26)
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38
- รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27)
- ปริญญาตรี สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
- ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 28)
- ปริญญาตรี ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาวรุ่น 21)
- ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต
ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29)
- พ.ศ. 2519 หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
- พ.ศ. 2524 หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
- พ.ศ. 2528 หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
- พ.ศ. 2550 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
ซึ่งนั่นแปลว่าการเป็น นายกรัฐมนตรี ต้องจบ ป.ตรี ในสาขาใดก็ได้ ไม่จำกัดสาขานั่นเอง ถ้าอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรีตามความฝันของตัวเองก็ต้องพยายามกันหน่อยแล้วแหละ โอกาสเปิดกว้างแต่ต้องมีจุดยืนที่แน่นอนในการคาดหวังการเป็นนายกรัฐมนตรีก็พอแล้ว