ม.มหาสารคาม ปลื้ม ติดโผ THE จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก
ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยืดอก ภูมิใจร่วมกับ คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สุดปลื้มหลังจากที่พบการจัดอันดับ ที่เป็น 1 ในมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับที่ 6 ร่วม กลุ่มอันดับที่ 1001+ ของโลกมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก จากการจัดอันดับ Time Higher Education (THE) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้นับเป็นปีแรกของ มมส ที่ได้ไต่อันดับ Ranking เป็นที่ยอมรับขององค์กรการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
โดยผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 1,250 แห่ง สำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ติดอันดับที่ 1001+ ของโลก และอันดับที่ 6 ของประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนอันดับที่ 1 ของโลก ได้แก่ Oxford University และอันดับที่ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 601-800 ของโลก ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
Times Higher Education เป็นหน่วยงานในสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2547 (ค.ศ. 2004) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง Times Higher Education Supplement ของนิตยสาร Times ที่เป็นองค์กรการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ โดยการจัดอันดับจะรวบรวมข้อมูล และให้น้ำหนักคะแนนแต่ละตัวบ่งชี้ โดยวิธีการส่งแบบสอบถามไปยังนักวิชาการเพื่อสำรวจ Peer Review และเก็บข้อมูลอื่นๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดอันดับในระดับเอเชียของ Times Higher Education
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกของ Times Higher Education เป็นตารางการจัดอันดับที่วัดประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัย ซึ่งรวมอยู่ในทุกพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดความรู้และภาพลักษณ์มุมมองในระดับนานาชาติ โดย THE มีการใช้เครื่องวัดประสิทธิภาพ 13 ตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความสมดุลมากที่สุด ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ผู้นำมหาวิทยาลัย แวดวงอุตสาหกรรมและรัฐบาล
โดยตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการจัดอันดับของ THE World University Rankings 2019 ได้แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ซึ่งได้แก่
- การเรียนการสอน (สภาพแวดล้อมการเรียนรู้)
- การวิจัย (ปริมาณ รายได้และชื่อเสียง)
- การอ้างอิง (ผลงานวิจัย)
- รายได้ทางด้านอุตสาหกรรม (การถ่ายทอดความรู้)
- ภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ (เจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาและการวิจัย)
ทั้งนี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักเรียน และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกคนที่มีส่วนสำคัญในความสำเร็จที่ปรากฏใน Ranking นี้