ประชามติเผย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นชอบ เลิกประกวดดาว-เดือนคณะ

ประชามติเผย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นชอบ เลิกประกวดดาว-เดือนคณะ

ประชามติเผย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นชอบ เลิกประกวดดาว-เดือนคณะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากการถกเถียงเรื่องประเพณีการจัดประกวด ดาวเดือน และดาวเทียม ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการมองมุมต่างว่าก่อให้เกิดการแบ่งแยก เพราะตำแหน่งดาวเดือนนั้นมักจะถูกมองว่าเหมาะกับผู้คนที่มีความหล่อ และสวย ส่วนตำแหน่งดาวเทียมนั้นมักถูกมองว่าเป็นตำแหน่งของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนั่นอาจจะส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเพศได้

ดังนั้นทางสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้มีมติให้จัดลงประชามติ ว่าจะจัดกิจกรรมดังกล่าวอยู่หรือไม่ขึ้น ผลประชามติอย่างไม่เป็นทางการ มีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 260 จากนิสิตทั้งหมด 288 คน คิดเป็นร้อยละ 90.28

ผลประชามติออกมาเป็น

45166170_972614099602836_8796

  • 142 คน หรือ ร้อยละ 54.62 ของผู้มาใช้สิทธิ เห็นว่าควรยกเลิกตำแหน่งดาว เดือน และดาวเทียม
  • 113 คน หรือ ร้อยละ 43.46 ของผู้มาใช้สิทธิ เห็นว่าไม่ควรยกเลิกตำแหน่งดาว เดือน และดาวเทียม
  • 5 คน หรือ ร้อยละ 1.92 ของผู้มาใช้สิทธิ เป็นบัตรเสีย

โดยล่าสุดสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่า

45173637_972790929585153_5449

ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำประชามติ เรื่อง การมีดาว เดือน และดาวเทียม พ.ศ. 2561 จัดให้มีการลงประชามติในประเด็นการมีดาว เดือน และดาวเทียม พ.ศ. 2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ระหว่างเวลา 10.00 – 10.40 น. ณ โถงห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล ชั้น 13 อาคารเกษม อุทยานิน (รัฐศาสตร์ 60 ปี) นั้น บัดนี้ ผลการลงประชามติเป็นที่สิ้นสุดแล้ว มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติ จำนวนทั้งสิ้น 260 คน จากผู้มีสิทธิ จำนวนทั้งหมด 288 คน คิดเป็นร้อยละ 90.28 ของผู้มีสิทธิลงประชามติ โดยผลการลงประชามติ เป็นไปตามเอกสารด้านล่างนี้

ผลการลงประชามติฯ เป็นที่ปรากฎแล้วว่า “ควรยกเลิกตำแหน่งดาว เดือน และดาวเทียม” ทั้งนี้ตามประกาศฯ เรื่อง กฎกติกาและเกณฑ์การออกเสียงประชามติประเด็นการมีดาว เดือน และดาวเทียม พ.ศ. 2561 ให้ถือว่ามติดังกล่าวเป็นที่สิ้นสุด และพึงได้รับการยอมรับตลอดปีการศึกษา 2561

นอกจากนั้นทางเฟสบุ๊กของ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ อดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทางโพสต์เฟสบุ๊กว่า

45355540_972633172934262_4765

ประชามติ เรื่องการมีดาว เดือน และดาวเทียม​ ออกมาแล้ว ยกเลิก 142 เสียง ไม่ยกเลิก 113 เสียง ใบเสีย 5 ใบ สรุปคือ ยกเลิกการมีดาวเดือน และดาวเทียม​ คณะ​รัฐศาสตร์​ จุฬา​ฯ​ พ.ศ. 2561

ขอบคุณ​น้องๆปี1ทุกคนที่มามีส่วนร่วมครั้งนี้ นี่เป็น​เรื่องที่สวยงามมาก ที่มีการแก้ปัญหา​อย่างเป็นประชาธิปไตย เราจะต้องช่วยกันพัฒนา​วิถีทางประชาธิปไตย​มากขึ้นเรื่อยๆ เป็น​ตัวอย่างแก่สังคมไทย

โดยก่อนหน้านี้ นายเนติวิทย์ ได้สร้าง แคมเปญ​เรียกร้องให้สโมสรนิสิต​คณะ​รัฐศาสตร์​ จุฬา​ ยกเลิกการจัดประกวดกิจกรรม​ดาวเดือน และดาวเทียม โดยมีประเด็นดังนี้

  1. การจัดประกวดดาว-เดือน มีนัยของคำแฝงอยู่แล้วแต่แรก “เดือน” และ “ดาว” ย่อมหมายถึงความเด่นกว่า เหนือกว่าคนอื่น แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แต่หากเราเชื่อว่าแต่ละคนมีความพิเศษที่แตกต่างกัน ย่อมควรยกย่องและส่งเสริมศักยภาพเหล่านั้น ไม่มีเหตุผลที่จะเอาคุณค่าหนึ่งสูงกว่าคุณค่าอื่นๆ
  2. การจัดประกวดนี้เป็นการใช้งบประมาณของสโมสรที่มาจากนิสิตอย่างไม่สมเหตุสมผล เพราะเอาเงินส่วนหนึ่งไปให้กับการประชาสัมพันธ์ ถ่ายภาพ แต่งหน้า การซ้อมของนิสิตเพียงไม่กี่คน ทั้งที่นิสิตเหล่านั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากนิสิตคนอื่นๆเลย
  3. นอกจากนี้ การจัดประกวด "ดาวเทียม" เป็นกิจกรรมซึ่งเข้าใจว่าเป็นการสร้างขึ้นเพื่อล้อเลียนกับกิจกรรม ดาว-เดือน การใช้คำว่า "เทียม" ย่อมแน่ชัดอยู่แล้วว่าหมายถึง ไม่แท้ ไม่จริง เป็นการใช้ชื่อกิจกรรมที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ในแฟนเพจของสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยังระบุอีกว่า “ใครก็ได้ … ถ้าน้องๆเป็นคนที่ชอบสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้คน” กิจกรรมส่วนใหญ่ของดาวเทียมมักจะหมายถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้นนี่จะเป็นการเน้นย้ำหรือไม่ว่า การเป็นเพศทางเลือกคือคนตลก และถ้าหาก “ให้ใครก็ได้” ก็ไม่จำเป็นต้องจัดเป็นกิจกรรมดาวเทียมอีกต่อไป
  4. การจัดประกวดดาว - เดือน และดาวเทียม หมดสมัยลงแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องรู้จักกันผ่านเวทีเพียงไม่กี่นาทีอีกแล้วในยุคนี้ และก็ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องให้คนอื่นๆ รู้จักอีกคนเพราะเขามีคุณสมบัติในเรื่อง ความตลก หน้าตา มากกว่าคนอื่นๆที่อาจจะไม่ได้รับเลือก
  5. ถ้าหากเหตุผลทั้งสี่ข้อสมเหตุสมผล การจัดประกวดดาว - เดือน และดาวเทียม เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และไม่ได้ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนิสิตอย่างแท้จริง ย่อมไม่มีเหตุผลที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯควรสนับสนุนการให้งบประมาณในการจัดกิจกรรมดังกล่าว และสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯก็ไม่ควรจัดกิจกรรมดังกล่าว ในฐานะที่เป็นตัวแทนนิสิตของคณะทั้งหมด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook