รู้หรือไม่! "ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น" อาชีพพระสามารถมีภรรยาและทำงานเสริมได้
จากการเปิดตัว ชุดประจำชาติ Miss Universe Japan 2018 เราก็จะพระรูปหนึ่งยืนอยู่บนเวทีถ่ายรูปร่วมกับ Miss Universe Japan 2018 พร้อมจิกส้นสูงดูมีความเฟียสเวอร์ ซึ่งพระรูปนั้นก็คือ โคโดะ นิชิมูระ พระที่เป็นช่างแต่งหน้าชื่อดังและมีผลงานมากมาย มาถึงขนาดนี้แล้วหลายๆ คนอาจจะสงสัย ว่าพระสามารถยุ่งเกี่ยวกับทางโลกและสามารถทำงานเสริมนอกจากการเป็นพระได้จริงหรือ?
ซึ่งทาง Sanook! Campus เราก็เลยอยากจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาพุทธศาสนาของประเทศญี่ปุ่นกันสักหน่อยว่าทำไมพระญี่ปุ่นสามารถทำอะไรแบบนี้ได้
ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบัน
นักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นจัดเป็นอาชีพหนึ่ง เรียกว่า อาชีพพระ ซึ่งอาชีพพระญี่ปุ่นจึงไม่ได้ปฏิบัติธรรมอยู่แต่ในวัดตามที่เราคนไทยเข้าใจกัน วัดเล็กๆ ที่ไม่มีรายได้มากนักก็อาจจะต้องไปทำงานอย่างอื่นควบไปด้วย บ้างก็มีอาชีพเสริมเป็นครู เปิดกิจการต่างๆ หรือแม้แต่เป็นมนุษย์เงินเดือนก็มีให้เห็น ในด้านความเป็นอยู่ของนักบวชในศาสนาพุทธในญี่ปุ่นปัจจุบันนี้ นักบวชยังคงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
- ดำรงตนรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและประพฤติพรหมจรรย์ตลอดการถือบวช
- ถือบวชโดยยังคงแต่งงานมีครอบครัวมีภรรยามีลูกหลานสืบสกุลและใช้ชีวิตไม่ต่างจากฆราวาสที่เป็นชาวบ้านทั่วไป
ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก ทำให้มีความเครียดและมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นโรคประสาท โรคจิต และสถิติการฆ่าตัวตายสูงมาก สิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเครียดได้ ก็คือการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เนื่องจากญี่ปุ่นชอบความเร็วให้ได้ผลทันใจ พระพุทธศาสนานิกายเซนจึงเป็นที่นิยม และมีการสร้างนิกายใหม่ ๆ หรือลัทธิใหม่ ๆ ที่ปฏิบัติได้ผลรวดเร็วอีกมาก คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งไม่นับถือศาสนาใดเลย แต่ยึดถือลัทธิการเมืองตามความชอบใจของตน
ในทางมหายานผู้นับถือไม่ว่าพระหรือฆราวาสจะเน้นอุบายโกศลคือความฉลาดในการหาวิธีการต่าง ๆ มาอธิบายคำสอนให้ผู้คนรู้จักแพร่หลายได้ พระนักบวชในญี่ปุ่นสมัยนี้พยายามปรับตัวทำการปฏิรูปวิธีเผยแผ่คำสอนให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มทำให้ศาสนาใกล้ชิดพุทธศาสนิกชนมากขึ้น เจ้าอาวาสวัดโจไซจิบอกว่า ไม่ถือเป็นการผิดแผกแตกต่าง หรือผิดวินัย เพราะดนตรีมีต้นกำเนิดจากศาสนา ในสมัยโบราณนั้นดนตรีถูกบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้าและพระเจ้าในศาสนาต่าง ๆ และเครื่องดนตรีหลายอย่างก็มีต้นกำเนิดมาจากในวัด ถ้าหากสามารถทำให้คนหันมาสนใจศึกษาพระธรรมได้ แม้เป็นพระก็ไม่ถือว่าผิดศีล เพราะพระมหายานจะเน้นศีลพระโพธิสัตว์มากกว่าศีลของพระดังที่มีในนิกายเถรวาท สำหรับการสวดมนต์ท่ามกลางเสียงดนตรีนั้น บรรดาพระสงฆ์จะสวดบทสวดมนต์ตามบทต้นฉบับ โดยมีทำนองดนตรีบรรเลงคลอตามไป ส่วนพุทธศาสนิกชนที่เข้าฟังก็จะพนมมือตั้งจิตตั้งใจฟัง
อัลบั้มภาพ 28 ภาพ