เจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงรับการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มมส

เจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงรับการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มมส

เจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงรับการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มมส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เสด็จไปยังอาคารเฉลิม-พระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายปัญญา ถนอมรอด นายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะผู้บริหาร นิสิต และนักเรียนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เฝ้ารับเสด็จฯ

48035056_212864022949355_5961

ในการนี้ ทรงรับการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีววิทยา ซึ่งสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ขอพระราชทานถวายแด่เจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น ด้วยพระอัจฉริยภาพ ที่ทรงศึกษาวิจัยทางด้านชีววิทยา ด้วยพระวิริยะ และอุตสาหะ ทรงมีผลงานพระนิพนธ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ทรงเปี่ยมด้วยพระเกียรติคุณเห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวโลก

48046866_2097539003631801_710

เจ้าชายอากิชิโน ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านสัตววิทยา จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ บริติชมิวเซียม สหราชอาณาจักร และทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ด้านปักษีวิทยา จากมหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาชั้นสูงแห่งคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ ของสถาบันปักษีวิทยายามาชินา ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ ทรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสวนสัตว์และสัตว์น้ำ ประธานกิตติมศักดิ์ขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล และทรงเป็นสมาชิกสมาคมนักมีนวิทยาของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนเป็นรองประธานกิตติมศักดิ์ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ของประเทศไทย

48099878_2227894644135150_769

เจ้าชายอากิชิโน ทรงมีผลงานดีเด่นทางวิชาการด้านการศึกษา และการวิจัยด้านอนุกรมวิธานและการพัฒนาทางสัณฐานวิทยาของปลาในวงศ์ปลาเนื้ออ่อนและวงศ์ปลาสวาย โดยเสด็จมายังประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จำนวนหลายครั้งเพื่อทรงเก็บและรวบรวมตัวอย่างปลาไปศึกษาวิจัยด้วยพระองค์เอง จึงมีผลงานพระนิพนธ์ด้านวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อาทิ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น อย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ถึงพระปรีชา-สามารถในด้านมีนวิทยา นอกจากนั้นยังทรงสนพระหฤทัยใฝ่ศึกษาในเรื่องสายพันธุ์ไก่พื้นเมือง ไก่ป่า ไก่เลี้ยง และไก่ฟ้า ตลอดจนมุ่งมั่นศึกษาพหุสัมพันธ์คนกับไก่จนสามารถตอบปัญหาว่า “ทำไมและอย่างไรไก่ป่า จึงวิวัฒนาการเป็นไก่บ้าน” สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีววิทยาเพื่อเฉลิมพระเกียรติให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน

48167274_223956445203558_1921

จากนั้นเจ้าชายอากิชิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติคุณและผลงานวิจัย ที่ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดขึ้น ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ขามเรียง) ทรงปลูกต้นหม่อน ทรงทอดพระเนตรห้องเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกย้อมสีไหม การทอผ้า นิทรรศการไหม โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายภาพสีอะคริลิค บนกระดาษใยไหม

จากนั้น ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ต่อไปยังอาคารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ทรงทอดพระเนตรเห็ดหลินจือขนาดใหญ่ การเก็บรักษาตัวอย่างเห็ด การแกะสลักเห็ด และผลิตภัณฑ์เห็ด ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ โดยมี ผู้บริหาร บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เฝ้าฯ ส่งเสด็จฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook