อาจารย์ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดแนะเวิร์คแอนด์ทราเวลแก้ปัญหาบัณฑิตป.ตรีตกงานปี 2019
ปัจจุบันในส่วนของอัตราว่างงานของบัณฑิตจบใหม่นั้นมันเป็นเพราะเศรษฐกิจในปัจจุบันของเรามีการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควรจึงทำให้เกิดอัตราการว่างงานเกิดขึ้น จากที่ตามมาหลายๆข่าวของกระทรวงแรงงานก็ได้พบว่าช่วงอายุของคนที่มีอัตราการว่างงานสูงนั้นอยู่ในช่วงอายุ 20-24 ปี ซึ่งช่วงอายุนั้นอยู่ในช่วงที่เพิ่งเริ่มต้นการทำงาน และจากในวัยนี้ที่เราพบเห็นอย่างเด่นชัดคือทุกคนในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการหางาน เรียนต่อ หรือหาประสบการณ์ชีวิต บางอย่างยังอาจจะทำให้ไม่คุ้นชินกับประสบการณ์ในการทำงานโดยตรง และวัยนี้ต้องบอกก่อนเลยว่าเป็นวัยที่เพิ่งจบจากการศึกษา เพราะว่าใช้ชีวิตในการศึกษามาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปีพอจะเข้ามาในตลาดแรงงานอาจจะมีในส่วนของความลังเลในการเลือกงาน ประสบการณ์ในการทำงานยังไม่ค่อยมี อีกทั้งบางส่วนอาจจะยังไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองเหมาะกับงานอะไร อยากทำงานที่ไหน อย่างที่หลายๆประเทศจะมีกรณีให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการทำงานโดยการที่จะส่งนักศึกษาไปฝึกงานตามประเทศต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า เวิร์คแอนด์ทราเวล เพื่อที่จะให้เด็กนักศึกษาใช้เวลาตรงนี้ในการค้นหาตัวเองว่าตัวเองชอบอะไร และเหมาะกับงานประเภทไหน หรือบางคนอาจจะค้นพบว่าตัวเองเหมาะที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาโทต่อไป อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวเองว่าตัวเองจะมีความพร้อมในด้านต่างๆ มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้ามองย้อนกลับมาที่บ้านเราก็ยังไม่ได้มีแนวคิดแบบนี้แต่จะใช้เป็นวิธีการให้เด็กออกไปฝึกงานที่ต่างประเทศมากนักหรือยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทุกมหาวิทยาลัย ทำให้เด็กไม่ได้เห็นการทำงานที่แท้จริงส่งผลให้เด็กยังไม่รู้ว่าตัวเองเหมาะกับการทำงานแบบไหน
ดร.สุทธิภัทร อัศววิชัยโรจน์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวว่า “เด็กรุ่นใหม่ๆ ในวัยนี้อยากที่จะประกอบธุรกิจด้วยตัวเอง มันจึงทำให้เราเห็นแนวคิดของเด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการทำงานว่าไม่จำเป็นแล้วที่จะต้องทำงานเป็นระยะเวลา 5 วัน ต่อสัปดาห์ เข้างาน 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น แต่จะทำงานในแบบที่เขาสามารถจะจัดสรรเวลาเองได้ แล้วใช้เวลาที่เหลือจากการทำงานนั้นๆ ไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย ที่สำคัญการให้ค้นหาตัวตนเวิร์คแอนด์ทราเวลค่อนข้างเหมาะสมเป็นอย่างมากในยุคนักศึกษาที่กำลังจะเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบันไทยแลนด์4.0 ให้นักศึกษาได้ลองฝึกทำงานจริงในต่างประเทศพร้อมท่องเที่ยวหาประสบการณ์จริง ที่สำคัญยังช่วยสร้างศักยภาพการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมด้านภาษา การใช้ชีวิตต่างๆ อีกด้านยังส่งเสริมให้ประเทศต่างๆได้เห็นการทำงานและศักยภาพของนักศึกษาไทย”
“นอกจากบางส่วนที่อยากจะเป็นผู้ประกอบการอย่างที่บอกไปในข้างต้นแล้วยังมีอีกบางส่วนที่จะกำลังเตรียมตัวเพื่อที่จะศึกษาต่อในอนาคต เพราะว่าจากค่านิยมที่เราเห็นว่ายอดของเด็กนักศึกษาที่เรียนต่อในระดับปริญญาโทจะเป็นหลักสูตรเอ็มบีเอเยอะมาก ทุกมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนี้จะได้รับความนิยมจากเด็กกลุ่มนี้มาก มันก็เลยสะท้อนกลับว่าเด็กส่วนใหญ่ที่จบจากคณะพาณิชยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์จะมีการเรียนต่อค่อนข้างเยอะวัดจากจำนวนเด็กที่เรียนต่อในระดับปริญญาโท จึงทำให้เห็นว่าอัตราการว่างงานมันเริ่มสูงขึ้นเพราะว่าเด็กส่วนใหญ่คิดที่จะเรียนต่อเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการกลับไปทำงานในอนาคตค่อนข้างเยอะ ส่วนในกลุ่มที่พร้อมที่จะทำงานแล้วแต่ยังหางานที่เหมาะสมกับตัวเองไม่ได้นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน เพราะถ้ามองการเจริญเติบโตของเด็กสมัยนี้ เด็กทุกคนจะโตมาในสังคมเมืองซึ่งจะมีพ่อแม่เลี้ยงดูและมันก็เป็นค่านิยมของคนทั่วโลก ซึ่งเด็กสมัยใหม่จึงทำอะไรค่อนข้างช้าเพราะติดสบาย เนื่องจากโตมาจากการถูกดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่โดยที่ไม่ปล่อยให้ลูกทำเอง เรียนรู้เอง ซึ่งถ้าในเมืองนอกเด็กในประเทศออสเตรเลียที่ค่อนข้างโตแล้วอายุประมาณ 28 – 29 ปี ยังต้องใช้เงินสวัสดิการของทางรัฐบาลอยู่เลยเพราะว่าไม่ได้ทำงาน มันจึงเป็นค่านิยมที่ทำให้เด็กในเมืองนอกเลือกที่จะทำงานไม่เกิน 3 เดือนและลาออกเพื่อออกมาใช่เงินสวัสดิการของรัฐบาลตรงนี้ไปเรื่อยๆ “ ดร.สุทธิภัทร กล่าวทิ้งท้าย