"ละทิ้งศาสนาอิสลาม" ความผิดร้ายแรง บทลงโทษที่สามารถถูกประหารชีวิตได้

"ละทิ้งศาสนาอิสลาม" ความผิดร้ายแรง บทลงโทษที่สามารถถูกประหารชีวิตได้

"ละทิ้งศาสนาอิสลาม" ความผิดร้ายแรง บทลงโทษที่สามารถถูกประหารชีวิตได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง สำหรับกรณี ราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน (Rahaf Mohammed al-Qunun) สาวซาอุ หนีการแต่งงานและละทิ้งศาสนาอิสลาม มายังประเทศไทย และกลัวว่าจถูกส่งตัวกลับไปที่ประเทศของตนซึ่งอาจจะทำให้เธอถูกสังหารได้ ทำให้เราอยากจะนำเสนอถึงความเชื่อและหลักการปฏิบติของศาสนาอิสลามให้หลายๆ คนเข้าใจกันมากขึ้น

การละทิ้งศาสนาอิสลาม หรือ การสิ้นสภาพจากการเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม หมายถึงการที่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามได้ละทิ้งศาสนาอิสลามไปยึดมั่นในการปฏิเสธด้วยความเต็มใจ โดยสามารถเป็นการปฏิเสธทางกาย ทางจิตใจ หรือทางวาจากรณีนี้รวมถึงผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลาม อาจละทิ้งไปเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอื่น โดยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามโดยกำเนิด หรือผู้ที่เคยเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอิสลามมาก่อน โดยในปัจจุบัน ในประเทศอิสลามหลายประเทศ การละทิ้งศาสนาอิสลามถือว่าเป็นการกระทำที่บาป และผู้กระทำสามารถถูกประหารชีวิตได้

ความผิดฐานพ้นจากศาสนา

เมื่อมุสลิมละทิ้งศาสนาอิสลามจะมีความผิดฐานพ้นจากศาสนา ความผิดฐานพ้นจากศาสนาจะเกิดขึ้นกับมุสลิมเท่านั้น ไม่ว่าจะโดยการกระทำ เช่น การบูชาเจว็ด หรือดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ เป็นต้น หรือปฏิเสธความเชื่อ หรือไม่ยอมรับปฏิบัติตามหลักการอิสลาม เช่นความเชื่อในวันปรโลก (กิยามะฮ์) ไม่ยอมรับการละหมาด การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน หรือดูหมิ่นศาสนาอิสลามและหลักคำสอน หรือเชื่อในสิ่งที่ขัดกับหลักการอิสลาม เช่น เชื่อการเป็นนิรันดร์ของจักรวาลและเชื่อว่าจักรวาลนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แต่มุสลิมจะไม่พ้นจากศาสนาด้วยการปฏิบัติหรือมีความเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญตามหลักคำสอนของอิสลาม และมุสลิมจะไม่พ้นจากศาสนาในกรณีที่ปฏิเสธหรือเชื่อในประเด็นที่บรรดามัซฮับหรือสำนักคิดทางกฎหมาย อิสลามมีความเห็นแตกต่างกัน ดังนั้นนักกฎหมายอิสลามให้ทัศนะว่าจะต้องเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่พ้นจากศาสนาในการอธิบายความหมายของคำหรือประโยคที่เขาได้กล่าวออกมาและทำให้เขาพ้นจากศาสนาอิสลาม

ส่วนบทลงโทษฮัดของความผิดฐานพ้นจากศาสนาคือการประหารชีวิตหลังจากที่เปิดโอกาสให้แก่ผู้กระทำความผิดสำนึกบาป ดังที่นะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า "จงฆ่าผู้(มุสลิม) ที่ละทิ้งศาสนาของเขา" นักกฎหมายอิสลามส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่าการประหารชีวิตเป็นบทลงโทษของความผิดฐานพ้นจากศาสนาไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ส่วนนักกฎหมายอิสลามส่วนน้อยให้ทัศนะว่าผู้ที่พ้นจากศาสนาที่เป็นหญิงไม่ต้องรับโทษฮัด แต่นางจะถูกจำคุกหรือจนกว่าจะสำนึกผิด โดยอ้างหะดีษที่นะบีมุฮัมมัด สั่งมิให้ฆ่าหญิงที่มิใช่มุสลิมในระหว่างสงคราม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook