เกร็ดประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก 4 รัชกาล

เกร็ดประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก 4 รัชกาล

เกร็ดประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก 4 รัชกาล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกาศสำนักพระราชวังฯ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อเป็นของขวัญพระราชทาน แก่ปวงชนชาวไทย เพื่อเป็นสิริมงคล โดยพระราชทานห้วงเวลาพระราชพิธีฯ เป็นวันที่ 4 ถึง 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 ซึ่งพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ จะจัดขึ้นตามโบราณราชประเพณี

และนับว่าเป็น พิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 12 นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสถาปนากรุงรรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี (โดยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มีพิธีบรมราชภิเษก 2 ครั้ง เนื่องจากในครั้งแรกไม่ได้จัดเต็มตามโบราณราชประเพณี และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง เนื่องจากในครั้งแรกพระองค์ มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง)

ทั้งนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับพิธีบรมราชาภิเษกนั้น มีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและได้รับการบันทึกเอาไว้ในหนังสือหลายเล่มและในที่นี้จะขอหยิบยกเอา “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” หนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล และหนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดย ณัฎฐภัทร จันทวิช ให้คุณผู้อ่านได้รับรู้ถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ของพระราชพิธีสำคัญสำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

king_rama_v_crowned

เมื่อพระพระบาทสมเด็จมีพระ​ชนมายุครบ 20 พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 จึงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ขึ้น ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 (โดยพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งแรกนั้น มีขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ในเวลานั้น มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา)

โดยในครั้งนั้นจะมีพิธีเสด็จเลียบพระนคร ซึ่งหนังสือ “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชการที่ 5” พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมดำรงราชนุภาพฯ ได้ระบุถึงเส้นทางในพิธีเสด็จเลียบพระนครในพระราชพิธีครั้งนั้นเอาไว้ว่า “กระบวนพระยุหยาตราออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงโปรยเงินพระราชทานชาวพระนคร ประทักษิณพระบรมมหาราชวังไปทางถนนหน้าพระลาน ถนนสนามชัย หยุดกระบวนประทับที่วัดพระเชตุพน เมื่อเสด็จนมัสการพระในพระอุโบสถเสร็จแล้วเคลื่อนกระบวนแห่ไปทางถนนท้ายวัง เลี้ยวเข้าประตูสุนทรพิศาลทิศา ออกประตูพิทักษบวรสกัดเหนือ เลี้ยงถนนหน้าพระลาน มากลับเข้าประตูวิเศษไชยศรี เสด็จกลับขึ้นเกยพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์เป็นเสร็จการเลียบพระนคร”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

20141008_110613

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 เรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร” ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีอย่างย่อสั้น โดยภายหลัง จากงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงผ่านพ้นไปจึงโปรดให้จัดครั้งที่สองขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช” เป็นพระราชพิธีที่จัดตามโบราณราชประเพณี ประกอบด้วยการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทั้งโดยสถลมารคและชลมารค การครั้งนี้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญผู้แทนพระราชาธิบดีและประธานาธิบดีจากมิตรประเทศต่าง ๆ ให้เสด็จมาร่วมในงานพระราชพิธีครั้งนี้กว่าสิบประเทศ นับเป็นพระเกียรติยศแก่พระมหากษัตริย์สยามอย่างยิ่งครั้งแรกในประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ ในหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” เขียนโดย หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้ระบุถึงการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเอาไว้ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จเสวยราชย์ในเวลาที่มีรถไฟ เรือไฟ รถยนต์ใช้แล้วมากมาย เครื่องยนต์ไปทางไหน, ช้างโขลงซึ่งมีอยู่ใกล้ ๆ ก็เปิดหนีออกไปไกลเข้าทุกที จนแม้แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงพระราชปรารภไว้ในพระราชหัตถ์ที่ทรงมีถึงเสด็จพ่อว่า ไม่นึกว่าจะได้ช้างเผือกเลย แต่พอเสวยราชย์ได้ไม่ถึงปีก็ได้ช้างเผือก 1 เชือกในแขวงมณฑลนครสวรรค์นี้เอง และทรงได้ช้างสีประหลาดอีกหนึ่งเชือก”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

1024px-royal_portraits_-_004_

พิธีบรมราชภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำหนดให้พระราชพิธีมีขึ้น ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 พร้อมกันนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งนับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ซึ่งพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนั้นได้ถูกเล่าผ่านหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น” เอาไว้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2468 ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณตามขัตติยราชประเพณี…. เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระราชพิธีนี้โดยแจ้งชัด เพราะมีตำแหน่งเฝ้าตามยศตราและมีอายุพอทจะเข้าใจพระราชพิธีได้ถูกต้อง จึงรู้สึกว่าเป็นบุญนักที่ได้เห็นตั้งแต่ทรงมุรธาภิเษสนาน, ทรงรับพระมหามงกุฎ, เสด็จประทับบนราชบัลลังก์ตั้งแต่ก่อนเปิดพระวิสูตรทองออกให้ข้าราชการฝ่ายหน้าเฝ้าในพระที่นั่งอมรินทร์ฯ แล้วเสด็จขึ้นบนพระที่นั่งไพศาลทักษิณให้ฝ่ายในเฝ้า”

“พอเสร็จงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ได้ข่าวเรื่องช้างเผือก ด้วยบริษัทบอมเบย์เบอม่า ส่งโทรเลขมากราบทูลว่า บัดนี้ช้างลากไม้ของบริษัทตกลูกออกมาเป็นสีประหลาดจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมชนบาลขึ้นไปดูที่เมืองเชียงใหม่ ได้ความว่าเป็นช้างเผือกตัวผู้ต้องตามลักษณะด้วยประการทั้งปวง”

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

800px-king_rama_ix_being_pres

พระราชพิธีบรมราชภิเษกของรัชกาลที่ 9 จากหนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดย ณัฎฐภัทร จันทวิช ได้ระบุเอาไว้ว่า นั้นเริ่มพระราชพิธีในวันที่ 4 – 8 พฤษภาคม

โดยในวันที่ 4 พฤษภาคม 2493 นั้นเป็นพิธีแห่ดวงจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปประดิษฐานในพระที่นั่งไพศาล ทักษิณ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมายังพระบรมมหาราชวัง เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระทวารเทเวศรักษา ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ทรงเป็นประธานในพิธีประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 5 เป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอักษรการอาลักษณ์อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีให้ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook