"ครูเพศที่สาม" ทำไมสังคมไทยควรให้ความเท่าเทียมกับคนกลุ่มนี้ได้แล้ว

"ครูเพศที่สาม" ทำไมสังคมไทยควรให้ความเท่าเทียมกับคนกลุ่มนี้ได้แล้ว

"ครูเพศที่สาม" ทำไมสังคมไทยควรให้ความเท่าเทียมกับคนกลุ่มนี้ได้แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากบนโลกโซเชียลมีการแชร์ความคิดเห็นว่า “เพศที่สามสามารถเป็นครูได้ไหม?” ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย เราจึงอยากนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับเพศที่สาม และบทบาทความเป็นครู ว่าแท้จริงแล้วผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ครูนั้น ความสำคัญอยู่ที่อัตลักษณ์ทางเพศ หรือบทบาทหน้าที่แห่งความเป็นครู

ย้อนกลับไปในระบบการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตไม่ว่าจะเป็นการเรียน ตลอดถึงเรื่องนาฏศิลป์ การแสดงทั้งในวัดหรือในวัง ต่างยกสิทธิให้กับเพศชายเป็นหลัก ส่วนฝั่งผู้หญิงนั้นไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก กระทั่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ผู้หญิงจึงมีบทบาทในการศึกษา อาชีพต่างๆ รวมถึงมีความเสมอภาค ตามกฎหมายในปีพ.ศ. 2479 จากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

istock-930401244

ถ้าเรามองในมุมการให้ความยอมรับว่าผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชาย ในยุคสมัยนั้นก็เหมือนกันกับการให้ความยอมรับกับเพศที่สามในสังคมสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นครู รับราชการ หรือประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม เนื่องจากยุคสมัยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และผู้คนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคมากขึ้น เพราะหากเรา "เข้าใจ" ถึงการเปลี่ยนแปลง ความหลากหลายทางเพศสภาพ มันจะไม่มีคำว่า "ยอมรับ" แต่จะกลายเป็นคำว่า "เท่าเทียม" แทน

เราจึงควรมองคุณค่าของความเป็นครูที่ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ การเป็นแบบอย่างด้านความประพฤติให้กับนักเรียน นักศึกษา มากกว่าการมองว่าครูควรหรือไม่ควรเป็นเพศอะไร เพราะการให้เกียรติกับทุกคน ทุกเพศ และเข้าใจถึงความเท่าเทียมซึ่งกันและกัน ถือเป็นเรื่องดีต่อเยาวชน และคนรุ่นใหม่ที่จะได้เรียนรู้เรื่องการยอมรับ การสร้างความเข้าใจกับผู้อื่นเพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม

istock-930401718

หรือแม้แต่ความกังวลว่า เด็กๆ จะลอกเลียนพฤติกรรมของครูเพศที่สามและทำให้เด็กเบี่ยงเบนนั้นคงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องนัก เพราะเรื่องของความเป็นเพศใดนั้นอยู่ภายในจิตใจ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือลอกเลียนแบบจากอิทธิพลภายนอก

อย่างที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่ายุคสมัยเปลี่ยน ความคิดของคนและพฤติกรรมของคนก็เปลี่ยนไป ดังนั้นเราก็ควรที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองตามยุคสมัยด้วย เพื่อการที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขและเคารพซึ่งกันและกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook