นศ.ฝึกงาน vs นายจ้าง ปรับมุมมองเพื่อ “วินวิน”

นศ.ฝึกงาน vs นายจ้าง ปรับมุมมองเพื่อ “วินวิน”

นศ.ฝึกงาน vs นายจ้าง ปรับมุมมองเพื่อ “วินวิน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดราม่า นักศึกษาฝึกงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นน่าจะยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้น เพราะ เป็นการมองแบบคนละมุมระหว่าง นักศึกษา และ บริษัทที่รับนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน เมื่อทางนักศึกษาฝึกงานต้องการใช้เวลา 3 เดือนในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาที่ตนเองเรียนมาเพื่อพัฒนาตนเอง และ นำไปเป็นคุณสมบัติที่ใช้ในการสมัครงานหลังจากเรียนจบ

ส่วนผู้ประกอบการหรือ บริษัทที่รับนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน ก็มองว่า นักศึกษาฝึกงานยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเลย จึงยังไม่อยากมอบหมายงานให้ทำงาน และส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้งานเล็กน้อยๆของออฟฟิศ ซึ่งบรรดานักศึกษาต่างมองว่างานดังกล่าวทำให้พวกเขาไม่ได้ประสบการณ์ที่ดีพอ เมื่อเป็นแบบนี้แล้วเรามาดูกันก่อนว่า ทำไมถึงต้องให้นักศึกษาออกไปฝึกงาน

  • เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงาน และ ได้เรียนรู้ว่าสายวิชาที่เรียนมานั้นเมื่อต้องมาทำงานจริง จะต้องปรับตัวเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง
  • เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ชีวิตการทำงาน เพราะชีวิตในมหาวิทยาลัย กับ การทำงานในชีวิตจริงนั้นแตกต่างกันเริ่มตั้งแต่ เวลาเข้างานที่ต้องตรงเวลา การทำงานที่ต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนด ได้รู้จักปรับตัวเมื่อต้องอยู่กับคนที่มาจากหลายที่และมีความแตกต่างในการใช้ชีวิต รวมไปถึงการได้เห็นว่า อาชีพที่เราเลือกจะใช้ในการดำรงชีวิตนั้นมีเส้นทางและโอกาสที่จะสร้างความก้าวหน้าได้อย่างไร
  • การฝึกงานไม่ใช่แค่การเข้าไปเพื่อหวังจะได้ทักษะของงานตามสายวิชาที่เรียนมาเท่านั้น แต่ การฝึกงานยังทำให้เราได้รู้จักวิธีการติดต่อ หรือ ระบบเอกสารภายในสำนักงาน รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ที่ไปฝึกงาน

เมื่อเห็นวัตถุประสงค์ ของนักศึกษาฝึกงานกันแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่า การส่งนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน และบริษัทที่รับนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน ควรจะมีการประสานความต้องการกันแบบไหน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่าย โดยรายละเอียดที่นำเสนอนี้ มาจากนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ซึ่งระบุว่า

  • มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จะให้นักศึกษาฝึกงานตอนปิดเทอมปี 3 ภาคการเรียนที่ 2 ระยะเวลา 2 เดือนครึ่ง (แต่มีข้อกำหนดว่า ห้ามไปฝึกในบริษัทเดียวกันกับเพื่อนเกิน 3 คน) ซึ่งนักศึกษาจะต้องดำเนินการและติดต่อหาที่ฝึกงานเอง โดยยื่นเป็น Resume ไปแต่ละบริษัทที่ตัวเองสนใจ เมื่อบริษัทนั้นยินดีรับเข้าฝึกงาน นักศึกษาจะต้องพูดคุยกับหัวหน้างานของบริษัทดังกล่าวก่อน ว่าเขาจะให้เราทำตำแหน่งใด แล้วค่อยเอาข้อมูลนั้นไปบอกกับอาจารย์หัวหน้าภาควิชา ว่าเราได้ที่ฝึกงานแล้ว เป็นบริษัทไหน ตำแหน่งอะไร เป็นต้น

ทั้งนี้อาจารย์หัวหน้าภาควิชาจะมีการพิจารณาด้วยว่า จะอนุญาตให้ไปฝึกได้หรือไม่ เพราะหากเป็นบริษัทที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือเกรงว่านักศึกษาจะไม่ได้อะไรกลับมา อาจารย์หัวหน้าภาควิชาก็จะไม่อนุญาตให้ไป และไม่ออกจดหมายขอฝึกงานให้ (ซึ่งนักศึกษาก็ต้องหาที่ใหม่) แต่ถ้าอาจารย์หัวหน้าภาควิชาอนุญาต เราก็เอาจดหมายไปยื่นที่บริษัทได้เลย (จดหมายจะมีทั้งใบขออนุญาตฝึกงาน ใบเซ็นเวลาชั่วโมงฝึกงาน และใบประเมินผ่านฝึกงาน)

เมื่อนักศึกษาได้เข้าไปฝึกงานในบริษัทที่เปิดโอกาสเพื่อให้เข้าไปหาประสบการณ์แล้ว สิ่งที่นักศึกษาควรทำคือการรักษาเวลา แต่งกายสุภาพ และ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ ในสังคมการทำงาน นักศึกษาหลายคนเมื่อต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาฝึกงาน มักจะไม่ค่อยพอใจที่ถูกใช้ให้ไปทำงานเอกสาร หรือ ทำงานในลักษณะที่เป็น “เบ๊” ออฟฟิศ และไม่มีงานที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน เนื่องจากทางบริษัทที่รับนักศึกษาเข้าไปฝึกงานส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่านักศึกษาเหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง และ เกรงว่าถ้าให้นักศึกษาฝึกงานเข้าไปรับผิดชอบงานจะเกิดความผิดพลาด

วิธีการแก้ไขเรื่องดังกล่าว คือการประสานความต้องการของนักศึกษา และ สถานประกอบการ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่คอยเชื่อมต่อ ในการให้ข้อมูลแก่นักศึกษาว่าบริษัทที่พวกเขาเลือกไปฝึกงานนั้น จะทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำงานอย่างไรบ้าง และ อาจารย์ที่ปรึกษาก็สามารถให้ข้อมูลกับสถานประกอบการได้ว่า นักศึกษาที่ถูกส่งเข้ามาฝึกงานนั้นมีความสามารถในด้านใด เพื่อให้สถานประกอบการนั้นได้รู้คุณสมบัติของนักศึกษา และ เปิดโอกาสให้ทำงานตามความสามารถ

แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีนักศึกษาบางรายที่มีโอกาสได้เข้าไปฝึกงานในจังหวะที่ทาง บริษัทต้องการคนทำงานพอดี อย่างประสบการณ์ของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ที่ Tonkit360 ได้มีโอกาสพูดคุย ซึ่งเขาได้เล่าประสบการณ์ว่า “เข้าไปฝึกงานในบริษัทโฆษณาในตำแหน่ง Creative แล้วปรากฏว่าพนักงานที่ทำงานอยู่เดิมลาออกไป ทำให้นักศึกษาฝึกงานรายดังกล่าวได้รับมอบหมายให้ทำงานดังในตำแหน่งนั้นทันที แม้จะไม่มีประสบการณ์ แต่เขาก็ได้เรียนรู้การทำงานในสาขาวิชาที่เรียนมาและ ได้ ทำให้เขาได้เรียนรู้ที่จะใช้งานการใช้โปรแกรม Photoshop, Illustrator และ Premiere Pro จนสามารถนำมาใช้ได้จริงเมื่อออกมาทำงาน”

ทั้งหมดนี้คือมุมมองจากทั้งนักศึกษาที่ได้ผ่านการฝึกงานมาแล้ว และ บริษัทที่รับนักศึกษาฝึกงาน และจากมุมมองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากมีการประสานความต้องการจากทั้งสองฝ่ายให้ตรงกัน จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตลาดแรงงาน เริ่มจากบริษัทได้รับข้อมูลนักศึกษาฝึกงานจากสถานศึกษาอย่างชัดเจน ใช้งานนักศึกษาได้ตรงความสามารถ โอกาสที่นักศึกษาจะเกิดพัฒนาในช่วงเวลา 3 เดือนก็มีไม่น้อย (เพราะในช่วงเวลาสามเดือนก็เท่ากับช่วงทดลองงาน)

และถ้านักศึกษาสามารถแสดงศักยภาพ และ พัฒนาการของเขาให้เห็นอย่างชัดเจน ก็อาจทำให้องค์กรได้รับคนทำงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานได้เลยทันที โดยไม่ต้องเสียเวลา และ งบประมาณในการ Recruit พนักงานใหม่ขณะที่ นักศึกษาฝึกงานก็ได้ใช้โอกาสในการฝึกงานของตนเองได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook