"ลูกแม่โดม" มาหาคำตอบกัน ทำไมต้องเรียกเด็กธรรมศาสตร์ ด้วยชื่อนี้

"ลูกแม่โดม" มาหาคำตอบกัน ทำไมต้องเรียกเด็กธรรมศาสตร์ ด้วยชื่อนี้

"ลูกแม่โดม" มาหาคำตอบกัน ทำไมต้องเรียกเด็กธรรมศาสตร์ ด้วยชื่อนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"แม่โดม" เป็นชื่อที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกตึกโดม ที่มีลักษณะเป็นยอดแหลมหกเหลี่ยม มีความหมายถึงยอดดินสอ ที่แหลมคมดุจปัญญาที่หลักแหลม ชี้ขึ้นไปยังท้องฟ้า คอยเขียนฟ้าให้งามเสมอ

ซึ่งแม่โดมเป็นความภาคภูมิใจของชาวธรรมศาสตร์ และเป็นเหมือนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนั้นชาวธรรมศาสตร์จึงเรียกตนเองว่า "ลูกแม่โดม" นั่นเอง

800px-dome_building,_thammasa

ทำความรู้จักตึกโดม

ตึกโดม หรือ แม่โดม (ชื่อที่นิยมเรียกอย่างเคารพของบุคคลภายในมหาวิทยาลัย) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการเดิม อาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาคารทรงโดมยอดแหลม วางซ้อนตัวกัน 2 ชั้น ได้รับการออกแบบโดย นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ด้วยการเชื่อมต่ออาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม เข้าเป็นตึกเดียวกัน โดยจุดเชื่อมตรงกลางระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ได้ออกแบบให้มีลักษณะโดนเด่น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ให้แนวคิด เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะที่โดดเด่น ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่นแต่อย่างใด

ตึกโดมในปัจจุบัน คงเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เท่านั้น เนื่องได้มีการทุบตึกฝั่งเหนือและใต้ออกเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด (หอสมุดปรีดี พนมยงค์) และอาคารเอนกประสงค์

ตัวหลังคาตึกโดมเป็นรูปทรงกรวยยอดแหลม 2 ชั้น มีความหมายดังนี้

  • ฐานของกรวยเป็น 8 เหลี่ยม ยังไม่สามารถระบุความหมายของสถาปนิกผู้ออกแบบได้ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจว่ามี 6 เหลี่ยม ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร
  • ยอดแหลม หมายถึง การบรรลุความปรารถนาสูงสุด
  • อาคารสองปีกด้านท่าพระจันทร์และด้านท่าพระอาทิตย์ หมายถึงการศึกษาที่แผ่ขยายวงกว้างในหมู่ราษฎร

แต่อีกนัยหนึ่ง โดม หมายถึง ดินสอเขียนฟ้า นั่นคือ โดมเปรียบประดุจดินสอ ที่ใช้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ มากมายลงบนท้องฟ้า

img13

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธรรมจักร

เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยตราธรรมจักรนี้มี 12 แฉก อันหมายถึง อริยสัจ 4 ซึ่งวนอยู่ในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ และมีพานรัฐธรรมนูญอยู่ตรงกลาง อันหมายถึงการยึดมั่นและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย

เพลงประจำมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ทำนองมอญดูดาว)

เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยเพลงแรก ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา เมื่อ พ.ศ. 2478

สีเหลืองแดง

เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังปรากฏในเนื้อเพลง "เพลงประจำมหาวิทยาลัย" (มอญดูดาว) ที่ว่า "เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้" มีความหมายถึง ความสำนึกในความเป็นธรรมและความเสียสละเพื่อสังคม นับเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้ง คือ พ.ศ. 2477

เพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ (ยูงทอง)

เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2504 ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จมาทรงดนตรี ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร ภายในพระราชวังดุสิต พระองค์รับสั่งว่าจะทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยพระราชทานให้แก่นักศึกษาธรรมศาสตร์

จนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทรงบรรเลงทำนองเพลงที่จะพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยด้วย โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 36 มีนายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง และยกร่างโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

หางนกยูงฝรั่ง

เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงปลูกไว้บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่จำนวน 5 ต้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เวลา 14:30 นาฬิกา พร้อมกับพระราชทานให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดอกมีสีเหลือง–แดง สัมพันธ์กับสีประจำมหาวิทยาลัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook