มหิดลปลื้ม 7 หลักสูตรได้รับรองคุณภาพระดับอาเซียน รับดีมานด์แรงงานอาเซียน
มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรายชื่อ 7 หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต . หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบริการนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาดคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) ทั้งนี้การรับรองดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำการศึกษาของไทยสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าทั้งนี้การรับรองดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำการศึกษาของไทยสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยปัจจุบันมหิดลดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาผ่านกรอบมาตรฐานจำนวนมาก อาทิ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance: IQA) และการประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ใช้เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) รวมถึงการใช้เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสาขาอื่นๆ เช่น WFME, AACSB, ABET, MUSIQUE, TedQual เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานทั้งในระดับประเทศและในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างบุคลากรให้สามารถ ประกอบอาชีพได้ สร้างนวัตกรรมเป็น