อย่าปล่อยภาษาให้หายไปตามกาลเวลา 'Wikitongues' ช่วยปลุกชีพภาษาที่สาบสูญ

อย่าปล่อยภาษาให้หายไปตามกาลเวลา 'Wikitongues' ช่วยปลุกชีพภาษาที่สาบสูญ

อย่าปล่อยภาษาให้หายไปตามกาลเวลา 'Wikitongues' ช่วยปลุกชีพภาษาที่สาบสูญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Wikitongues ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาพื้นเมืองต่างๆ ทำให้โลกมีสีสันและความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น

รายงานเรื่องภาษาที่สูญหายไป ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่าทั่วโลกมีการพูดภาษาถึง 6,000 ภาษา และเกือบครึ่งหนึ่งเป็นภาษาที่ใกล้จะสูญหาย

หนึ่งในนั้นคือภาษา Bantu ของ Theron Musuweu Kolokwe ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของ Subiya ที่มีคนพูดมากกว่า 30,000 คน ตามแนวแม่น้ำ Zambezi ในนามิเบีย แซมเบีย และบอตสวานา

Kolokwe เล่าว่าเขาเกิดมาพร้อมกับภาษานี้ คิดเป็นภาษานี้ ฝันก็เป็นภาษานี้ เขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากพูดภาษาของตัวเอง

Kolokwe ชายหนุ่มวัย 33 ปีก็เหมือนกับคนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาคนอื่นๆ ใน Windhoek ที่พูดภาษาอื่นๆ ได้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาแอฟริกัน

เมื่อสองปีก่อน Kolokwe เริ่มบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ใน Subiya
โดยที่ได้แนวคิดนี้มาจากตอนที่กำลังดู YouTube ซึ่งเป็นวีดีโอของใครคนหนึ่งกำลังพูดภาษาสำเนียงท้องถิ่นของตน ทำให้เขาคิดว่า ตนเองก็อยากจะได้ยินสำเนียงของตัวเอง และอยากได้ยินภาษาต่างๆ จากประเทศของเขาเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบแอฟริกาใต้

Kolokwe เป็นหนึ่งในอาสาสมัครหลายสิบคนที่ร่วมงานกับ Wikitongues ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในนครนิวยอร์ก ที่คอยให้ความช่วยเหลือผู้คนจากทั่วโลกในการอนุรักษ์ภาษาพื้นเมืองที่หายสาบสูญไป

Daniel Borge Udell ผู้ร่วมก่อตั้ง Wikitongues กล่าวว่า เมื่อภาษาสูญหายไป วัฒนธรรมก็จะหายไป และชุมชนก็สูญเสียเอกลักษณ์ไปด้วยสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนคาดไม่ถึง

กลุ่มอาสาสมัครเริ่มก่อตัวขึ้นในปีพ.ศ. 2559 ซึ่งทำเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลออนไลน์แบบเปิดของทุกๆ ภาษาในโลก มีอาสาสมัครเกือบ 1,000
คนส่งวิดีโอในกว่า 400 ภาษา และอ่านสำเนียงภาษาถิ่นในช่อง Wikitongues ของ YouTube

ภาษาอังกฤษ ฟาร์ซี และแมนดาริน มีคนพูดกันหลายร้อยล้านคน ส่วนภาษาอื่นๆ ที่ไม่คุ้น เช่น ภาษาโบร่า จะมีคนพูดเพียงสองถึงสามพันคนในภูมิภาคแอมะซอนของเปรู และโคลัมเบีย

การทำงานของ Wikitongues นั้นเรียบง่ายและชัดเจน คือการจัดหาเครื่องมือและการสนับสนุนผู้คนที่ต้องการจะอนุรักษ์ภาษาของตนไว้

Wikitongues ยังเป็นที่ซึ่งอาสาสมัครจากทั่วโลกสามารถได้รับแรงบันดาลใจ จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการทำให้ภาษาพื้นเมืองที่สูญหายไปแล้วนั้นกลับฟื้นคืนชีพมาใหม่ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ อย่างเช่น
ภาษาฮิบรู เป็นต้น

Udell กล่าวว่า ภาษาฮิบรูหายสาบสูญไปในศตวรรษที่ 4 และได้รับการฟื้นฟูในปี 1800 และตอนนี้ก็กลายเป็นภาษาแม่ของประชากรชาวยิวครึ่งหนึ่งของโลกไปแล้ว

เรื่องราวความสำเร็จในการฟื้นฟูดังกล่าว ทำให้อาสาสมัครอย่าง Theron Musuweu Kolokwe หวังว่าความพยายามของเขาสามารถช่วย Subiya และภาษาแอฟริกันอื่นๆ จากการหายสาบสูญไป

เป้าหมายของเขาก็คือ การสร้างพจนานุกรมและหลักสูตรเพื่อให้สามารถนำไปสอนในโรงเรียนได้

Kolokwe อยากส่งเสริมให้โลกได้รู้เกี่ยวกับภาษา Bantu ให้คนรุ่นใหม่สามารถพูดภาษานี้ได้อย่างคล่องแคล่ว และให้เด็กๆ มีความภาคภูมิใจในภาษาท้องถิ่นของตน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook