The 21st Century Skills “ทักษะสำคัญ ก้าวทันโลกอนาคต”

The 21st Century Skills “ทักษะสำคัญ ก้าวทันโลกอนาคต”

The  21st Century Skills  “ทักษะสำคัญ ก้าวทันโลกอนาคต”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โลกศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว วิชาการ ความรู้ ทักษะสำคัญในการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต ก็เปลี่ยนเร็วเช่นกัน เราจึงต้องหมั่นเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อให้ทันโลก โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษา ห้วงเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นโอกาสทองในการศึกษาวิชาการสาขาต่างๆ ฝึกฝนทักษะเชิงวิชาชีพให้เชี่ยวชาญ และร่วมกิจกรรมทางสังคมในมหาวิทยาลัยและสังคม ที่มีส่วนสร้างบุคลิกและอุปนิสัยของตน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนสำคัญสำหรับชีวิตและการงานในยุค 4.0

“ทักษะสำคัญใดบ้าง ที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ?” ศิษย์เก่าจุฬาฯ ที่ปัจจุบันเป็นผู้นำระดับสูงในองค์กรต่างๆ ได้ส่งเสียงมาบอกรุ่นน้อง เพื่อให้หมั่นฝึกฝนตัวเองให้พร้อมเสียแต่วันนี้!

ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา
นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยฯ

 647041

“องค์กรต้องการบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูง เป็นทั้งคนเก่งและคนดี บัณฑิตจุฬาฯ รุ่นใหม่ต้องมี Growth Mindsets ในการพัฒนาความสามารถให้สูงอยู่เสมอ เพราะโลกปัจจุบันและอนาคตเป็นยุคของ Disruptive Economy ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คนที่แสดงออกถึงความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและกระตือรือร้นในการเรียนรู้เป็นคนที่องค์กรต้องการ ไม่ใช่แค่เพียงเกรดเฉลี่ย เพราะเกรดเฉลี่ยวัดแค่ความรับผิดชอบ ที่สำคัญกว่านั้นคือมีทัศนคติที่ดี มองปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และใช้ปัญหาในการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้”

อุดมธิปก ไพรเกษตร
นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย อุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

906816

“คนทำงานในองค์กรต่างๆ จะน้อยลง เพราะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้แต่ละคนต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน ซึ่งต้องรู้แบบเจาะลึก และสื่อสารทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่เสมอ ดังนั้น ทักษะอนาคตที่จำเป็นคือ ทักษะในการพูดและเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดี และรู้ภาษาอื่นๆ เพิ่มเติม ทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ที่เข้ากับการทำงาน และทักษะการบริหารจัดการงาน เงิน และคน ภายใต้เงื่อนไขที่มีทรัพยากรและเวลาที่จำกัด”

ดร.พิมพ์พันธุ์ ศรีพิพิธ
นิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์และคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
นักพัฒนาธุรกิจอาวุโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

288354

“ทักษะที่จำเป็นคือ ทักษะในการคิด วิเคราะห์ และจับประเด็น ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจช่วยมนุษย์ได้หลายอย่าง แต่การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการตัดสินใจโดยใช้วิจารณญาณ ยังเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสมองของมนุษย์ ในส่วนของทักษะทางอารมณ์ นิสิตควรมีความสามารถในการทำความเข้าใจเชิงลึกกับความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของคนอื่น ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก การมองโลกจากมุมของคนอื่น เพื่อที่จะสามารถเข้าใจว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไร ถือเป็นทักษะพิเศษและเฉพาะตัวของมนุษย์ ที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้”

หทัยพร เจียมประเสริฐ
นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

394896

“ทักษะในอนาคตที่องค์กรยุคใหม่ต้องการคงหนีไม่พ้น Critical Thinking หรือกระบวนการคิดจากข้อมูลและหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในสภาวการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามความเป็นจริง มีความรู้เรื่องข้อมูลและการสื่อสารที่ทั่วถึงผ่าน Social Network มีความฉลาดในการจัดการทางอารมณ์ หรือ EQ เรียนรู้วิธีทำความเข้าใจผู้อื่นอย่างเข้าอกเข้าใจ เพื่อสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
กรรมการผู้จัดการ บริษัทดอทส์ คอนซัลแตนซี่ จำกัด

645379

“ธุรกิจต่างๆ จะเริ่มมองหาคนที่เป็น Talent ซึ่งมาพร้อมกับทักษะที่ผสมกันทั้ง Soft Skill คือทักษะพื้นฐานเช่น การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และHard Skill คือทักษะเฉพาะทางในการทำงานต่างๆ รวมถึงทักษะใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาจากเทคโนโลยี เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การคิดเชิงกลยุทธ์ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน หากใครมีทักษะเหล่านี้ก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook