"ตราครุฑ" ความหมายของตราแผ่นดินของไทย ทั้ง 2 แบบ

"ตราครุฑ" ความหมายของตราแผ่นดินของไทย ทั้ง 2 แบบ

"ตราครุฑ" ความหมายของตราแผ่นดินของไทย ทั้ง 2 แบบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตราครุฑ หรือ ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453

โดยตราครุฑ เริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เลิกใช้ชั่วคราวในสมัยรัชกาลที่ 5 การใช้จะประทับหรือพิมพ์ในเอกสารของทางราชการ เช่น ราชกิจจานุเบกษา หนังสือโต้ตอบ กฎกระทรวง ฯลฯ ยกเว้นที่หัวพระราชบัญญัติ พระบรมราชโองการ หรือคำสั่งอื่น ๆ ในองค์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ จะใช้พระราชลัญจกรบรมราชโองการแทน

ตราครุฑ ในหนังสือราชการไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

แบบแรก ครุฑเท้าตั้งหรือครุฑดุน

600px-emblem_of_thailand.svg

 

แบบที่สอง ครุฑเท้าเหยียดตรง

825px-garuda_emblem_of_thaila

 

การใช้ตราครุฑในหนังสือราชการไทย

ตราครุฑเท้าตั้งหรือครุฑดุล จะใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น

โดยจะใช้เป็นตราราชการของกรมราชองครักษ์ และหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงใช้บนหน้าปกราชกิจจานุเบกษาและหนังสือเดินทาง

ครุฑเท้าเหยียดตรง ใช้ในหนังสือราชการปกติ

page

สามารถแบ่งได้อีก 2 แบบ ถ้าใช้ในหนังสือราชการภายนอก จะใช้ขนาดสูง 3 เซนติเมตร ถ้าใช้ในหนังสือราชการภายใน จะใช้ขนาดสูง 1.5 เซนติเมตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook