เปิดประวัติ "โรงเรียนจิตรลดา" โรงเรียนเอกชนคุณภาพ บริเวณพระราชวังดุสิต

เปิดประวัติ "โรงเรียนจิตรลดา" โรงเรียนเอกชนคุณภาพ บริเวณพระราชวังดุสิต

เปิดประวัติ "โรงเรียนจิตรลดา" โรงเรียนเอกชนคุณภาพ บริเวณพระราชวังดุสิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรงเรียนจิตรลดา เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งขึ้นในบริเวณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียน

13903425_528539530683377_4887

โดย โรงเรียนจิตรลดา ก่อตั้งวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 อักษรย่อ CD ตั้งอยู่ที่ บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถ.ราชวิถี แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้โรงเรียนจิตรลดาได้ดำเนินงานมาโดยตลอด ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์บริหาร โรงเรียนจึงได้รับสนองพระราโชบายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาในขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระราโชบายมาบริหารและดำเนินการ

_display(1)-tile

ประวัติโรงเรียนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 เนื่องด้วยขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เจริญพระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียน โดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวาย ฯ การสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา

banner

จากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ หรือ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก 4 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้โปรดเกล้า ฯ ให้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่งคือ นางสาวอังกาบ ประนิช (ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนอนุบาล 2 ระดับ ระดับละ 8 คน

15418383_579124572291539_8787

ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการถาวร จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนจิตรลดา" และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2501 เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2507 ได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีการศึกษา 2511 ได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยรับนักเรียนทั่วไป ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนโดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ ตามพระบรมราโชวาท “ให้โรงเรียนรับนักเรียนทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์

เจ้านายศิษย์จิตรลดา

  • ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เลขประจำพระองค์ 1 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 1
  • พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เลขประจำพระองค์ 9 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 2
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เลขประจำพระองค์ 28 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 3
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เลขประจำพระองค์ 52 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 5
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เลขประจำพระองค์ 64 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 5
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เลขประจำพระองค์ 920 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 27
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เลขประจำพระองค์ 1334 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 31
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เลขประจำพระองค์ 1538 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 32
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เลขประจำพระองค์ 2282 นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 35
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook