เก่งแค่อย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะโลกยุคใหม่ตามหา คนเก่งแบบ BE 1 in a million

เก่งแค่อย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะโลกยุคใหม่ตามหา คนเก่งแบบ BE 1 in a million

เก่งแค่อย่างเดียวอาจไม่พอ  เพราะโลกยุคใหม่ตามหา คนเก่งแบบ BE 1 in a million
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคที่เทคโนโลยี AI (artificial intelligence) มีศักยภาพมากกว่ามนุษย์ถึง 30,000 เท่า มีความเป็นไปได้ว่าอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามาแทนที่ทักษะเดิม ๆ ที่มนุษย์เคยมี จึงไม่แปลกใจที่ตลาดแรงงานกำลังมองหาคนที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญมากกว่าหนึ่งด้าน ซึ่งยังต้องเป็นทักษะที่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ไม่ได้ง่ายๆ เช่นกัน

academic-professor-teaching-a

แนวคิดการพัฒนาเด็กในเจเนอเรชั่น Z ให้เก่ง เป็น BE 1 in a million (หนึ่งในล้าน) จึงมีความสำคัญในยุคนี้ โดยการเป็นคนเก่งแบบหนึ่งในล้านนั้น การเป็นที่สุดในด้านต่าง ๆ รวมกัน 3 ด้าน อาทิ หากเราเริ่มจากการเป็นที่ 1 ของคน 100 คนก่อน ในด้านที่ต่างกันออกไป 3 ด้าน ก็จะทำให้เราสามารถเป็น 1 ในล้านได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เราทำอาหารไทยเก่งเป็นที่ 1 ของคน 100 คน และมีความสามารถในการถ่ายรูปสวยเป็นที่ 1 ของคน 100 คน ทั้งยังสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นที่ 1 ของคน 100 คน” เราอาจกลายเป็น Influencer ด้านอาหาร หรือเป็น Food Stylish ที่เป็น 1 in a million ได้ ซึ่งการเป็นคนเก่งแบบหนึ่งในล้านนี้ย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลให้กับเด็กไทยในอนาคต เพราะทักษะที่โดดเด่นเฉพาะตัวนี้เองที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกได้

ตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับบุคคลที่มีทักษะแบบหนึ่งในล้าน คือ Robert Lang ผู้เรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัย Stanford จบปริญญาเอกจาก Caltech ทั้งสองมหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและเรียนยากที่สุดลำดับต้น ๆ ของโลก หลังเรียนจบเขาทำงานเป็นนักฟิสิกส์ของนาซ่าทำงานวิจัยด้านฟิสิกส์ที่ซับซ้อน จนกระทั่งปี 2001 โรเบิร์ตลาออกจากงานที่นาซ่า เพื่อไปทำตามความฝันที่เขาหลงไหลตั้งแต่ตอนเด็ก นั่นก็คือ การเป็นศิลปินพับกระดาษแบบญี่ปุ่น หรือ Origami เพื่อจัดแสดงในงานศิลปะทั่วโลก

robots-arm-working-with-virtu

แต่วันหนึ่งเส้นทางสายนักประดิษฐ์และนักวิจัยของโรเบิร์ตที่ดูเหมือนเป็นเส้นขนานกับทางสายศิลปินนั้นกลับมาบรรจบกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเขาปฏิวัติวงการ origami ด้วยการผนวกศิลปะ เข้ากับ คณิตศาสตร์ เพราะเขาได้นำความรู้ด้านงานวิจัย และคณิตศาสตร์ มาทำโปรแกรมที่จะช่วยคำนวนแบบแผนของการพับ Origami นอกจากนี้ความรู้และความเชี่ยวชาญ ด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และ Origami ของเขายังสร้างนวัตกรรมหลายอย่าง เช่น การพับเลนส์ของกล้องส่องทางไกลให้มีขนาดเล็กเพื่อใส่ไปในจรวดและให้กางออกพร้อมใช้งานในอวกาศ การออกแบบวิธีการพับ Airbag เข้าไปในรถยนต์เพื่อให้กางได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่ อุปกรณ์ขยายหลอดเลือดต่าง ๆ ล้วนเป็นผลมาจากทักษะ BE 1 in a million ของเขาทั้งสิ้น

สิ่งที่คนทั่วโลกจะตามหาไม่ใช่เพียงคนเก่งเฉพาะด้านเท่านั้น แต่โลกต้องการคนที่มีทักษะและศักยภาพที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและนำพาโลกไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีขึ้น ไม่แปลกที่การเป็น BE 1 in a million จึงมีมูลค่าและตอบโจทย์โลกในอนาคต

บทความโดย ธานินทร์ เอื้ออภิธร ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook