"ฟ้องหย่า" มาเรียนกฎหมายกันหน่อย ฟ้องหย่า หรือ ยื่นหย่า นั้น มาจากกรณีอะไรบ้าง
การหย่าร้าง คือ การหย่าเป็นการกระทำเพื่อสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางการสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีการแจ้งการสมรสเป็นหลักฐาน ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการตกลงกันหรือโดยการตัดสินของศาล
การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ
๑. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง ๒ ฝ่าย
(๑.๑) ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย ๒ คน (ตามมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง) (๑.๒) ต้องได้มีการจดทะเบียนหย่าตามมาตรา ๑๕๑๕ จึงจะสมบูรณ์
ข้อสังเกต
ก. สามีภริยาทำหนังสือหย่ากันโดยถูกต้อง แต่คู่หย่าอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาสามารถฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้หย่าจากกันตามหนังสือหย่าโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่า (ตามมาตรา ๑๕๑๖ ถ้าศาลบังคับให้หย่าแล้วยังดื้อไม่ไปจด ก็ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ อายุความในการฟ้องคดีมีอายุความ ๑๐ ปี)
ข. การหย่ากันหากทำเป็นเพียงหนังสือก็บังคับได้เฉพาะคู่สามีภริยาเท่านั้น แต่จะไปอ้างเหตุให้เสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหย่าแล้ว
๒. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล การฟ้องหย่าต้องอาศัยเหตุการหย่า (ตามมาตรา ๑๕๑๖) มีเหตุ ๑๒ ประการ ดังนี้
๒.๑ สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีหรือภริยา เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
ข้อสังเกต
(๑) กรณีนี้หมายความเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น ถ้าชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ไม่เข้ากรณีนี้
(๒) ฝ่ายที่มีชู้จะต้องรู้ว่าหญิงหรือชายนั้นมีคู่สมรสแล้ว หากไม่รู้ก็ไม่เรียกว่าเป็นชู้ แต่ถ้าเป็นการข่มขืนกระทำเชาเราแม้จะรู้ก็ไม่ถือว่าเป็นชู้ แต่เป็นการล่วงเกินในทำนองชู้สาวและประพฤติชั่ว
(๓) การเป็นชู้แม้กระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าแล้วซึ่งต่างจากการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นที่จะต้องกระทำเป็นอาจิณถึงเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
(๔) การร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณจะต้องเป็นการร่วมเพศตามธรรมชาติ ถ้าทางทวารหนักก็ไม่ใช่ และการที่ชายไปเที่ยวหญิงบริการเป็นประจำก็ถือได้ว่าเป็นการร่วมประเวณีกับหญิงอื่นเป็นอาจิณแล้ว
(๕) แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีชู้ แม้จะไม่มีพยานรู้เห็นในเวลาที่ชายหญิงร่วมประเวณีกันแต่ถ้ามีพยานพฤติเหตุแวดล้อม เชื่อได้ว่าชายและหญิงรักใคร่ชอบพอกันในทางชู้สาว ไปอยู่ด้วยกันสองต่อสองในที่ลับซึ่งมีโอกาสจะร่วมประเวณีกันได้ ก็สามารถฟังได้ว่ามีชู้ได้
(๖) ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามข้อ ๑ นี้ สามีหรือภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนทั้งจากภริยาหรือสามี และจากชายชู้หรือหญิงมีสามีที่ร่วมทำชู้ หรือจากชายอื่นหรือหญิงอื่นที่เป็นเหตุแห่งการหย่านั้นด้วย (ตามมาตรา ๑๕๒๓)
๒.๒ สามีหรือภริยาประพฤติชั่วไม่ว่าจะมีความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(๑) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(๒) ได้รับการดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่ยังคงเป็นสามีหรือภริยาที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(๓) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีหรือภริยามาคำนึงประกอบ
เหตุหย่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นเหตุ ๔ ประการนี้จะอ้างเหตุหย่าไม่ได้ คือ
(๑) สามีหรือภริยารู้เห็นหรือยินยอมให้ภริยาหรือสามีอุปการะหญิงหรือชายอื่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่น หรือรู้เห็นหรือยินยอมหรือร่วมในการที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้น
(๒) สามีหรือภริยาไม่สามารถร่วมประเวณีได้ตลอดกาลเพราะการกระทำของอีกฝ่าย
(๓) การทำผิดทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข
(๔) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยแล้ว
ผู้ที่มีสิทธิยื่นฟ้องร้องเรื่องการทำให้การหย่าเป็นโมฆะ
คู่สมรสทั้งสองฝ่าย ผู้แทนตามกฎหมายของคู่สมรส หรือญาติภายในลำดับที่สี่ของความสัมพันธ์ อาจทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะของการหย่าได้ตลอดเวลา (มาตรา 23 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)
เหตุแห่งการหย่าตามคำสั่งศาล
- ท่านอาจฟ้องหย่าต่อศาลครอบครัวในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ได้
- ถ้าคู่สมรสของท่านมีการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์
※ การกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์เป็นความหมายที่กว้างซึ่งรวมทั้งขอบเขตที่กว่างของความประพฤติไม่ซื่อสัตย์ที่อาจเข้าข่ายการเป็นชู้ (คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ 89 Mue 1115 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2533) - ถ้าคู่สมรสของท่านทอดทิ้งท่านด้วยความประสงค์ร้าย
※ การทอดทิ้งด้วยความประสงค์ร้าย หมายถึงความประพฤติของการไม่มีความรับผิดชอบต่อการอยู่ร่วมกันต่อการช่วยเหลือทางการเงิน และการช่วยคู่สมรสอีกฝ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร - ถ้าท่านถูกกระทำทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรส หรือบรรพบุรุษสายตรงของคู่สมรส
- ถ้าบรรพบุรุษสายตรงของท่านถูกทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรสของท่าน
- ถ้าไม่ว่าคู่สมรสของท่านเสียชีวิต หรือมีชีวิตโดยไม่รู้เป็นเวลาสามปี หรือมากกว่า
- ถ้ามีเหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากที่จะดำเนินชีวิตการสมรสต่อไป
เหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากในการครองชีวิตสมรส หมายถึง สถานการณ์ในการดำเนินชีวิตคู่ของคู่สมรสที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก และความไว้วางใจถูกทำลายโดยไม่มีทางแก้ไขได้ และการดำเนินต่อไปของชีวิตการสมรสนั้น ทำให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับความทุกข์ทรมานจนไม่สามารถทนได้ ซึ่งในการพิจารณาตัดสินว่ามีสถานการณ์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบ และสภาวการณ์หลายอย่าง เช่น ทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจที่ดำเนินชีวิตการสมรสต่อไปหรือไม่ ฝ่ายไหนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวของการสมรสในระดับไหน ทั้งคู่สมรสกันมานานเท่าไร มีบุตรหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายอายุเท่าไร และทั้งสองฝ่ายหาเลี้ยงชีพได้หรือไม่หลังจากการหย่า (คำพิพากษาศาลสูงสุดเลขที่ 90Meu 1067 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534)
วิธีการของการหย่าตามคำสั่งศาล
การไกล่เกลี่ย
เนื่องจากการหย่าตามคำสั่งศาลเป็นเรื่องที่ต้องมีการฟ้องร้องคดีครอบครัวประเภท Bดังนั้น บุคคลใดที่ตั้งใจจะขอให้มีการหย่าตามคำสั่งศาล ต้องยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวก่อนเพื่อให้ทำการไกล่เกลี่ย (ตรา 50 (1) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)
ถ้าท่านยื่นฟ้องโดยไม่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย ท่านจะถูกส่งกลับไปเพื่อการไกล่เกลี่ย โดยมีข้อแม้ว่า จะไม่ใช้วิธีนี้ เมื่อเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะออกหมายเรียกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย หรือ ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการไกล่เกลี่ย แม้คดีดังกล่าวจะถูกส่งไปทำการไกล่เกลี่ย (มาตรา 50 (2) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)
วิธีการฟ้องร้อง
ถ้ามีการตัดสินใจที่จะไม่มีการไกล่เกลี่ย ยังไม่ได้ทำการไกล่เกลี่ย หรือการตัดสินที่มีค่าเท่ากับการไกล่เกลี่ย ถูกทำให้ใช้ไม่ได้เพราะมีความขัดข้อง ถือว่าได้มีการฟ้องร้องแล้ว เมื่อมีการขอให้มีการไกล่เกลี่ย (มาตรา 49 กฎหมายฟ้องร้องคดีครอบครัว มาตรา 36 รัฐบัญญัติว่าด้วยการไกล่เกลี่ยของศาลของข้อพิพาททางแพ่ง)
การหย่ามีผลเมื่อมีคำพิพากษาให้หย่า (มาตรา 12 กฎหมายการฟ้องร้องคดีครอบครัว มาตรา 205 กฎหมายการพิจารณาความแพ่ง) และบุคคลที่ดำเนินการฟ้องร้องควรรายงานการหย่าภายใน 1 เดือน นับจากวันที่มีคำพิพากษาสุดท้ายให้หย่า โดยการยื่นสำเนาที่มีการรับรองของเอกสารการฟ้องคดีและหนังสือยืนยัน (มาตรา 78 และ 58 รัฐบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน ฯลฯ อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว)
ผลของการหย่าตามคำสั่งศาล
ผลโดยทั่วไป
เมื่อมีการหย่า ความสัมพันธ์ทางการสมรสจะถูกยกเลิก สิทธิ และหน้าที่ทุกชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับการสมรสจะสิ้นสุดลง และเมื่อความสัมพันธ์ทางการสมรสที่มีสิ้นสุดลง (มาตรา 775 (1) กฎหมายแพ่ง) ทั้งสองฝ่ายอาจทำการสมรสใหม่ได้
ผลของบุตร
ถ้ามีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อทำการหย่า บิดามารดาจะต้องตัดสินใจและตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร (มาตรา 836-2 (4) กฎหมายแพ่ง) นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เช่น การคุ้มครองบุตร และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร (มาตรา 837 กฎหมายแพ่ง)
บุตร และบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ดูแลบุตร จะมีสิทธิเยี่ยม (มาตรา 837-2 (1) กฎหมายแพ่ง) โดยมีข้อแม้ว่า ศาลครอบครัวอาจจำกัด หรือลิดรอนสิทธิเยี่ยมโดยอาศัยอำนาจของศาล หรือตามคำของอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อสวัสดิภาพของบุตร (มาตรา 837-2 (2) กฎหมายแพ่ง)
สิทธิเยี่ยมที่กล่าวไว้ข้างบน หมายความว่า บิดาหรือมารดาฝ่ายที่ไม่ได้ดูแลบุตรมีสิทธิที่จะพบ และพูดคุยกับบุตร รวมทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยนจดหมาย พูดโทรศัพท์ แลกเปลี่ยนของขวัญ อยู่กับบิดาหรือมารดาในวันสุดสัปดาห์ ฯลฯ
ผลต่อทรัพย์สิน
เมื่อมีการหย่าเกิดขึ้นคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเรียกร้องของการแบ่งทรัพย์สินจากอีกฝ่ายหนึ่งภายใน2 ปี หลังจากทำการหย่าดังกล่าว (มาตรา 839-2 กฎหมายแพ่ง)
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังอาจเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจากอีกฝ่ายที่ทอดทิ้งได้ (มาตรา 843 และ 806 กฎหมายแพ่ง)