จบไปแล้วทำงานอะไร? คำถามที่เด็กมหาลัยไม่อยากตอบ

จบไปแล้วทำงานอะไร? คำถามที่เด็กมหาลัยไม่อยากตอบ

จบไปแล้วทำงานอะไร? คำถามที่เด็กมหาลัยไม่อยากตอบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“จบไปแล้วทำงานอะไร?” เป็นคำถามที่เด็กมหาลัยหลายคนจะต้องเจอแน่นอน โดยเฉพาะน้องๆ ที่ไม่ได้เรียนในคณะเจาะจงอย่าง แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ หรือครุศาสตร์ ซึ่งจะเป็นคณะที่คนทั่วไปทราบดีอยู่แล้วว่า เรียนไปเพื่อทำอาชีพดังกล่าว แต่ตามความเป็นจริงไม่ว่าจะจบคณะใดมา ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องทำงานที่ตรงสาย เพราะเราอาจจะนำความรู้ความสามารถ ที่ได้ร่ำเรียนมาจากคณะใดคณะหนึ่ง หรือทักษะพิเศษที่เราฝึกฝนมาด้วยตัวเอง มาประยุกต์ใช้กับสาขาและวิชาชีพอื่นก็ได้

ทำไมคำถามนี้ ถึงกลายเป็นคำถามที่เด็กมหาลัยไม่อยากตอบ?

เอาจริงๆ ก็มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุผล แต่ส่วนใหญ่คนที่อยากรู้นั้น เขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเราเท่าไหร่ จึงทำให้น้องๆ หลายคนเกิดความอึดอัด ลำบากใจ และยิ่งถ้าถูกถามบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นเบื่อหน่ายที่จะตอบแล้ว แต่หากลองคิดในแง่ดี เขาอาจจะเป็นห่วงเราก็ได้ ฉะนั้นเวลาที่ถูกคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวถาม ก็อย่าพึ่งหน้านิ่วคิ้วขมวด แต่ให้ตอบแบบ safe zone ไปก่อนว่า “ยังไม่ได้คิดเลยค่ะ/ครับ”

จบคณะ… ทำงานเกี่ยวกับอะไร?

อย่างที่กล่าวไปว่า ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำงานตรงสาย 100% เห็นได้ชัดจากปัจจุบันที่คนทำงานเดี๋ยวนี้ ทำงานตรงสายจริงๆ อยู่แค่ไม่กี่คน ยกตัวอย่าง คนที่เรียนจบมนุษยศาสตร์ เอกภาษา ก็ยังมาทำงานในสายนิเทศศาสตร์ (ผลิตรายการโทรทัศน์) ได้ มาถึงตรงนี้ยังมีผู้ปกครองหลายคน ที่อาจจะไม่รู้ว่าคณะที่ลูกหลานกำลังเรียนอยู่นั้น จบมาแล้วสามารถไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง วันนี้ Tonkit360 ได้รวบรวมคณะที่มักตกเป็นเป้าคำถามนี้บ่อยๆ มาให้ส่วนหนึ่ง

  • เกษตร : รับราชการในกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น ประกอบอาชีพอาจารย์ นักวิชาการเกษตร นักวิจัย
  • จิตวิทยา : นักจิตวิทยา ทำงานเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ สามารถทำงานในโรงพยาบาล-คลินิกก็ได้ หรือเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น งานแนะแนว รวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น ฝ่ายบุคคล วิทยากร อาจารย์ นักวิจัย นักวิเคราะห์พฤติกรรม นักการสื่อสาร เป็นต้น
  • นิเทศศาสตร์ : ผู้สื่อข่าว พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ บรรณาธิการวารสาร นักเขียน คอลัมนิสต์ สายผลิตรายการโทรทัศน์,ละคร,ภาพยนตร์,โฆษณา ผู้กำกับ ครีเอทีฟโฆษณา กราฟิกดีไซน์เนอร์ ช่างภาพ เจ้าหน้าที่ตัดต่อ ประชาสัมพันธ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
  • ประมง : รับราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมประมง สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น ทำงานในบริษัทเอกชน เป็นที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม นักวิจัย นักวิชาการ
  • วนศาสตร์ : รับราชการในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยาน กรมป่าไม้ หรือทำงานในองค์กรเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ,เยื่อกระดาษ นอกเหนือจากนี้ สามารถประกอบอาชีพนักสิ่งแวดล้อมศาสตร์ และอาจารย์ได้
  • ศิลปกรรมศาสตร์ : ขึ้นอยู่กับสายที่เรียน* สามารถเป็นได้ทั้งนักออกแบบ สายกราฟิก เว็บไซต์ สื่อโฆษณา แอนิเมชั่น ผลิตภัณฑ์ ตกแต่งภายใน หรือนักวางแผน นักแสดง ศิลปิน นักดนตรี นางรำ ผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับละครเวที และโปรดิวเซอร์ ฯลฯ
  • ศิลปศาสตร์ : ล่าม นักเขียน คอลัมนิสต์ บรรณาธิการ นักแปล ดูแลเนื้อหา-บทความบนเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชน เลขานุการผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา อาจารย์ นักวิชาการ ฯลฯ
  • เศรษฐศาสตร์ : นักวิเคราะห์สินเชื่อ วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์หุ้นและตลาดหุ้น ที่ปรึกษาด้านการเงิน เจ้าหน้าที่การเงิน นักวิเคราะห์และวางแผนการตลาด ทำงานสายธนาคาร หรือทำงานในกระทรวง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
  • โลจิสติกส์ : เกี่ยวกับการขนส่ง ทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ทำได้ตั้งแต่เป็นฝ่ายจัดส่ง-จัดซื้อ คลังสินค้า นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์ นักจัดการนักวางแผน หรือรับราชการในหน่วยงาน เช่น กรมขนส่ง กรมศุลกากร กรมประมง เป็นต้น รวมถึงเป็นนักวิชาการ นักวิจัย หรืออาจารย์ก็ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook