"สาเหตุประท้วงฮ่องกง" อ่านเข้าใจง่ายสรุปประวัติศาสตร์ใน 4 ย่อหน้า
ก่อนที่จะเกิดเหตุประท้วงที่เป็นเหตุการณ์ใหญ่โตที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนี้ หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบว่า ต้นเหตุนั้นมาจากการคดีฆาตกรรม ที่เปิดฉากการต่อสู้ระดับประเทศที่ทั่วทั้งโลกให้ความสนใจ
โดยทั้งหมดเริ่มจากคู่รักวัยรุ่นคู่หนึ่งที่เดินทางจากฮ่องกงไปไต้หวัน และมีเหตุฆาตกรรมเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายชายทราบว่าฝ่ายหญิงนั่นตั้งท้อง ซึ่งแน่นอนว่าตามหลักกฎหมายแล้วทางฮ่องกงไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรมได้ เพราะสถานที่ก่อเหตุนั้นอยู่ที่ไต้หวัน และทางฮ่องกงไม่สามารถส่งตัวผู้กระทำผิดไปไต้หวันไม่ได้ เพราะสองดินแดนนี้ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ดังนั้นจึงมีการเสนอร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนเข้าสู่สภานิติบัญญัติเพื่อให้การดำเนินกฎหมายง่ายขึ้น
ซึ่งจุดที่เห็นสาเหตุที่ทำให้มีการประท้วงนั่นก็คือ ในร่างกฎหมายที่ว่านี้ มีการเขียนเพื่อในการส่งผู้ร้ายไปยังจีนด้วยนั่นเอง เนื่องจากการปรับแก้กฎหมายนี้ อาจเป็นการเปิดประตูให้รัฐบาลจีน ใช้ช่องนี้ในการจัดการกลุ่มเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมถึงฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจีนที่หลบหนีและพักอาศัยในฮ่องกง ให้นำตัวกลับไปดำเนินคดีในจีน เพราะชาวฮ่องกงมีความเชื่อที่ว่าระบบกฎหมายของจีนนั้น ไม่ยุติธรรมและมักที่จะมีอำนาจพิเศษในการแทรกแซงระบบยุติธรรม
ซึ่งการประท้วงในครั้งนี้เรียกว่าเป็นการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ของฮ่องกง มีผู้เข้าร่วมถึง 1.03 ล้านคน เพื่อปรับแก้ข้อกฎหมาย “ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของฮ่องกง” โดยแต่เดิมแล้ว ฮ่องกงจะสามารถส่งผู้ร้ายหลบหนีต่างชาติกลับไปยังเขตอำนาจศาลของประเทศนั้นๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีความตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน ซึ่งทางฮ่องกงต้องการที่จะแก้ เพื่อให้ฮ่องกงสามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปให้ประเทศหรือเขตอำนาจศาลที่ไม่ได้ทำความตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันได้ โดยฮ่องกงจะใช้วิธีพิจารณาเป็นกรณี และมีเงื่อนไขหลายอย่างที่การยื่นขอรับผู้ร้ายข้ามแดนกลับในแต่ละกรณีจะต้องเข้าข่ายตามที่ฮ่องกงกำหนด
ฮ่องกงของบริเตน
สาเหตุที่จีนไม่สามารถแทรกแซงฮ่องกงได้ เพราะสาเหตุมาจากการแพ้สงคราม และฮ่องกงอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ หรือเรียกว่าฮ่องกงของบริเตน หรือเรียกอย่างง่ายว่า ฮ่องกง เป็นช่วงสมัยที่ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2384 ถึง 2540 (ยกเว้นช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองระหว่าง พ.ศ. 2484 ถึง 2488) เมื่อแรกจัดตั้งมีสถานะเป็นอาณานิคมในพระองค์ ก่อนที่ในปี 1981 จะมีสถานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน ราชวงศ์ชิงจำยอมต้องยกเกาะฮ่องกงให้แก่บริเตนใหญ่ภายหลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และจำยอมต้องยกคาบสมุทรเกาลูนให้อีกเมื่อพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ในที่สุดก็มีการทำสนธิสัญญาใหม่ขึ้นในพ.ศ. 2441 ซึ่งให้สิทธิการเช่าเกาะฮ่องกงเป็นเวลา 99 ปี ทางสหราชอาณาจักรได้ส่งคืนเกาะฮ่องกงแก่จีนเมื่อสัญญาเป็นอันสิ้นสุดลงในค.ศ. 2540 การส่งมอบเกาะฮ่องกงในครั้งนั้นถูกมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดจักรวรรดิบริเตน
ทำความเข้าใจกฎหมาย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งประเทศหนึ่งส่งตัวผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องโทษไปประเทศอื่น การส่งผู้ร้ายข้ามแดนปกติมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศวางระเบียบ เมื่อกฎหมายบังคับให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ในระหว่างเขตอำนาจต่ำกว่าชาติ มโนทัศน์นี้ทั่วไปอาจรู้จักว่า การส่งผู้ร้ายข้ามรัฐ เป็นกลไกโบราณ สืบย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล เมื่อฟาโรห์อียิปต์ แรเมซีสที่ 2 ทรงเจรจาสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับพระมหากษัตริย์ฮิตไทต์ ฮัททูซิลีที่ 3
รัฐเอกราช (รัฐที่ขอ) ตรงแบบยื่นคำขออย่างเป็นทางการต่อรัฐเอกราชอีกรัฐหนึ่ง (รัฐที่ถูกขอ) ผ่านกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หากพบผู้หลบหนีคดีอาญาในดินแดนขอรัฐที่ถูกขอ แล้วรัฐที่ถูกขออาจจับกุมผู้หลบหนีคดีอาญาและทำให้ผู้นั้นอยู่ใต้บังคับแห่งกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่จะใช้กับผู้หลบหนีคดีอาญานั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายและการปฏิบัติของรัฐที่ถูกขอ