"ศัพท์นิติศาสตร์" เรียนรู้ภาษากฎหมายเข้าใจง่ายตามหลักราชบัณฑิตยสภา
เมื่อพูดถึงศัพท์กฎหมายแล้ว หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเรื่องกฎหมายเป็นอะไรที่ต้องตีความ เข้าใจยากกันอย่างแน่นอน แต่ในความจริงแล้ว ถ้าเราเข้าใจเรื่องกฎหมายนั้นมันก็ไม่ยากอย่างที่คิดนะ ซึ่งในทางแฟนเพจ ราชบัณฑิตยสภา เขาก็ได้รวบรวม ศัพท์นิติศาสตร์ มาให้เราได้ศึกษากัน ลองมาศึกษากันดู บอกเลยว่าเข้าใจง่ายจริงๆ นะ
"ศัพท์นิติศาสตร์" เรียนรู้ภาษากฎหมายเข้าใจง่ายตามหลักราชบัณฑิตยสภา
sunshine law กฎหมายเพื่อความโปร่งใส
กฎหมายที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลในการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น รายงานการประชุม คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่าง ๆ รวมทั้งการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้โดยสะดวก เพื่อสร้างความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบการบริหารงานภาครัฐได้
sunset law กฎหมายกำหนดเวลาสิ้นสุด
กฎหมายที่มีบทบัญญัติให้มีการยกเลิกกฎหมายฉบับนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหรือยกเลิกองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายนั้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะมีการขยายกำหนดเวลาหลังจากที่ประเมินความคุ้มค่าหรือทบทวนความเหมาะสม
estate tax ภาษีการให้มรดก
ภาษีที่เรียกเก็บจากกองมรดกของเจ้ามรดกเมื่อมีการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดก [มีความหมายเหมือน death tax; death duties และ death duty]
inheritance tax; succession tax ภาษีการรับมรดก
ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกตามมูลค่าทรัพย์มรดกที่ได้รับมา [มีความหมายเหมือนกับ death tax; death duties; death duty]
employment at will; at-will employment; hiring at will การจ้างงานไร้สัญญา
การจ้างงานที่ไม่มีสัญญา ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างอาจยุติการจ้างงานในเวลาใดก็ได้ โดยไม่ต้องอ้างเหตุผลสนับสนุนในการสิ้นสุดการจ้างงานนั้นก็ได้
justifiable homicide; excusable homicide การฆ่าคนโดยชอบ
การฆ่าบุคคลอื่นโดยไม่ผิดกฎหมายในบางสถานการณ์ เนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เช่น การประหารชีวิตผู้ต้องโทษตามคำพิพากษา การที่เจ้าหน้าที่ฆ่าผู้กระทำความผิดในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ การฆ่าผู้อื่นเนื่องจากเป็นการป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย
อัลบั้มภาพ 15 ภาพ