"กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการถ่ายภาพ" แอบถ่ายคนอื่นอันนี้ผิดกฎหมายมั้ย

"กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการถ่ายภาพ" แอบถ่ายคนอื่นอันนี้ผิดกฎหมายมั้ย

"กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการถ่ายภาพ" แอบถ่ายคนอื่นอันนี้ผิดกฎหมายมั้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างมากในสังคมไทย เรื่องการถ่ายภาพผู้อื่นในที่สาธารณะว่าเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายหรือไม่ และรูปที่ถ่ายนั้นเมื่อนำมาลงในพื้นที่สาธารณะอย่างโลกโซเชียลแล้วมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

ในครั้งนี้ Sanook! Campus เราก็จะขอนำเรื่องกฎหมายมาให้ความรู้กับเพื่อนๆ กันซะหน่อย เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายการถ่ายภาพของไทย ว่าแบบไหนเรียกว่าถ่ายได้และไม่ผิดต่อสิทธิของคนอื่น

กฎหมายของไทยเกี่ยวกับการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพบุคคลในที่สาธารณะ

สามารถทำได้ ไม่ละเมิด เพราะมีคำตัดสินของศาลฎีกา ให้ยึดถือว่า บุคคลที่อยู่ในที่สาธารณะ ย่อมถูกถ่ายภาพได้แม้เจ้าตัวไม่ยินยอมก็ตาม เนื่องจากไม่อาจคาดหวังความเป็นส่วนตัวอย่างสมเหตุสมผลได้ อันนี้ไม่อาจห้ามการถ่ายภาพได้ และภาพที่ได้ย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ถ่าย ไม่ใช่ของผู้ถูกถ่ายที่ปรากฏอยู่ในภาพ แต่ถ้าได้ภาพในอิริยาบถที่อาจไม่ดี เมื่อนำไปเผยแพร่ อาจทำให้คนที่เห็นรู้สึกดูหมิ่นดูแคลนเสื่อมเสีย ผู้ที่ถูกถ่าย ก็ย่อมฟ้องด้วยข้อหานี้ได้ การนำสืบก็ต้องว่ากันไปว่าเสียหายอย่างไร จริงหรือไม่ ยิ่งถ้ามีการทำไปด้วยผลประโยชน์ ได้เงิน ต่างๆ คงยิ่งไปกันใหญ่

การถ่ายภาพที่ต้องการเก็บไว้เป็นการส่วนตัว หรือ เก็บไว้ป้องกันภัยคุกคาม

สามารถกระทำได้ ในสถานที่ ที่คุณยืนอยู่นั้น จะต้องเป็น "สาธารณสถาน" หรือสถานที่ของคุณเอง หรือ สถานที่ ที่คุณได้รับอนุญาต ให้เข้าไปได้ โดยการกระทำนั้นจะต้องไม่เป็นการ ละลาบละล้วง ส่วนตัวของบุคคลอื่น เช่น การถ่ายรูปใต้กระโปรง ถือเป็นการละลาบละล้วง เพราะเจ้าตัวได้ทำการปกปิดไว้ดีแล้ว จึงสามารถคาดหวังความเป็นส่วนตัวได้อย่างสมเหตุสมผล หรือแม้แต่ตามโรงแรมที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ ไม่ใช่บริเวณสาธารณะหรือทางเดินส่วนรวม แต่กลับติดตั้งไว้ในห้องนอนของลูกค้าที่มาใช้บริการเอง จึงคาดหวังความเป็นส่วนตัวได้อย่างสมเหตุสมผลเช่นกัน ดังนั้นตามกฎหมาย จึงเป็นความผิด ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามมาตรา 397 ความผิดลหุโทษ มีโทษปรับ ประมาณ 10,000 บาท ส่วนบุคคลที่แต่งตัวโป๊ อยู่แล้ว นอกจากจะมาเอาความผิดคนถ่ายภาพไม่ได้แล้วเนื่องจากไม่อาจคาดหวังความเป็นส่วนตัวอย่างสมเหตุสมผลได้ บุคคลที่แต่งตัวโป๊นั้น ยังต้องโดนข้อหาอนาจารตาม มาตรา 388 ความผิดลหุโทษ มีโทษปรับประมาณ 5,000 บาท เสียเองด้วย ซึ่งไทยเองอดีตก็เคยมีข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ภาพที่เอาลงเพื่อเผยแพร่จะต้องเซ็นเซอร์ภาพส่วนที่เป็นอนาจารออก มิเช่นนั้นก็จะมีความผิดทางกฎหมายไทยเช่นกัน

ตัวอย่างการแอบถ่าย

  • ตัวอย่างการแอบถ่ายไว้ป้องกันตัว เช่น นางสาว A สงสัยว่า นาย B พยายามติดตามตัวเองอยู่ จึงได้ทำการแอบถ่ายภาพ นาย B ไว้เป็นหลักฐาน เป็นต้น
  • ตัวอย่างการแอบถ่ายไว้เป็นหลักฐานและดำเนินคดี เช่น นางสาว A เห็น นาย B กำลัง สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองในที่สาธารณสถาน จึงทำการถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานและส่งสำเนามอบให้ ตำรวจ ดำเนินคดี นาย B ตามมาตรา 388 ความผิดลหุโทษ เป็นต้น

ส่วนคดี เกี่ยวกับ คู่กรณี กระทำผิดต่อตากล้อง เช่น คู่กรณีทำการลบรูปดิจิตอลของตากล้อง แม้ว่าตากล้องจะกู้รูปคืนได้ก็ตาม แต่คู่กรณีจะผิด ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook