เพราะเรามักแปลคำเข้าข้างตัวเองเสมอ คำบางคำเพียงพิมพ์สั้น ๆ ก็เป็นประเด็นได้

เพราะเรามักแปลคำเข้าข้างตัวเองเสมอ คำบางคำเพียงพิมพ์สั้น ๆ ก็เป็นประเด็นได้

เพราะเรามักแปลคำเข้าข้างตัวเองเสมอ คำบางคำเพียงพิมพ์สั้น ๆ ก็เป็นประเด็นได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ด้วยผลพวงของเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารของผู้คนในปัจจุบันวันนี้ การตอบโต้กันโดยส่วนใหญ่เกิดจากการพิมพ์และอ่าน ตามแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการด้านการสื่อสารทั้งนั้น เช่น LINE WhatsApp iMessage ซึ่งสะดวกรวดเร็วรวบรัดในการใช้งาน

แต่ทั้งนี้ปัญหาเล็ก ๆ น้อยที่อาจส่งผลเป็นเรื่องใหญ่ตามมาก็มีอยู่บ้าง คือกลายเป็นว่าการพิมพ์ข้อความแบบสั้น ๆ ห้วน ๆ ทำให้ผู้รับมีความรู้สึกไปอีกแบบหนึ่ง ชวนให้คิดว่า “เอ๊ ตอบแบบนี้ เป็นอะไรหรือเปล่า” เช่น การพิมพ์ถามว่าถึงไหนแล้ว แล้วผู้ตอบพิมพ์กลับว่า “กำลังไป” เพียงแค่นี้ก็อาจสร้างความกระอักกระอ่วนใจให้ผู้รับ(บางคน)ได้แล้วนะ

เพราะคนเรามักแปลความหมายและอารมณ์ของคำเข้าข้างตัวเอง คนอ่านอาจจะคิดว่าการตอบแบบห้วน ๆ แบบนี้เขาไม่พอใจและคิดว่าเราไปเร่งเขาหรือเปล่า ทั้งที่ความจริงผู้ส่งอาจกำลังรีบอยู่จริง ๆ ไม่ได้มีความไม่พอใจแม้แต่น้อย แต่หากพิมพ์ว่า “กำลังไปจ้า” “กำลังไปคร้าบบ” อะไรทำนองนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสบายใจได้มากกว่า เพราะเหตุนี้เอง

กลายเป็นว่าทุกวันนี้คำแต่ละคำคล้ายกับมีความหมายและอารมณ์เฉพาะเจาะจงของตัวมันเอง อย่างที่เราต่างทราบกันดีว่าภาษาและการพิมพ์แชทอาจมีการพิมพ์วิบัติไปบ้างแต่เป็นเรื่องให้อภัยกันได้เพราะรวดเร็วและอย่างน้อยก็อ่านรู้เรื่องและผันเสียงวรรณยุกต์ถูกก็เป็นพอ แต่หากใช้ในการทำงานหรือทางการก็ควรจะพิมพ์ให้ถูกต้อง

ซึ่งคำแต่ละคำจะมีความหมายในการให้อารมณ์แตกต่างกันไป สวัสดีคร้าบบบบ ให้ความรู้สึกแบบสุภาพปนทะเล้น, ขอบคุณมากจ้า มีความเป็นกันเองในน้ำเสียง เป็นต้น กลายเป็นความจำเป็นที่จำเป็นจะต้องใส่คำพ่วงท้ายในทุกการพิมพ์เพื่อให้ความรู้สึกไม่ตึงเครียดเมื่อแปลความหมายของคำ กล่าวง่าย ๆ คือไม่ให้ห้วนจนเกินไป ถึงแม้บางคำพูดห้วน ๆ ที่คุยกันต่อหน้าก็ไม่ได้ส่งผลอะไรเพราะสามารถสังเกตได้จากสีหน้าและท่าทางของผู้พูด

แต่ในเมื่อในยุคของการติดต่อสื่อสารด้วยตัวอักษรการสนทนานั้นไม่ครบถ้วนเนื่องด้วยไม่เห็นลักษณะท่าทางของคู่สนทนาโดยเฉพาะน้ำเสียง การแปลคำจึงเป็นการแปลเข้าข้างความคิดของตนเองจนบางครั้งบางทีผู้พิมพ์อาจไม่ได้คิดอะไร แต่กลายเป็นว่าอีกฝ่ายคิดมากไปแล้วเรียบร้อย

เมื่อบริบทในด้านนี้เปลี่ยนไปกลายเป็นว่าการปรับตัวของการใช้และการทำความเข้าใจ แม้จะรวดเร็วและสะดวกอย่างมากแต่ความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็ล้วนต้องพึงระวัง เพราะการสื่อสารที่เห็นเพียงตัวหนังสือก็ทำให้เป็นประเด็นได้ การเติมคำท้ายหรือใช้สติ๊กเกอร์ก็ช่วยได้เยอะ และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรระวังคือการพิมพ์คำผิด เพราะคนส่วนใหญ่พิมพ์ผิดจนคิดว่าตัวเองพิมพ์ถูกไปแล้ว!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook