การแบ่งชนชั้นในสังคมมหาวิทยาลัย มีจริงหรือ?

การแบ่งชนชั้นในสังคมมหาวิทยาลัย มีจริงหรือ?

การแบ่งชนชั้นในสังคมมหาวิทยาลัย มีจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มนุษย์นั้นเกิดขึ้นและตั้งอยู่แบบเป็นสัตว์สังคม คล้าย ๆ กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิด ที่มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หมู่คณะ เพื่อการสื่อสารและพึ่งพากันเป็นปกติตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยความแตกต่างหลายประการที่ทำให้สังคมมนุษย์ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างจริงแท้ หากมองแบบแยกย่อย

สังคมของคนวัยรุ่นโดยเฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัยมีการแบ่งชนชั้นหรือไม่ ? ในส่วนนี้จากการสัมผัสและรับฟังจากหลาย ๆ คน เรื่องการแบ่งชนชั้นนั้นเป็นเรื่องเบาบางจนแทบจะไม่มีอยู่จริงในสังคมมหาวิทยาลัย

คบกันที่นิสัยใจคอ

การเหยียดคนที่ฐานะจนกว่า ที่เรามักเห็นกันในละครไม่ค่อยมีให้เห็นในสังคมอุดมศึกษา นั่นเพราะว่าไม่ว่าใครก็ตามที่ทำตัวน่ารังเกียจด้วยการยกตัวเองสูงกว่าผู้อื่น สุดท้ายจะจบด้วยการไม่มีคนอยากมาสุงสิงด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งไม่มีใครต้องการให้ตนเองตกที่นั่งเยี่ยงนั้นอยู่แล้ว

การใช้ชีวิตในรั้วมหาลัยจึงเป็นการอยู่ร่วมกันแบบแบ่งแยกตามไลฟ์สไตล์เสียมากกว่า เนื่องจากนักศึกษาวัยรุ่นที่มาจากต่างโรงเรียนร้อยพ่อพันแม่ การที่จะอยู่ด้วยกันได้ก็มักจะขึ้นอยู่กับความสนใจและชอบในสิ่งเดียวกันและจับกลุ่มแบ่งพรรคพวกกันตามนั้น แต่การแบ่งพรรคตามกลุ่มนี้ไม่ใช่ว่าทะเลาะกันแต่อยู่กลุ่มนั้นกลุ่มนี้เพราะความเข้ากันได้มากกว่า ซึ่งเวลามีงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความร่วมมือจากหลาย ๆ คน ก็สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นปกติ แม้ในช่วงเวลาอื่น ๆ จะไม่ได้อยู่ร่วมกันก็ตาม

เหมือนกันจึงอยู่ด้วยกันได้

เนื่องจากความแตกต่างกันของแต่ละคนเพราะสังคมที่พบเจอและหล่อหลอมมา แรกเริ่มสังเกตได้เลยว่านักศึกษาปี 1 จะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ไปไหนไปกันที่ละหลาย ๆ คน นั่นเป็นเพราะว่าการเพิ่งรู้จักกันยังอยู่ในช่วงของการละลายพฤติกรรม

หลังจากนั้นจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าการคบหากันจะแบ่งกลุ่มแยกย่อยเล็กลงเรื่อย ๆ เพราะความสนิทสนมและนิสัยใจคอ ซึ่งบางคนไลฟ์สไตล์ไม่ตรงกับคนอื่น ๆ ก็แยกออกไปอยู่กับคนที่เหมือน ๆ กัน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้มีการบาดหมางกันแต่อย่างใด ยกเว้นก็แต่เรื่องปัญหาส่วนตัว

ดังนั้นสังคมของการอยู่ร่วมกันในรั้วมหาวิทยาลัยจึงแทบไม่เห็นภาพของการแบ่งชนชั้นทางฐานะสักเท่าไหร่ เพราะแน่นอนว่าการเรียนและทำงานต่าง ๆ ล้วนต้องมีหลายครั้งคราที่ต้องพึ่งพาอาศัยความร่วมมือกัน เช่น งานกลุ่ม การแบ่งหน้าที่กันทำ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้หากจะมีใครที่มีความคิดแบ่งแยก และถึงแม้จะเป็นเพื่อนต่างกลุ่มกันเมื่อถึงเวลาที่ต้องปรึกษาหารือก็ล้วนคุยกันได้อย่างไม่มีปัญหา

ซึ่งถือว่าสังคมในรั้วมหาวิทยาลัยนั้นเป็นปัจจัยการหล่อหลอมคนที่สำคัญ เพราะเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่จะได้ออกไปเผชิญโลกจริงภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์ การประนีประนอม การรู้จักพึ่งพาอาศัย จึงจะถูกเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปใช้ยังโลกจริงเป็นสำคัญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook