ปัญหาการว่างงาน จบ ป.ตรี แต่ตกงานอื้อ เพราะอะไร

ปัญหาการว่างงาน จบ ป.ตรี แต่ตกงานอื้อ เพราะอะไร

ปัญหาการว่างงาน จบ ป.ตรี แต่ตกงานอื้อ เพราะอะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาองค์ความรู้ของแรงงานเจเนอเรชั่นใหม่ในตอนนี้ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยมีผลสำรวจระบุว่าประเทศไทยมีบัณฑิต ป.ตรี ที่ว่างงานจำนวนมากถึงสองแสนคนจากการสำรวจเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างในสังคมตลาดแรงงานในไทย

รายละเอียดที่ผกผันกันของสถิติจำนวนผู้ว่างงานและมีงานทำเปรียบเทียบในระยะเวลา 1 ปีคือ กันยายน 2561 และ กันยายน 2562 พบว่าจำนวนของผู้มีงานทำลดลง 7.4 แสนคน จากข้อมูลการสำรวจผู้มีงานทำในเดือนกันยายน 2561 จำนวน 37.95 ล้านคน เทียบกับจำนวนที่สำรวจในเดือนกันยายน 2562 ที่มีอยู่ 37.21 ล้านคน และสถิติของผู้ว่างงานที่สูงขึ้นกว่า 1.2 หมื่นคน จาก 3.73 แสนคนในปีก่อนมาเป็น 3.85 แสนคนในปีนี้

กล่าวคือ ความสอดคล้องของกันและกันในภาคเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคที่เปิดรับการลงทุนต่างชาติมากขึ้นอีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงวัยเนื่องจากจำนวนประชากรเกิดใหม่ลดลง ถือเป็นการกดดันให้ประเทศไทยสร้างแรงงานยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพและแรงงานยุคเก่าอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้เสริมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ยังต้องนับรวมไปถึงเรื่องของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและสงครามการค้าอีกด้วย เพราะส่งผลกระทบถึงกัน

อุปสรรคที่เห็นได้ชัดเจนส่งผลต่อตลาดแรงงานจนเกิดภาวะบัณฑิต ป.ตรี ตกงานกันจำนวนมากถึงสองแสนคนในตอนนี้ บ่งบอกเราว่าองค์ความรู้ของเด็กจบใหม่ยังไม่เป็นที่ต้องการอย่างเหมาะสมขององค์กรที่ตนหมายมั่น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้

ความไม่สอดคล้องของการศึกษากับความต้องการของตลาดแรงงาน

ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมยุคดิจิทัลทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกับหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่อาจมอบทักษะไม่ครอบคลุมหรือคุณภาพต่ำลงต่อผู้เรียน อีกทั้งหลายกระบวนการทำงานที่มีผลจาก Digital Disruption ที่การเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีแทนที่การทำงานบางอย่างได้โดยไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ จึงเป็นที่มาของความไม่สอดคล้องดังกล่าว

คำถามคือ หลักสูตรในภาคการเรียนระดับอุดมศึกษานั้นมีประสิทธิภาพพอหรือปรับตัวบูรณาการองค์ความรู้ได้ดีพอต่อความจำเป็นหรือยัง ซึ่งเห็นได้ชัดอยู่ว่าระบบทั้งสองนั้นไม่ตอบโจทย์ต่อกัน

เนื่องจากทักษะจากห้องเรียนยังไม่ตอบสนองต่อสายงานที่กำลังขาดแรงงาน จวบจนถึงการแห่เรียนในด้านที่บุคลากรในสายวิชาชีพนั้นล้นตลาดเกินความต้องการขององค์กรหรือเรียนตามค่านิยมตามสมัย แต่สิ่งเหล่านี้จะโทษใครสักคนคงเป็นไปไม่ได้ เพราะย่อมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

การเสริมความรู้ในด้านทางเลือกหรือแนะแนวแก่นักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้องแนะสิ่งที่ทุกคนต้องเจอในการใช้ชีวิตในอนาคตเพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เห็นว่าสำคัญในตอนนี้อาจเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ต้องการหรือต้องการน้อยลงในภายภาคหน้า ปูแนวทางของความเป็นไปได้ในอนาคตเพื่อการตัดสินใจ

ที่สำคัญคือทักษะที่ควรสร้างเสริม โดยจะเห็นได้ว่าความสามารถที่โดดเด่นเพียงด้านเดียวอาจไม่พอต่อการทำงานในปัจจุบัน โดยความสำคัญที่จำเป็นมากที่เราต่างรู้และพึงแสวงหาความรู้เพิ่มเติมกันอยู่ก็คือ ภาษา เพื่อเอื้อต่อการทำงานในยุคที่ครอบคลุมกันทั่วโลก และความถนัดทางด้าน IT ก็สำคัญ ซึ่งความรู้พื้นฐานด้านโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ควบคู่กับสังคมดิจิทัลย่อมขาดจากกันไม่ได้ และทักษะของการคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามทักษะนี้ล้วนเป็นสิ่งที่องค์กรในปัจจุบันต้องการอย่างมากแต่ขาดแรงงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอยู่

ดังนั้นภาคการศึกษาในทางสถาบันต่าง ๆ ก้าวย่างปรับตัวและบูรณาการตามการเปลี่ยนแปลงตระหนักทราบดีแล้วหรือยัง กับการหยิบยื่นองค์ความรู้และเสริมทักษะได้ตรงตามความต้องการขององค์กรน้อยใหญ่ที่อ้าแขนรองรับแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook