เพื่อน 6 ประเภทที่คุณไม่ควรเล่าปัญหาให้พวกเขาฟัง

เพื่อน 6 ประเภทที่คุณไม่ควรเล่าปัญหาให้พวกเขาฟัง

เพื่อน 6 ประเภทที่คุณไม่ควรเล่าปัญหาให้พวกเขาฟัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำว่า “เพื่อน” นั้นสำคัญต่อชีวิตคนหนึ่งคนไม่แพ้ครอบครัว แต่เพื่อนที่ดีนั้นไม่ได้ดูกันที่ ปริมาณ หากแต่ต้องพิสูจน์กันด้วยวันเวลาเพื่อดูว่าเขาเหมาะกับเรา หรือ เราเหมาะกับเขาหรือไม่ และไม่ใช่เพื่อนทุกคนที่จะช่วยคุณได้ด้วยความเต็มใจและมั่นใจว่าความช่วยเหลือของเขานั้นจะทำให้คุณก้าวข้ามอุปสรรคได้ ดังนั้นจงจัดลำดับ และ ใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อนที่เป็นมิตรแท้ ที่ไม่ใช่แค่ทักทายกันตามโซเชียลมีเดีย แล้วก็รู้สึกว่าเขาจะจริงใจกับเรา เพราะในความสัมพันธ์ของคนที่รู้จักกับคำว่ามิตรภาพจริงๆนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไป และ มีเพื่อนอยู่ 6 ประเภทที่คุณควรหลีกเลี่ยง ที่จะเล่าเรื่องทุกข์ใจในชีวิต เรื่องน่าอายที่เกิดขึ้นกับคุณให้พวกเขาฟัง เพราะคนทั้ง 6 ประเภทนั้นจะมีปฏิกิริยาตอบกลับที่อาจทำให้คุณเกิดมลพิษทางใจก็เป็นได้

1. เพื่อนที่รู้สึกเสียใจไปกับความผิดพลาดของคุณ และ บอกกับคุณว่าสิ่งที่คุณเจอนั้นมันเลวร้ายแค่ไหน

เพื่อนประเภทนี้ เมื่อคุณเล่าชีวิตอันเลวร้ายให้พวกเขาฟัง เขาพร้อมจะให้คุณซบไหล่ แล้วร้องไห้ไปกับคุณจากนั้นเพื่อนของคุณก็เล่าถึงเรื่องเลวร้ายในลักษณะเดียวกันของเขาให้คุณฟัง และเป็นคุณที่ต้องกลายเป็นฝ่ายปลอบโยน

ถ้าต้องเจอกับเพื่อนในลักษณะนี้ คุณควรจะคิดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะเล่าเรื่องราวของคุณให้เขาฟัง เพราะปัญหาของคุณไม่ได้รับคำแนะนำหรือแก้ไข แต่กลายเป็นว่า เพื่อนของคุณกลับเอาเรื่องของตนเองมาเปรียบเทียบกับคุณ และสุดท้ายคุณก็เป็นที่ระบายให้กับเขา เพื่อนที่ดีควรรับฟัง ปัญหาของคุณ และ ช่วยคุณในการหาวิธีแก้ไข หรือ แม้กระทั่งทำให้คุณมองในอีกมุมหนึ่งที่ทำให้คุณสบายใจขึ้น

2. เพื่อนที่สับสนระหว่างปัญหาของคุณ กับปัญหาของตนเอง

ลักษณะคล้ายกับประเภทแรก แตกต่างกันตรงที่ เพื่อนในลักษณะนี้จะเอาปัญหาของคุณมาเปรียบเทียบกับของเขาและบอกว่า เรื่องที่เกิดขึ้นกับคุณนั้น เล็กนิดเดียว (อาทิ “โธ่! เรื่องแค่นี้เองไม่เห็นมีอะไรเลย ลองฟังเรื่องของฉันดูนะ แล้วเธอจะรู้ว่าที่เธอเจอนั้นเล็กน้อยแค่ไหน”) ถ้าคุณต้องเจอกับเพื่อนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องไปเล่าปัญหาของคุณให้เขาฟังหรอก เพราะจะกลายเป็นว่า คุณต้องมารับรู้ปัญหาของคนอื่นแทน

3. เพื่อนที่มองว่าปัญหาของคุณอย่างผิวเผินและคิดว่าน่าจจะแก้ไขได้ไม่เห็นจะเป็นปัญหา ที่สำคัญปฎิเสธที่จะรับรู้ข้อเท็จจริงว่าคุณกำลังเผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักและต้องการคำแนะนำ

เพื่อนประเภทนี้จะมาพร้อมกับคำพูดว่า “เธอเก่งจะตาย มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอ” เป็นประโยคที่เหมือนจะชื่นชมความสามารถของคุณพร้อมกับปลอบใจไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพื่อนของคุณไม่ได้พยายามจะตั้งใจฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณแม้แต่น้อย ถ้าเป็นเพื่อนที่ดี ควรให้มุมมองที่เขามองเห็นว่าปัญหาที่คุณเจอจะทำให้เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตคุณบ้าง และ เหนืออื่นใด ยังสามารถมอบแนวทางแก้ปัญหาให้กับคุณได้ แต่ถ้ามากับคำพูดเหมือนเยินยอและปลอบใจแบบนี้ ดูเหมือนเพื่อนของคุณอาจจะไม่ได้อยากฟังปัญหา หรือ รู้วิธีที่แก้ปัญหาดีพอ

4. เพื่อนที่คอยซ้ำเติมเมื่อคุณทำผิดพลาด และ ทำให้คุณรู้สึกแย่ลงไปอีกเมื่อคุณเอาปัญหาไปปรึกษา

เพื่อนประเภทนี้จะมากับประโยคที่ว่า “เธอปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร” “ใครทำแบบนี้กับเธอ” “คนที่สร้างปัญหานั้นคือใคร” “ทำไมถึงเกิดเรื่องเลวร้ายแบบนี้กับเธอได้” ประโยคแบบนี้ คือวิธีการที่จะทำให้คุณรู้สึกโทษคนอื่นกับปัญหาที่เกิดขึ้น และถ้าคุณปรึกษาปัญหากับคนในลักษณะนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้คุณเสียนิสัย เมื่อเกิดปัญหาคุณจะไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและคอยโทษคนอื่นอยู่ร่ำไป

5. เพื่อนที่เห็นคุณเป็นแบบอย่าง เห็นความแข็งแกร่งของคุณ และพวกเขารับไม่ได้ หรือถึงขั้นผิดหวังถ้าจะรับรู้ว่าคุณไม่ได้สมบูรณ์แบบอย่างที่พวกเขาคิด

เพื่อนในลักษณะนี้จะมีความเคารพนับถือในตัวคุณมาก เมื่อคุณทำผิดพลาด หรือ เกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่คุณคาดไม่ถึงในชีวิตขึ้นพวกเขา จะรู้สึกผิดหวังในตัวคุณเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคุณเอาเรื่องที่เกิดขึ้นไปปรึกษา สิ่งที่คุณจะได้รับกลับนั้นไม่ใช่คำชี้แนะ แต่เป็นความรู้สึกที่แย่ลงกว่าเดิมเพราะพวกเขาจะซ้ำเติมคุณด้วยความสมบูรณ์แบบที่คุณเคยมี แต่วันนี้กลับทำเรื่องผิดพลาดอย่างน่าอายและพวกเขาเองก็รู้สึกผิดหวังในตัวคุณเป็นอย่างมาก

6. เพื่อนที่แสดงความรู้สึก สงสาร กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ แทนที่จะเป็นการเอาใจใส่และช่วยแก้ไขปัญหา

เพื่อนในลักษณะนี้จะมาพร้อมกับประโยคที่ว่า “ฉันเข้าใจความรู้สึกเธอนะ ฉันเองก็เคยผ่านช่วงเวลาแบบนี้มาก่อน” หรือ “ฉันรู้สึกเสียใจกับเธอจริงๆ หวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในเร็ววันนะ” หรือ “ขอให้พระเจ้าคุ้มครองเธอนะ และผ่านพ้นปัญหาไปให้ได้”

เพื่อนในลักษณะนี้พวกเขาแสดงคำพูดว่าสงสาร แต่แท้จริงแล้วเขาไม่ได้เอาใจใส่กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณจริงๆ ขอให้รู้ไว้ว่า เวลาที่มีคนพูดกับคุณเมื่อกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์เลวร้ายในชีวิตว่า “ฉันเสียใจกับเธอด้วยนะ” ของให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นเพียงการแสดงความสงสาร และแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจหรือเข้าใจว่าปัญหาของคุณนั้นเป็นอย่างไร และ แท้จริงแล้วคุณรู้สึกอย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook