คาดเด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม เหตุเพราะการปรับตัวและเศรษฐกิจที่ขยายตัวช้า

คาดเด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม เหตุเพราะการปรับตัวและเศรษฐกิจที่ขยายตัวช้า

คาดเด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม เหตุเพราะการปรับตัวและเศรษฐกิจที่ขยายตัวช้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สัญญาณของการจัดจ้างแรงงานในไทยเริ่มส่อแววลดลง อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่กำลังประสบอยู่อย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อตลาดแรงงานไทยที่จะซบเซาลงทำให้จำนวนคนว่างงานมีมากขึ้นในอนาคต ประกอบกับการจำหน่ายเด็กจบใหม่สู่ท้องตลาดที่เพิ่มขึ้นในปีหน้าอีกว่า 5 แสนคนก็อาจเพิ่มอัตราคนว่างงานให้มากยิ่งขึ้นไปอีกในระดับหนึ่ง

และด้วยความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วยิ่งยวดในทุกวงการ อาจทำให้ตลาดความต้องการผันผวนกับสิ่งที่มี ทั้ง Disruption ที่เกิดขึ้นรวมไปจนถึงความสามารถที่ก้าวตามความจำเป็นไม่ทัน จึงสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจทำให้ไทยมีอัตราการจ้างงานสูงมากขึ้นดังนี้

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

เนื่องด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศจีน ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 20 ปี และอีกประเด็นสำคัญคือสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ผลกระทบกับทั่วโลกแม้แต่ไทยที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง

ทางเลือกและโอกาสที่เปิดกว้าง

จากสังคมที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน จึงเป็นประตูของทางเลือกให้กับคนวัยทำงานเลือกเดินซึ่งหลายต่อหลายอย่างไม่ใช่งานที่นับอยู่ในระบบ เช่น งานสายออนไลน์ ยูทูบเบอร์ สตรีมเมอร์ ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ ทำให้ความสนใจของผู้คนที่มีต่อระบบการจ้างงานอยู่ในจำนวนที่น้อยลงรวมไปถึงวัฒนธรรมที่ต่างกันของช่วงวัยภายในระบบองค์กรที่ค่อนข้างขัดแย้งกันสูงในบางเรื่อง หลายคนจึงหาช่องทางเลี้ยงชีพในด้านอื่น ๆ นอกเหนือตำแหน่งงานในระบบกันมากขึ้น

การปรับตัวในยุคดิจิทัล

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าประกอบกับการประยุกต์ที่อาจทำให้ต้นทุนถูกกว่าแรงงาน ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะภาคการผลิตในหลายสาย ที่ทำให้การจ้างงานลดลงเนื่องจากใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ในการทำงานตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ระบบ A.I. ที่ใช้วางระบบการทำงานได้อย่างครอบคลุม ซึ่งนอกจากภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากส่วนนี้ด้านสถาบันการเงินภาคแรงงานก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

แรงงานที่ล้นเหลือไม่ตรงตามความต้องการของตลาดที่การแข่งขันสูง

สายการเรียนหลากหลายคณะจากสถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตออกมาสู่ตลาดในจำนวนมากแค่เพียงส่วนน้อยจากสายงานทั้งหมด ทำให้ขาดสมดุลต่ออัตราจ้างโดยรวมเหตุจากการเลือกเรียนในสายที่ตนเองสนใจในตอนนั้นล้นตลาดในตอนนี้ ผิดกับสายงานด้านเทคโนโลยีและไอทีที่มีบัณฑิตค่อนข้างน้อยและเป็นที่ต้องการอย่างสูงของตลาดในตอนนี้ ซึ่งในส่วนของปัจจัยนี้ต้องปรับปรุงที่ระบบรากฐานของการศึกษาที่ควรมุ่งเน้นความครอบคลุมของความถนัดที่หลากหลายนอกเหนือจากทฤษฎี เพื่อความสอดคล้องและยืดหยุ่นในการทำงาน

ทั้งปัจจัยทางด้านการปรับลดต้นทุนในสายอุตสาหกรรมการผลิตและในด้านความต้องการที่ไม่สอดคล้องของตลาดและแรงงาน สะท้อนถึงการปรับตัวที่ฝืดเคืองในขณะที่เผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอยในด้านการเติบโตอยู่ตอนนี้ซึ่งเป็นผลโดยรวมทำให้อัตราการว่าจ้างไม่เติบโตขึ้น และด้วยความสอดคล้องกันของปัจจัยเหล่านี้บ่งบอกกับทุกฝ่ายว่าการเปลี่ยนแปลงที่เราต่างเผชิญอยู่ร่วมกันในตอนนี้ อาจเป็นที่มาของการสำรวจถึงอัตราการว่างงานที่อาจเพิ่มขึ้นในระบบการจ้างงานปกติ แต่ทั้งนี้การจับตาสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวยังจำเป็นอยู่เพื่อการคาดการณ์ต่อระบบและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในอนาคต รวมถึงแผนการรับมือกับตลาดแรงงานด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook