รีเฟรชแบรนด์ ม.เกษตร เข้าถึง ปรับลุค สู่ยุค Digital Transformation
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้นแบบรีเฟรชแบรนด์สถาบันการศึกษาแถวหน้าของเมืองไทย ประสบความสำเร็จ ด้วยแนวคิดเชิงกลยุทธ์การสร้างแบรนด์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนแบรนด์จากบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย พร้อมสร้างความทันสมัยให้กับสถาบันในหลายมิติ ต่อยอดสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
ผศ. รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร ผู้ที่มีบทบาทในการรีเฟรชแบรนด์ ม. เกษตรในครั้งนี้ กล่าวว่า ม.เกษตร เป็นสถาบันการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ของประเทศไทย มีศิษย์เก่ามากมาย ที่ออกไปเป็นกำลังสำคัญของชาติ และทุกคนก็ต่างภาคภูมิใจในความเป็น ลูกพระพิรุณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันทรงเกียรติของสถาบันมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป โลกเปลี่ยนไปทุกสิ่งทุกอย่างเก้าว ข้าสู่ยุค 4.0 องค์กรต้องปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่องค์กรภาครัฐ หรือภาคเอกชน ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปมาก ยิ่งทำให้ทุกหน่วยงานต้องตามให้ทัน โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา ที่อยู่กับคนหลากหลายเจนเนอเรชั่น รวมไปถึงนิสิตที่เป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน และมีการแข่งขันสูง ที่เราต้องก้าวตามให้ทัน
งานรีเฟรชแบรนด์ของม.เกษตรในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์และจุดยืนของม.เกษตรฯ ที่เป็นสถาบันที่ใช้ศาสตร์แห่งแผ่นดินมาขับเคลื่อนการเรียนการสอน พร้อมกับพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยการรีเฟรชแบรนด์ในครั้งนี้เริ่มจากการปรับโลโก้ที่ทางมหาวิทยาลัยใช้ สัญลักษณ์เป็นตราพระพิรุณทรงนาค ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์หลัก ให้มีความทันสมัยขึ้น โดยการปรับลายเส้น และใช้สีให้เข้ากับยุคสมัย และออกแบบโลโก้ “KU” ใช้เป็นสัญลักษณ์รอง ที่ดูเป็นเอกลักษณ์และทันสมัย ง่ายต่อการจดจำ และช่วยในแง่การสร้างความภาคภูมิใจในระดับสากล โดยการสื่อสารด้วยตัวย่อ แต่ก็มีความหมายซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบตัวอักษร เส้นสายต่างๆ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Knowledge of the land ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ที่เป็นจุดยืนของม.เกษตรอยู่แล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการรีเฟรชแบรนด์ครั้งนี้ คือ คนในองค์กรต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ต้องภาคภูมิใจที่จะนำไปใช้ แบรนด์ถึงจะมีชีวิต เราจึงได้เห็นบุคคลากรในม.เกษตร ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต หันใส่เสื้อที่มีอัตลักษณ์ KU มากขึ้น ในหลากหลายกิจกรรม ซึ่งทุกคนมีส่วนในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ของสถาบันได้เป็นอย่างดี
แนวคิดการใช้ความสร้างสรรค์เพื่อสร้างคุณค่า เรามาต่อยอดสู่การสร้างบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับแบรนด์ จึงนำเป็นพื้นที่เก่าที่นำมาสร้างความสดใหม่ให้มีชีวิตชีวา เป็นพื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ และทำกิจกรรมต่างๆ รีโนเวทให้ดูทันสมัย ซึ่งก็มีส่วนช่วยให้นิสิต รู้สึกอยากมาใช้งาน รู้สึกถึงความสีสันของมหาวิทยาลัย ทำให้มีการโพสต์ลงในสื่อ Social Media ของตนเอง สามารถสร้างกระแสการรับรู้ในวงกว้างได้เป็นอย่างดี ก็ทำให้คนที่พบเห็นอยากเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของ ม.เกษตร ยุคใหม่มากยิ่งขึ้น
ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา ผู้อำนวยการหลักสูตร BrandKU และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร กล่าวเสริมว่า หลักสูตร BrandKU ได้กล่าวเสริมว่า จากแนวคิดของการ รีเฟรชแบรนด์ของ ม.เกษตรศาสตร์ คือการสร้างแบรนด์ให้มีชีวิต เป็นศาสตร์ที่สำคัญมากของการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะในยุค Social media ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และบุคคลากรในองค์กรถือเป็นผู้ขับเคลื่อนแบรนด์ได้ดีที่สุด และรวมเร็วที่สุดสมกับยุคนี้ โดยหลักสูตร BrandKU ได้นำศาสตร์นี้มาใช้กับการเรียนการสอนของหลักสูตรเช่นกัน หลักสูตร BrandKU นี้เหมาะกับ นักธุรกิจ ที่ต้องการเรียนรู้ ด้านวิธีการบริหาร จัดการแบรนด์ยุคใหม่ มีการถ่ายทอดประสบการณ์จากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ครบทุกมิติ โดยความแตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ นั่นคือ เรื่อง How to ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง