10 ทักษะชีวิตที่ควรสอนลูกคุณก่อนวัย 10 ขวบ

10 ทักษะชีวิตที่ควรสอนลูกคุณก่อนวัย 10 ขวบ

10 ทักษะชีวิตที่ควรสอนลูกคุณก่อนวัย 10 ขวบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลูกของคุณมีความสามารถมากกว่าที่คุณรู้ แต่เด็กก่อนวัยเริ่มเรียนของคุณก็สามารถเริ่มเรียนรู้บทเรียนชีวิตที่จำเป็นเหล่านี้ได้

ด้วยสิ่งต่างๆมากมายสำหรับเด็กๆที่จะเรียนรู้ในโลกไฮเทค มันง่ายมากที่พวกเขาจะพลาดทักษะชีวิตที่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการซักล้าง อ่านแผนที่ หรือการเขียนจดหมาย การศึกษาล่าสุดโดยบริษัทรักษาความปลอดภัยออนไลน์ AVG Technologies พบว่าในขณะที่ 58 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุ 3-5 ปีในสหรัฐอเมริกาสามารถหาเส้นทางโดยสมาร์ทโฟน น้อยกว่าหนึ่งในหก (15%) ที่สามารถทำอาหารเช้าของตัวเอง

ทิม เอลเมอร์ ผู้ก่อตั้ง Growing Leaders เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในเมืองนอร์ครอส รัฐจอร์เจีย ทิมเป็นผู้ทำงานกับโรงเรียนและกลุ่มพลเมืองที่สนับสนุนคุณภาพความเป็นผู้นำในเด็ก ได้กล่าวว่า “ผู้ปกครองหลายคนทำทุกอย่างให้ลูกแทนที่จะปล่อยให้พวกเขาหาวิธีดูแล” เราจึงควรเริ่มสอนทักษะชีวิตให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และเริ่มให้ลูกของคุณสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต ไปดูกันเลยว่า ทักษะ 7 อย่างที่ควรสอนเด็กๆมีอะไรบ้าง!

71754526_455645765301008_7404

การซักรีด

วัยรุ่นจำนวนมากมุ่งสู่รั้วมหาวิทยาลัยโดยไม่รู้จักวิธีการซักหรือทำความสะอาดเสื้อผ้าของตัวเอง
อย่าปล่อยให้ลูกคุณเป็นหนึ่งในนั้น คุณสามารถเริ่มสอนลูกคุณได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6 ขวบ ถ้าคุณมีเครื่องซักผ้าฝาบน ให้ลูกมานั่งบนม้านั่งให้ใกล้ๆ เรียนรู้กระบวนการต่างๆ วิธีการวัดและเติมผงซักฟอก เลือกการตั้งค่า และเริ่มต้นการทำงานของเครื่องซักผ้า เอมมี่ มาสคอส เธอได้ลงเรื่องราวที่เว็บไซต์ TechMama.com เธอได้สอนลูกของเธอ 3 คน ( ตอนนี้อายุ 9,10 และ 12) เธอได้ตั้งชื่อน่ารักให้กับงานเหล่านี้: Wash Warrior, Super - Fly Dry Guy, Put’Em Away Triple Play มาสคอสพบกับความยุ่งเหยิงมากมาย แต่เธอไม่ได้เน้นที่ความสมบูรณ์แบบของงาน เธอต้องการให้ลูกๆของเธอได้ลองทำมันให้สำเร็จ

การปลูกต้นกล้า

เด็กก่อนวัยเรียนจำนวนมากเรียนรู้ที่จะปลูกเมล็ดพืชในชั้นเรียน แต่ไม่ได้เรียนรู้วิธีการย้ายต้นกล้าเข้าสวน วิทนีย์ โคเฮน นักเขียนหนังสือเรื่อง “The Book of Gardening Project for Kids” ได้แบ่งปันความรู้พื้นฐานเอาไว้ดังนี้

  • ให้ลูกของคุณขุดหลุมที่มีขนาดใหญ่กว่าภาชนะที่บรรจุไว้เล็กน้อย
  • เมื่อคุณนำพืชออกจากกระถางดินเผาแล้ววางลงในหลุม และให้เธอกลบดินอย่างประณีตรอบๆมันและตบมันเบาๆให้แบน
  • ปล่อยให้ลูกของคุณรดน้ำให้ไหลเบาๆ จากกระป๋องรดน้ำด้วยหัวฉีดแบบปรุ
  • เมื่ออายุ 6 หรือ 7 ขวบ ลูกของคุณสามารถเอาต้นอ่อนออกเองได้ ให้เขาแยกนิ้วออกจากกันเพื่อให้ลำต้นของพืชอยู่ระหว่างกัน จากนั้นบีบด้านนอกของภาชนะที่บรรจุจนกระทั่งพืชออกมา ถ้ารากมันพันกันแน่น ให้เค้าคลายมันออกทีละน้อยก่อนปลูก

การห่อของขวัญ

ลูกของคุณชอบให้ของขวัญอยู่แล้ว การห่อของขวัญทำให้พวกเขาสนุกมากขึ้น เด็กก่อนวัยเรียนสามารถช่วยตัดกระดาษ ติดเทป ขณะที่เด็กชั้นอนุบาลสามารถทำตามขั้นตอนอื่นๆด้วยความช่วยเหลือของคุณ เช่น เอาป้ายราคาออก และหากล่องที่มีขนาดเหมาะสม และห่อด้วยกระดาษรอบของขวัญให้พอดีก่อนตัดออก

การตอกตะปู

  • ให้ลูกของคุณใช้ค้อนขนาด 7 หรือ 9 ออนซ์ จากร้านค้าขายโมเดลปรับปรุงบ้านของเด็กที่มีน้ำหนักเบาเพียง 4 ออนซ์
  • ใช้ไม้เนื้ออ่อน (เช่น ไม้สน, ไม้ป็อปป้า, ไม้ซีดาร์) คุณสามารถือมันไว้กับที่ หนีบหรือคีม จับหรือวางไว้บนพื้น
  • เลือกตะปูที่มีหัวกว้าง ในตอนแรกคุณจะต้อง “เริ่ม “แต่ละชิ้นเพื่อเค้า
  • เมื่อลูกของคุณพร้อมที่จะทำมันด้วยตนเอง คุณสามารถตอกตะปูผ่านกระดาษแข็งชิ้นเล็กๆ เพื่อให้มันอยู่ในตำแหน่งที่เขาตอกค้อนลงไปในนั้นไม้ได้ ให้แน่ใจว่าลูกคุณจับขอบกระดาษแข็งแทนที่ตะปู (เพื่อป้องกันนิ้วของเขา)
  • เมื่อเขาเข้าใจวิธีการดังกล่าวแล้ว ให้เขาลองถือตะปู เตรียมพร้อมกับนิ้วหัวแม่มือที่เจ็บ แต่อีกไม่นานเขาจะได้เรียนรู้วิธีทำมัน

การเขียนจดหมาย

สามารถสอนให้ลูกเขียนตามจดหมายถึงสมาชิกครอบครัว (วาดรูปใส่ลงในจดหมาย) ติดสแตมป์ และหย่อนลงในตู้จดหมาย สอนเด็กโตถึงวิธีการจ่าหน้าซองจดหมาย และการแบ่งจดหมายออกเป็น 5 ส่วนได้แก่ วันที่, การทักทาย (ถึง), เนื้อหา, การปิดท้ายจดหมาย(ด้วยความรัก), และลายเซ็นต์ นอกจากนี้คุณสามารถช่วยลูกของคุณทำการ์ดเทศกาล และค้นหาเพื่อนทางจดหมาย ผ่านทางเว็บไซต์ เช่น Amazing kids และ International Pen Friends เป็นต้น

การเตรียมอาหารง่ายๆ

คริสตีน่า ดิม็อค คุณแม่ลูกสี่และนักเขียนหนังสือ Young Chefs แนะนำว่า “ให้เชิญชวนลูกของคุณมาช่วยทำอาหาร มอบหมายงานให้เขาทำ คุณต้องใจเย็นเมื่อเขาทำเเป้งหกและเปลือกไข่กระเด็น” โยเกิร์ตกับผลไม้เป็นอาหารเช้าที่เป็นต้นแบบการทำ DIY ที่ดี เด็กก่อนวัยเรียนสามาถตักโยเกิร์ตลงในชามและเติมผลไม้ที่จัดเตรียมไว้แล้ว สำหรับเด็ก 5 ขวบขึ้นไปในการทำแซนด์วิชและสมู้ทตี้ (ดูแลเครื่องปั่นอย่างใกล้ชิด) ประมาณ 7 หรือ 8 ขวบลูกของคุณสามารถลองปิ้งขนมปัง ทำขนมจากเตาอบ เช่น พิซซ่า มัฟฟิ่นสไตล์อังกฤษ

หรือทำสลัดง่ายๆ โดยการฉีกผักกาด เทขนมปังที่หันเป็นชิ้นที่นำไปทอด และอบอีกครั้ง และเมื่อเด็กอายุได้ 10 ขวบสามารถสอนหั่นมะเขือเทศ แตงกวา แครอท แต่ต้องระวังด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ

การนำทาง

หากคุณเคยหลงทางจากการบอกทิศทางด้วยเสียงแบบเลี้ยวต่อเลี้ยวของ GPS คุณจะรู้ว่าทำไมความสามารถในการอ่านแผนที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น (แม้ว่าจะเป็นบนโทรศัพท์ก็ตาม) กิจกรรมเหล่านี้จะสร้างทักษะการนำทางของลูกคุณ

  • การล่าสมบัติ: แผนที่อาจจะดูน่าเบื่อ แต่ถ้าคุณเปลี่ยนให้ลูกคุณมาหาสมบัติแทน หรือหาโจร ซ่อนของเล่นในสนามหญ้า การวาดภาพอย่างง่ายๆเพื่อทำเครื่องหมายในตำแหน่งต่างๆ แสดงให้ลูกอายุ 3 หรือ 4 ขวบ เห็นว่าวัตถุบนแผนที่สอดคล้องกับวัตถุที่อยู่ตรงหน้าเธออย่างไร
  • ให้ลูกๆเป็นคนนำทาง ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ และสวนสนุก สถานที่ที่มีแผนที่ที่มีสีสันและอ่านง่าย เล่นเกมกันโดยการให้ลูกๆพาคุณไปจากจุด A ไปถึง จุด B
  • เรียนรู้การใช้ GPS ล่าสมบัติ: เด็ก 5 ขวบขึ้นไป มักจะรักการเล่นเกมตามล่าหาขุมทรัพย์กลางแจ้ง ซึ่งต้องใช้ GPS ในการติดตาม เพื่อค้นหาภาชนะที่เต็มไปด้วยเครื่องประดับเล็กๆน้อยๆ เรียนรู้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ geocaching.com

การรักษาบาดแผล

สอนลูกของคุณตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ให้ตกใจเมื่อเขาเห็นเลือด (และตัวคุณเองอย่าแสดงท่าทางมากเกินไป) ให้แผนเกมแก่เขา เพื่อหันเหความสนใจจากความเจ็บปวด และให้เขาสามารถดูแลตนเองได้เมื่อคุณไม่ได้อยู่ใกล้ๆ สอนให้เขาห้ามเลือด ล้างบาดแผลกับน้ำสะอาด การใช้ยาและพันด้วยผ้าพันแผล

การทำความสะอาดห้องน้ำ

ใช้เศษผ้าหรือฟองน้ำเช็ดคราบยาสีฟันออกจากอ่างล้างหน้า หน้าที่ทำความสะอาดห้องน้ำต้องการทักษะที่มากกว่า เด็กวัยเรียนรู้ สามารถทำความสะอาดฝาที่นั่ง และฐานชักโครกด้วยการเช็ดทำความสะอาด หลังจากนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่า พวกเขาล้างมือให้สะอาด เด็กโตสามารถเรียนรู้การทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดปลอดสารพิษ โรยด้านข้างด้วยเบกกิ้งโซดา และปล่อยทิ้งไว้ 2-3 นาที เทน้ำส้มสายชูแล้วขัดด้วยแปรงล้างห้องน้ำ

การช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาด

การสอนเด็กๆให้เป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดจะต้องฝึกฝน นี่เป็น 3 ขั้นตอนง่ายๆ

  • อธิบายไปด้วยขณะที่ช้อปปิ้ง: การพูดถึงเรื่องราคาและทางเลือกต่างๆ เช่น “คุณแม่จะไปเติมน้ำมันรถที่สถานีอื่นเพราะราคาน้ำมันถูกกว่า 0.25 สตางค์ต่อแกลลอน” หรือพูดถึงกางเกงโยคะยี่ห้อ Lululemon หรือสิ่งอื่นๆที่มีราคาแพงจนเกินไป ทำให้สิ้นเปลือง ไม่ได้อยู่ในงบประมาณที่ซื้อได้หรือควรซื้อ เป็นต้น
  • ปล่อยให้ลูกคุณจ่ายเองเป็นบางครั้ง: ให้เงินสมทบแก่เขา และให้เขาดูแลการซื้อของบางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง สามีของฉันและฉันไม่ซื้อขนมหวานใดๆ เป็นเหมือนการสอนลูกให้กลายเป็นนักช้อปที่ชาญฉลาด รู้จักเปรียบเทียบราคา เก็บออมและเลือกซื้อในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
  • การเล่มเกมที่ร้านขายของชำ: ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ท้าทายลูกของคุณให้หายี่ห้อกระดาษชำระและซอสมะเขือเทศที่ราคาแพงน้อยที่สุด

Yhub – เพจสำหรับให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อมูลคุณภาพสำหรับเยาวชนไทยที่กำลังค้นหาโอกาสให้ตัวเอง #Yhub #Thaiyouthhub

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook