ละครไทยเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ละครโทรทัศน์บ้านเรามักวนเวียนอยู่กับการแย่งชิงคนรัก

ละครไทยเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ละครโทรทัศน์บ้านเรามักวนเวียนอยู่กับการแย่งชิงคนรัก

ละครไทยเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ละครโทรทัศน์บ้านเรามักวนเวียนอยู่กับการแย่งชิงคนรัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หักหลัง แย่งสมบัติ สารพัดความรุนแรง หรือไม่ก็ละครที่รีเมกซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่เหลืออะไรให้ผู้ชมได้ลุ้น หลายคนจึงหันไปพึ่งพาซีรีส์จากต่างประเทศแทน เป็นไปได้หรือไม่หากจะสร้างสรรค์ละครไทยให้มีเนื้อเรื่องที่สดใหม่ ดูแล้วสนุกชวนติดตามแบบซีรีส์ฝรั่งหรือเกาหลีแต่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นไทยให้ได้ดู และอาจจะสามารถส่งออกสู่สายตาชาวโลกได้

ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย 4.0” ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เล็งเห็นความเป็นไปได้ที่จะยกระดับละครไทยให้มีคุณภาพเพียงพอสำหรับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อการส่งออก จึงได้จับมือกับคณะทำงานภาควิชาชีพและนักวิจัยร่วมกันสร้างสรรค์ “นวัตกรรมละครโทรทัศน์” โดยศึกษาต้นทุนทางวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ จากนั้นจึงกลั่นกรองและร้อยเรียงออกมาเป็นบทละครโทรทัศน์ 4 เรื่อง ประเภทจบในตอน ซึ่งแต่ละตอนมีเนื้อหาต่างกันไปเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย 4 ด้าน ได้แก่ ผัดไทย มวยไทย ย่านลิเภา และ ผีตาโขน

salmonandcreamkathandjay

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวในพิธีเปิดตัวโครงการนี้ว่า “ละครที่จัดทำภายใต้โครงการดังกล่าวไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งทดลองทางวิชาการ แต่จะแสดงให้กับภาครัฐและภาควิชาชีพเห็นถึงความสำคัญ ในฐานะผู้เล่นหลักในเศรษฐกิจวัฒนธรรมได้ประจักษ์ รวมทั้งดึงดูดประชาชน ผู้สนใจพัฒนาการของงานบันเทิง ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้กับหลายภาคส่วน กระทั่งอาจนำไปสู่แนวร่วมในอุตสาหกรรมบันเทิงและวัฒนธรรมในอนาคตต่อไป”

นอกจากจะเพิ่มทางเลือกการรับชมละครให้กับคนไทยแล้วการส่งออกละครที่มีคุณภาพระดับสากลจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ทำให้สินค้า ทางวัฒนธรรมไทยมีที่หยัดยืนในเวทีเศรษฐกิจโลก


ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาฯ กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ Soft Power หรืออำนาจอ่อน อำนาจที่เกิดจากการสร้างเสน่ห์จากสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อใช้โน้มน้าวซึ่งนำสามารถสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจและภาพลักษณ์มหาศาลแก่ประเทศชาติ สื่อบันเทิงเป็นกลไกสำคัญในการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรมและสินค้าอื่นๆ ของประเทศต่างๆ

“เกาหลีใต้นั้นมีวางแผนที่ดี เขาศึกษาวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อวางแผนว่าส่งออกอย่างไรจึงจะได้รับความนิยม เขาจึงส่งละครออกไปก่อน เมื่อละครดังก็ทำให้สินค้าจากประเทศเกาหลีเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากนั้นการจะสร้างกระแสความนิยมสินค้าให้กับสินค้าอื่นๆ เช่น หนัง เพลง การท่องเที่ยว ฯลฯ ก็ตามมาโดยง่าย” ศ.ดร. สุเนตร กล่าว

img_4034

การจะผลักดันให้ละครไทยมีได้รับความนิยมในระดับสากลนั้นจะต้องมีการวางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ซี่งคณะทำงานได้วิเคราะห์ องค์ประกอบต่างๆ เช่น การสร้างสรรค์ตัวละคร การสร้างสรรค์บทสนทนาการสื่อสารกับผู้ชม การลำดับเนื้อหา ฯลฯ ของสื่อบันเทิงจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกที่ได้รับการตอบที่ดีในระดับสากลไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแนวทางในการเขียนบทละครให้สนุกดึงดูดใจผู้ชมยุคปัจจุบัน

ละครทั้ง 4 เรื่องได้รับการการันตีความน่าติดตามโดย อ.ศัลยา สุขะนิวัตติ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ชั้นครู ผู้รับหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานความบันเทิงในด้านต่างๆ ของนักเขียนบทและบทในโครงการนี้ ซึ่งสกัดมาจากการวิเคราะห์เรื่องเล่าในงานบันเทิงระดับสากลจำนวน ไม่ต่ำกว่า 100 เรื่อง จนได้แนวทางความสนุกสำหรับผู้ชมยุคปัจจุบัน เช่น การสร้างสรรค์ตัวละครสากล การสร้างสรรค์บทสนทนา/การสื่อสารกับผู้ชม การลำดับเนื้อหาให้เร้าใจ เป็นต้น

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม กล่าวว่า “นวัตกรรมความบันเทิงถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ด้วยมหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพทางความบันเทิงทั้งในและต่างประเทศอยู่แล้ว ขาดเพียงการจัดระบบ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนโครงการนี้เพื่อเปิดทางไปสู่การวางระบบส่งออกสื่อบันเทิงอย่างเป็นรูปธรรม”

เรื่อง : อภิชัย ไทยเกื้อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook