"ประวัติชุดครุย" ของไทย ชุดครุยแต่ละมหาวิทยาลัย แต่งแบบไหน ทำไมต้องใส่ครุยตอนเรียนจบ

"ประวัติชุดครุย" ของไทย ชุดครุยแต่ละมหาวิทยาลัย แต่งแบบไหน ทำไมต้องใส่ครุยตอนเรียนจบ

"ประวัติชุดครุย" ของไทย ชุดครุยแต่ละมหาวิทยาลัย แต่งแบบไหน ทำไมต้องใส่ครุยตอนเรียนจบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครุยวิทยฐานะไทย เป็นชุดพิธีการซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยถือรับธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทางตะวันตก ปัจจุบันครุยวิทยฐานะใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเพื่อแสดงถึงปริญญาวิทยฐานะที่ได้จากการสำเร็จการศึกษา

ครุยวิทยฐานะสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาหรือกฎหมายอื่น ส่วนสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนกำหนดไว้ในข้อบังคับของตน การใช้ครุยวิทยฐานะสำหรับมหาวิทยาลัยรัฐโดยไม่ชอบนั้นมีโทษ

01(19)

อนึ่ง มีการเข้าใจผิดว่าครุยวิทยฐานะไทยเป็นเสื้อครุยที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีเพียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ จึงได้ออกแบบครุยวิทยฐานะขึ้นเองโดยไม่ต้องขอพระราชทาน แต่ถูกเข้าใจผิดว่าครุยวิทยฐานะไทยทั้งหมดเป็นของพระราชทานและให้ความสำคัญในมุมมองของความศักดิ์สิทธิ์

ประวัติชุดครุย ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ครุยวิทยฐานะในปี พ.ศ. 2457 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นบัณฑิตจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่สามารถใช้ครุยเพื่อเป็นเกียรติยศได้ อย่างไรก็ตามในขณะนั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ จัดการเรียนการสอนได้เพียงระดับประกาศนียบัตรเท่านั้น จึงไม่มีการจัดสร้างเสื้อครุยเพื่อแสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในขณะนั้น

01(10)

เมื่อโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2460 และสามารถจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2471 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีความคิดที่จะสร้างเสื้อครุยสำหรับบัณฑิตจุฬาฯ และออกเป็นพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2473 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ครุยวิทยฐานะสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในประเทศไทย

เมื่อประเทศไทยได้ขยายการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จึงได้จัดสร้างครุยวิทยฐานะเป็นลักษณะเฉพาะของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน

รูปแบบของครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะไทยในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดรูปแบบของครุยวิทยฐานะให้มีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยสามารถจำแนกเป็นสองแบบหลัก ๆ ดังนี้

รูปแบบตามพระราชพิธีไทยแบบโบราณ

ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้มีลักษณะคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ใช้ครุยวิทยฐานะในรูปแบบนี้ ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้สามารถแยกตามชนิดเนื้อผ้าและสีได้ดังนี้

01(16)

ครุยเนื้อผ้าโปร่งสีขาว

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
  • มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สถาบันการอาชีวศึกษา
  • สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร

ครุยเนื้อผ้าโปร่ง สีอื่นๆ

  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใช้เนื้อผ้าต่างกันในแต่ละระดับปริญญา ระดับบัณฑิตและระดับมหาบัณฑิตใช้เนื้อผ้าสีน้ำเงินโปร่ง ระดับดุษฎีบัณฑิตใช้เนื้อผ้าทึบ สีแดง
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้เนื้อผ้าสีชมพู
  • มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ใช้เนื้อผ้าสีฟ้าคราม

ครุยเนื้อผ้าทึบสีแดงหมากสุก(สีแสด) สีแดง หรือสีเลือดหมู

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้เนื้อผ้าสีแดง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ใช้เนื้อผ้าสีแดง
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใช้เนื้อผ้าสีแดง
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ใช้เนื้อผ้าสีแสด
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ใช้เนื้อผ้าสีแดง
  • สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ใช้เนื้อผ้าสีเลือดหมู
  • สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ใช้เนื้อผ้าสีแดงกาชาด

ครุยเนื้อผ้าทึบสีดำ

  • กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (บางแห่ง)

ครุยเนื้อผ้าทึบสีเขียวเข้ม

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ครุยเนื้อผ้าทึบ สีอื่นๆ

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใช้เนื้อผ้าสีม่วง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ใช้เนื้อผ้าสีทอง

รูปแบบตามแบบตะวันตก

ครุยวิทยฐานะประเภทนี้มีลักษณะแบบครุยจะเป็นครุยคลุมใช้เนื้อผ้าทึบสีดำหรือสีอื่น ๆ อาจประดับฮูดหรือหมวกคล้ายกับครุยวิทยฐานะที่ใช้ในประเทศแถบตะวันตก โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ใช้ครุยวิทยฐานะในรูปแบบนี้ ครุยวิทยฐานะรูปแบบนี้สามารถแยกลักษณะได้ดังนี้

01(9)

ชุดครุยแบบครุยตุลาการหรือทนายความ

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในอดีตเคยมีการใช้หมวก แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • ชุดครุยแบบมีหมวก
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยนครพนม
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ชุดครุยแบบไม่มีหมวก

  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มหาวิทยาลัยบูรพา มีหมวกสำหรับดุษฎีบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สถาบันการพลศึกษา
  • สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอื่นทั้งหมดนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมานี้

ชุดครุยแบบตะวันตกสีอื่น ๆ

  • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ใช้เนื้อผ้าสีน้ำตาลแก่
  • สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ใช้เนื้อผ้าสีแดง

อัลบั้มภาพ 25 ภาพ

อัลบั้มภาพ 25 ภาพ ของ "ประวัติชุดครุย" ของไทย ชุดครุยแต่ละมหาวิทยาลัย แต่งแบบไหน ทำไมต้องใส่ครุยตอนเรียนจบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook