"อุปกรณ์คอมพิวเตอร์" สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะ เรียนรู้คำศัพท์ว่าแต่ละชิ้นเรียกว่าอะไร ใช้ทำอะไร
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ PC เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันในการทำงานหรือใช้ส่วนตัว แต่เราเชื่อว่าทุกคน คนรู้วิธีใช้กันอย่างแน่นอน แต่ว่าอุปกรณ์ที่ถูกประกอบอยู่ใน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ PC บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไร หรือมีหน้าที่ทำอะไรกันแน่
โดยในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็เลยได้รวบรวม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มาให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน ว่าแต่ละชิ้นเรียกว่าอะไร และมันมีหน้าที่อะไรในการทำงาน
จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะต้องใช้ในการมองเห็นของผู้ใช้ เวลาใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยจอภาพที่นิยมก็คือ จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ มี ขนาดเล็กและบาง การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด
เคส (Case)
หลาย คนเรียกว่า CPU แต่ที่จริงแล้วมันเรียกว่า เคส โดยเคสคือโครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
คีย์บอร์ด (Keyboard) และ เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารกับตัวคอมพิวเตอร์ โดยคีย์บอร์ดเป็นคล้ายแป้นพิมพ์ เพื่อป้อนข้อมูลต่างๆ ลงไปในคอมพิวเตอร์ ส่วนเมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ส่วนไหนบนจอภาพ
เมนบอร์ด (Main board)
เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในตัว PC ทั้งหมด มีหน้าที่รวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียว
ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง
การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นอีก
แรม (RAM)
RAM หรือ Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากะพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไป หลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กสองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่างๆ อย่างรวดเร็ว