‘ช่วยเหลือ’ หรือ ‘ช่วยซ้ำ’ ว่าด้วยถุงพลาสติกที่เคลมว่าย่อยสลายได้

‘ช่วยเหลือ’ หรือ ‘ช่วยซ้ำ’ ว่าด้วยถุงพลาสติกที่เคลมว่าย่อยสลายได้

‘ช่วยเหลือ’ หรือ ‘ช่วยซ้ำ’ ว่าด้วยถุงพลาสติกที่เคลมว่าย่อยสลายได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตระหนักและความตระหนกถึงมรสุมของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบกลับต่อธรรมชาติต่อเนื่องมายังมนุษย์นั้นสาหัสและหนักมากยิ่งขึ้นทุกวัน จึงเป็นที่มาของการรณรงค์เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเป็นการเยียวยารักษาธรรมชาติให้แย่ลงช้ากว่าปกติ และประเด็นใหญ่ ๆ ที่หลายคนต่างให้ความสำคัญอย่างมากคือการลดการใช้ถุงพลาสติก

อันที่จริงแล้วพลาสติกนั้นถือกำเนิดจากการสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในหลาย ๆ ด้านเพราะสามารถใช้ทำอะไรได้หลายอย่างซึ่งถือเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่กระนั้นมนุษย์เองนี่แหละคือตัวการที่เปลี่ยนจากประโยชน์ล้วนของพลาสติกมาล้นหลามไปด้วยโทษ เพราะการทิ้งแบบไม่เป็นที่เป็นทาง สนใจเพียงความสะดวกของตนเป็นหลัก เกิดสั่งสมพอกพูนวนเวียนมาทำร้ายเราในท้ายที่สุดเมื่อขยะต่างล้นโลก

ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ จึงถูกยกมาเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ผู้คนเลือกที่จะนำมาใช้ เนื่องจากความจำเป็นที่ยังคงต้องใช้พลาสติกอยู่บ้างเพราะความเคยชิน แต่หารู้หรือไม่ว่ารายละเอียดที่แท้จริงนั้นบ่งบอกว่า ถุงพลาสติกประเภทที่เคลมว่าย่อยสลายตามธรรมชาติได้นั่นอาจไม่ดีจริง

พลาสติกประเภทนี้คือ OXO-biodegradable ที่ใช้คำอธิบายตามมาว่าเป็น พลาสติกที่ย่อยสลายได้ จึงทำให้กระแสรักษ์โลกเทความสนใจมาที่ตรงนี้ แต่ในความเป็นจริงพลาสติกชนิดนี้ไม่ได้เป็นพลาสติกชนิดที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากพลาสติกทั่วและเติมแต่งด้วยสารต่าง ๆ เพื่อให้แตกตัวเร็วขึ้น เป็นชิ้นเล็ก ๆ (ไมโครพลาสติก) ซึ่งสุดท้ายแล้วก็แทรกซึมอยู่ตามธรรมชาติอยู่ดีไม่ได้หายไปไหน แถมยังปนเปื้อนกับธรรมชาติง่าย จะเอามารียูสใช้ซ้ำก็ไม่ได้เพราะช่างเปราะบาง ไร้ประโยชน์กว่าเดิมไปอีก

อยากจะรักษ์โลกทั้งที ทำไมยุ่งยากวุ่นวายเหลือเกิน ?

เอาเป็นว่าเราได้รู้แล้วว่าพลาสติกประเภท OXO-biodegradable ที่ออกมาเคลมกันว่าย่อยสลายได้นั่นไม่ได้ย่อยได้และเข้ากับธรรมชาติได้จริง ด้วยเหตุจากการศึกษานี้จึงทำให้ ยุโรป(EU) จำกัดและเรียกร้องการเลิกใช้ถุงประเภทนี้ และบอกกล่าวให้ประเทศอื่น ๆ เข้าใจอีกด้วย ซึ่งมีหลาย ๆ ประเทศออกตัวตอบรับนโยบายนี้ไม่ว่าจะ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในโซนยุโรป

พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอย่างแท้จริง(biodegradable) ต้องเป็นการย่อยสลายที่มีจุลินทรีย์เข้ามาช่วยกิน ไม่ทิ้งสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือสารพิษ ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็คือ มอก. 17088-2555 หรือมาตรฐานสากล ISO 17088 หรือ EN 13432 ที่นิยามพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพว่า คือพลาสติกที่เมื่อทำการหมักทางชีวภาพแล้วจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารประกอบอนินทรีย์ มวลชีวภาพ และไม่ทิ้งสิ่งแปลกปลอมหรือสารพิษหลงเหลือไว้

เอาเป็นว่าแค่เพียงการจะใช้ถุงพลาสติกเพื่อช่วยรักษ์โลกยังดูเรื่องมากวุ่นวาย ก็สามารถแก้ปัญหาในหนทางอื่นได้ง่าย ๆ เช่น การใช้ซ้ำกับถุงพลาสติกที่มีอยู่ใช้วนเวียนเพื่อไม่เป็นการก่อขยะเพิ่มจากที่ได้มา และสุดท้ายคือการทิ้งให้ถูกที่ถูกประเภท พยายามไม่รับถุงพลาสติกในการจับจ่ายซื้อของหากพอมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใส่ได้ การรีไซเคิลกับสิ่งที่ไม่ใช้แล้วน้ำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพียงแค่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กน้อยเช่นนี้แหละก็ถือว่าเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีแล้ว ซึ่งหากมองในภาพรวมถ้ามีคนที่ใส่ใจกับการรียูส ทิ้งให้ถูกที่ รีไซเคิล เป็นจำนวนมาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งดีมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook